svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

อสส. ชี้คดีโจ้ถุงดำจบที่ศาลอุทธรณ์ ส่วนจะอุทธรณ์โทษหรือไม่ต้องพิจารณา

09 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไม่จบแค่นี้! โฆษก อสส. ชี้คดีโจ้ถุงดำต้องถึงศาลอุทธรณ์ ส่วนอัยการจะยื่นอุทธรณ์โทษหรือ อธ.อัยการศาลสูงเป็นผู้พิจารณา

หลากหลายอารมณ์ความรู้สึกของผู้คน กรณีคำพิพากษาคดีที่ประชาชนทั่วประเทศให้ความสนใจ "คดีโจ้ถุงดำ" หรือคดีที่ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ อดีตผู้กำกับโจ้ อดีต ผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ พร้อมพวก​รวม 7 คน ร่วมกันซ้อมและใช้ถุงดำคลุมศีรษะนายจิระพงศ์ ธนะพัฒน์ ผู้ต้องหายาเสพติด จนขาดอากาศหายใจ ที่วานนี้  (8 มิ.ย.) ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้พิพากษาให้ประหารชีวิตอดีตผู้กำกับโจ้ แต่มีเหตุอันบรรเทาโทษจึงลดโทษ 1 ใน 3 เหลือจำคุกตลอดชีวิต (อ่านข่าว)

 

ล่าสุดวันนี้ (9 มิ.ย.) นายอิทธิพร แก้วทิพย์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า กรณีมีคนสงสัยว่า ศาลลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต พ.ต.อ.ธิติสรรค์ กับพวก 6 คน ทางอัยการจะยื่นอุทธรณ์อีกหรือไม่ ซึ่งกรณีนี้อธิบดีอัยการคดีศาลสูงจะเป็นผู้พิจารณา เพราะถึงแม้ศาลจะจำคุกตลอดชีวิต เเต่อัยการจะอุทธรณ์หรือไม่อุทธรณ์ก็ได้ ขอยกตัวอย่างเช่น หากศาลลดโทษลงมาแล้วโทษน้อยเกินไป อัยการก็อุทธรณ์ให้ลงโทษหนักขึ้น ส่วนคดีนี้เข้าใจเบื้องต้นว่า ศาลลงโทษทุกข้อหาและประหารชีวิตเต็มตามฟ้องของอัยการแล้ว ส่วนที่ศาลลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิตเพราะปรากฎว่า มีเหตุลดโทษกับจำเลยก็ได้บรรเทาผลร้ายแล้ว อันนี้ก็เป็นดุลยพินิจของศาล
 

 

นายอิทธิพร แก้วทิพย์ โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด

อย่างไรก็ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง บัญญัติว่า ในคดีที่ศาลชั้นต้นลงโทษประหาร หรือจำคุกตลอดชีวิต และจำเลยไม่มีการอุทธรณ์  ให้ศาลชั้นต้นต้องส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ และคำพิพากษายังไม่ถึงที่สุด เว้นแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก็คือว่า คดีที่ศาลระวางโทษสูงถึงประหารจำคุกตลอดชีวิต บางทีจำเลยไม่ยอมยื่นอุทธรณ์ก็มี กฎหมายต้องการให้มีการกรองอีกครั้งโดยศาลสูง ถ้าศาลอุทธรณ์ยังเห็นด้วยกับศาลชั้นต้น คดีก็ถึงที่สุด  

 

 

ที่ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล หรือ อดีตผู้กำกับโจ้ อดีต ผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์
 

เมื่อถามว่า กรณีที่บิดามารดาผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมมีคำขอส่วนแพ่ง (ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องอาญา) เข้ามาแต่ศาลไม่ให้ เพราะเป็นกรณีตำรวจทำละเมิดในการปฎิบัติหน้าที่ ต้องไปใช้ช่องทางตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ มาตรา 5 นั้น อัยการมีหน้าที่ต้องแก้ต่าง ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือไม่ นายอิทธิพร กล่าวว่า แม้เป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการจะต้องแก้ต่างให้หน่วยงานของรัฐ ในกรณีถูกฟ้องเพราะเจ้าหน้าที่ในสังกัดไปทำละเมิด เพราะเจ้าหน้าที่อ้างว่าทำไปตามหน้าที่ ผู้เสียหายจะฟ้องเจ้าหน้าที่โดยตรงไม่ได้นั้น

 

แต่มีประเด็นต้องพิจารณาว่า 1.ที่อ้างว่า เจ้าหน้าที่ ทำไปตามหน้าที่นั้น จริงหรือไม่ ไม่ใช่ว่าอัยการจะรับให้ทุกเรื่อง ฉะนั้น อัยการอาจจะไม่รับแก้ต่างให้ก็ได้เป็นดุลยพินิจอัยการ 2.หากเป็นการทำละเมิดเนื่องในการปฎิบัติหน้าที่จริง แต่ฝ่ายผู้เสียหายตั้งฟ้องทุนทรัพย์สูงจนเกินไป เช่น บางคดี 50 ล้านก็มี ทั้งที่ความจริงเสียหายไม่ถึง 5 แสนบาท อัยการก็ต้องพิสูจน์ในศาลว่าค่าเสียหายไม่ถูกต้อง

 

 

ครอบครัว เหยื่อ "ผกก.โจ้"

logoline