svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เผยผลสำรวจ 6 กลุ่มอาการ Long COVID ที่พบบ่อย ป่วยแบบไหนควรพบแพทย์

21 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมการแพทย์ สำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 หรือ อาการ Long COVID พบ 6 กลุ่มอาการที่พบบ่อย พร้อมแนะนำอาการระดับใดต้องไปพบแพทย์

21 พฤษภาคม 2565 กรมการแพทย์ เผยแพร่ข้อมูลผ่าน “หมอพร้อม” เปิดเผยการสำรวจอาการ  Long COVID ที่ส่งผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19  6 กลุ่มอาการที่พบบ่อย มีเนื้อหาดังนี้

 

องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุถึงผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพจากโรคโควิค-19 หรือ ภาวะ Long COVID เป็นอาการที่เกิดขึ้นใหม่ หรือต่อเนื่องภายหลังการติดเชื้อโควิค-19 ตั้งแต่ 3 เดือน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ และมีอาการอยู่นานอย่างน้อย 2 เดือน เกิดขึ้นได้หลายระบบ และอาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยการวินิจฉัยอื่นๆ 
 

ทั้งนี้  สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลนีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการสำรวจผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพของผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 ของกรมการแพทย์  อาการที่มักพบได้บ่อยมี 6 กลุ่มอาการ ดังนี้


ระบบทางเดินหายใจ (44.38%) จะมีอาการประกอบด้วย

  • หอบเหนื่อย
  • ไอเรื้อรัง

 

ระบบประสาท (27.33%) จะมีอาการประกอบด้วย

  • อ่อนแรงเฉพาะที่เฉียบพลัน
  • ปวดศีรษะ
  • มึนศีรษะ
  • กล้ามเนื้อลีบ
  • หลงลืม

ระบบทางจิตใจ (32.1%) จะมีอาการประกอบด้วย

  • นอนไม่หลับ
  • วิตกกังวล
  • ซึมเศร้า

 

ระบบหัวใจและหลอคเลือด (22.86%) จะมีอาการประกอบด้วย

  • เจ็บหน้าอก
  • ใจสั่น

 

ระบบผิวหนัง (22.8%) จะมีอาการประกอบด้วย

  • ผมร่วง
  • ผื่นแพ้

 

ระบบทั่วไป (23.41%) จะมีอาการประกอบด้วย

  • อ่อนเพลีย
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ปวดตามข้อ

 

อาการผิดปกติดังกล่าวส่วนใหญ่หายได้เอง หากผู้ป่วยมีอาการต่อเนื่องนานกว่า 2 เดือน ควรพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลที่เคยรักษาโควิค-19

เผยผลสำรวจ 6 กลุ่มอาการ Long COVID ที่พบบ่อย ป่วยแบบไหนควรพบแพทย์

ที่มา : แอปฯ หมอพร้อม, กรมการแพทย์

logoline