svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แนะกลุ่มเสี่ยง "วัคซีนเข็ม 3" ต้อง mRNA เพื่อสู้ "โอมิครอน" จะได้ไม่ลงปอด

26 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอมนูญ แนะ กลุ่มเสี่ยง ฉีด "วัคซีนเข็ม 3" ต้อง mRNA ไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา สู้ "โอมิครอน" ได้ปลอดภัยกว่า ไม่ลงปอด

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ โอมิครอน ทำให้ประเทศไทยในขณะนี้เดินทางเข้าสู่จุดพีค ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันและสะสมยอดเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ล่าสุดแตะใกล้ๆ 50,000 ราย เมื่อรวมกับยอดตรวจ ATK ขณะที่ตัวเลขผู้ป่วยหนัก และผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ ก็มีอัตราที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง และผู้สูงอายุ

แนะกลุ่มเสี่ยง "วัคซีนเข็ม 3" ต้อง mRNA เพื่อสู้ "โอมิครอน" จะได้ไม่ลงปอด

นายแพทย์ มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ให้ความรู้ ความเข้าใจ ก้าวทันโอมิครอน ผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ระบุว่า คนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 โรค และหญิงตั้งครรภ์ หากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ "โอมิครอน" ถึงแม้จะได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกาแล้ว 2 เข็ม หรือถ้าได้วัคซีนเชื้อตายซิโนแวค หรือซิโนฟาร์ม 2 เข็ม ตามด้วยวัคซีนแอสตราเซเนกาอีก 1 เข็ม เชื้อก็ยังอาจลงปอด เกิดปอfอักเสบได้ จำเป็นต้องฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน mRNA ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นาอีก 1 เข็ม ถึงจะปลอดภัยมากขึ้น

"หมอมนูญ" ให้ข้อมูลว่า ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 93 ปี เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นผิดจังหวะ เคยผ่าตัดมะเร็งเต้านม 2 ปีก่อน ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาเข็มแรก เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 และเข็ม 2 วันที่ 13 กันยายน 2564 เตรียมตัวจะฉีด "วัคซีนไฟเซอร์" แต่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เสียก่อน ผู้ป่วยไม่ได้ออกนอกบ้าน แต่ติดเชื้อโควิด วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2565 จากคนงานในบ้าน มีเจ็บคอ น้ำมูก ไอบ้าง ไม่มีไข้ ไม่เหนื่อย จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส ไม่มีท้องเสีย มาโรงพยาบาลวันที่ 7 กพ. ตรวจ ATK ให้ผลบวก ยืนยันด้วยการตรวจ RT-PCR SARS-CoV2 วัดระดับออกซิเจนที่ปลายนิ้วปกติ 96 % เอกซเรย์ปอดปกติ คนไข้สมัครใจขอนอนรักษาตัวที่บ้าน โทรศัพท์ติดตามทุกวัน ไม่ได้ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เพราะผู้ป่วยกินยาเบาหวาน และไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบ "ยาฟาวิพิราเวียร์" กับยาหลอกว่ายาฟาวิพิราเวียร์สามารถลดการป่วยหนักและการเสียชีวิตได้

แนะกลุ่มเสี่ยง "วัคซีนเข็ม 3" ต้อง mRNA เพื่อสู้ "โอมิครอน" จะได้ไม่ลงปอด

แนะกลุ่มเสี่ยง "วัคซีนเข็ม 3" ต้อง mRNA เพื่อสู้ "โอมิครอน" จะได้ไม่ลงปอด

จากข้อมูลระบุอีกว่า.. ติดตามคนไข้ทางโทรศัพท์ทุกวัน จนวันที่ 7 หลังติดเชื้อไวรัสโควิด ผู้ป่วยกินอาหารได้น้อย น้ำตาลในเลือดตกเหลือ 53 mg% เริ่มมีไข้ เหนื่อยให้เข้ามานอนในโรงพยาบาลทันทีวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 65 มีไข้ อุณหภูมิ 39 องศาเซลเซียส ระดับออกซิเจนในเลือดตกเหลือ 92 % เอกซเรย์ปอดเริ่มมีฝ้าขาวทั้ง 2 ข้าง (ดูรูป) เม็ดเลือดขาวในเลือดต่ำ 4,490 ค่าอักเสบในเลือด hs-CRP 57 สูง (ค่าปกติ 0-5)  LDH 312 สูงเล็กน้อย (ค่าปกติ 120-246) ได้ออกซิเจนทางจมูก (nasal cannula) 3 ลิตร/นาที ให้การรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ทางเส้นเลือด 5 วัน ไข้ลง ไม่เหนื่อย ระดับออกซิเจนในเลือดดีขึ้น เอกซเรย์ปอดดีขึ้น คนไข้กลับบ้านได้ ไม่ต้องใช้ออกซิเจน 

หลังนอนโรงพยาบาล 6 วัน ติดตามเอกซเรย์ปอด 1 สัปดาห์หลังออกจากโรงพยาบาล เอกซเรย์ปอดกลับมาเป็นปกติ (ดูรูป) ปัจจุบันคนไข้สบายดี ไม่เหนื่อย ไม่ไอ กินอาหารได้ดี "ถ้าก่อนหน้านี้คนไข้ได้รับวัคซีน mRNA ไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา กระตุ้นเป็นเข็มที่ 3  อาการหลังติดเชื้อโอมิครอนคงจะเบากว่านี้"

 

แนะกลุ่มเสี่ยง "วัคซีนเข็ม 3" ต้อง mRNA เพื่อสู้ "โอมิครอน" จะได้ไม่ลงปอด

แนะกลุ่มเสี่ยง "วัคซีนเข็ม 3" ต้อง mRNA เพื่อสู้ "โอมิครอน" จะได้ไม่ลงปอด

logoline