svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมการแพทย์ เผย"โมลนูพิราเวียร์"มาแล้ว "แพกซ์โลวิด"ถึงไทยเม.ย.นี้

10 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมการแพทย์ อยู่ระหว่าง ปรับแนวทางการรักษาโควิด ฉบับล่าสุด หากอาการของโรคไม่รุนแรง เน้น การรักษาแบบผู้ป่วยนอก  OPD ส่วนความคืบหน้ายาโมนูลพิราเวียร์ สำหรับผู้ป่วย 5 หมื่นรายถึงไทยแล้ว อยู่ระหว่างจัดทำฉลาก และกระจายยาสัปดาห์หน้า เน้นรักษากลุ่ม 608

10 มีนาคม 2565 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์  ระบุถึงกรณีกระทรวงสาธารณสุขมีแผนมาตรการในการเปลี่ยนผ่าน โควิด-19 สู่การเป็นโรคประจำถิ่น ที่จะเริ่มในเดือนก.ค.65 ว่า แนวทางการรักษาต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องตามสถานการณ์  ซึ่งที่ผ่านมาการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จากที่ต้องเข้าโรงพยาบาลทุกราย ก็ค่อยๆปรับ มาสู่ระบบการรักษาตัวที่บ้าน หรือรูปแบบอื่น

 

หากตัวโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนไม่มีความรุนแรงของโรคที่มากขึ้น ทิศทางการรักษา จะเน้รักษา แบบผู้ป่วยนอก OPD เป็นหลัก ที่อาจไม่ต้องกักตัวที่บ้าน แต่ต้องมีมาตรการทางสังคมควบคู่ไปด้วย ย้ำหากเชื้อไม่ได้มีการกลายพันธุ์ที่รุนแรงน่ากังวล หรือส่งผลต่อการของผู้ป่วยปอดอักเสบเหมือนในช่วงสายพันธุ์เดลตา

 

ส่วนการฉีดวัคซีนป้องกันก็จะเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ที่จะเป็นการฉีดวัคซีนตามฤดูกาลปีละครั้ง เพื่อลดความรุนแรงของโรค

 

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ 

 

อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายเพิ่มเติมถึงหลักเกณฑ์ในการรักษาโควิดสู่การเป็นโรคประจำถิ่น ว่า จะดูจากความรุนแรงของโรคเป็นหลัก อัตราการเสียชีวิต ไม่เกินร้อยละ 0.1 แต่สถานการณ์ความรุนแรงของโรคเหมือนในช่วงที่สายพันธุ์ เดลต้า ที่มีจำนวนผู้ป่วยปอดอักเสบและปอดบวม จำนวนมาก ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ หากเป็นไปในแนวทางนี้ก็อาจจะไม่ง่ายนักที่จะสู่โรคประจำถิ่น หรือการรักษาแบบ OPD

 

“ ในช่วงการระบาดโรคโควิด สายพันธุ์โอมิครอน หรือ มีการแพร่เชื้อเร็ว แต่ความรุนแรงของโรคลดลง ประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนที่ดี สามารถป้องกันได้ดี แนวโน้มก็จะนำไปสู่โรคประถิ่น ”

 

แต่ทั้งนี้ ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆร่วมด้วย ในการควบคุมโรคที่ยังคงต้องเฝ้าระวังในกลุ่มที่มีการระบาดเป็นคลัสเตอร์ 

กรมการแพทย์ เผย"โมลนูพิราเวียร์"มาแล้ว "แพกซ์โลวิด"ถึงไทยเม.ย.นี้

 

สำหรับ การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในรูปแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ช่วง 1 สัปดาห์ที่ผ่านมาในโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์  ทั้งโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเลิดสินและโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี ที่มีผู้ป่วยเดินเข้ามารักษาพบว่า ร้อยละ 70-80 เป็นผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาแบบผู้ป่วยนอก OPD ที่เหลือเข้าสู่ระบบการรักษาตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation (HI) ส่วนการเข้านอนในโรงพยาบาลน้อยมาก 

 

ทั้งนี้ การปรับแนวทางการรักษาผู้ป่วย โควิด-19 ฉบับล่าสุด จะมีการปรับเพิ่ม ยาโมนูลพิราเวียร์ และ ยาแพกซ์โลวิดเข้าไปด้วย ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 608 

 

นพ.สมศักดิ์ ระบุถึงความคืบหน้า ยาโมลนูพิราเวียร์ ว่า ตอนนี้ยาสำหรับผู้ป่วย 5 หมื่นรายได้มาถึงประเทศไทยแล้ว อยู่ระหว่างจัดทำฉลาก และเตรียมกระจายไปยังโรงพยาบาลต่างๆ ในอาทิตย์หน้า โดยคำแนะนำจาก องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ในการใช้ ยาโมลนูพิราเวียร์ ควรใช้ในกลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุ และ กลุ่มโรคเรื้อรัง 

ส่วนความคืบหน้า ยาแพกซ์โลวิด นพ.สมศักดิ์ เปิดเผยว่า อยู่ในระหว่างการจัดทำสัญญาซื้อขาย คาดว่า ยาแพกซ์โลวิดจะมาถึงไทยในเดือนเมษายนนี้ 

 

นพ.สมศักดิ์ ย้ำ หากผู้ป่วยไม่อาการ หรือ อาการน้อย ไม่จำเป็นต้องรับยาเสมอไป โดยเฉพาะ ยาฟาวิพิราเวียร์ เพราะอาจจะมีผลข้างเคียงจากยาได้ เช่น ตาสีฟ้า ผิวสีฟ้า เล็บสีฟ้า ซึ่งแพทย์จะใช้ดุลพินิจในการรักษา หากมีอาการก็จะให้ยาตามอาการปกติ

 

กรมการแพทย์ เผย"โมลนูพิราเวียร์"มาแล้ว "แพกซ์โลวิด"ถึงไทยเม.ย.นี้

logoline