svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"เต้ มงคลกิตติ์" ตั้งกลุ่ม 16 เป็นฝ่ายค้าน กดดันนายกฯ ยุบสภาฯ

10 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เต้ มงคลกิตติ์" จับมือพรรคเล็ก ตั้งกลุ่ม 16 กดดันนายกฯ ยุบสภาฯ ทำหน้าที่ฝ่ายค้าน เผย พิเชษฐ สถิรชวาลส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เป็นหัวหน้ากลุ่ม ยัน ไม่ได้ต่อรองทางการเมือง ส่อรวมพรรคเศรษฐกิจไทย ในอนาคต

"เต้ มงคลกิตติ์" ตั้งกลุ่ม 16 เป็นฝ่ายค้าน กดดันนายกฯ ยุบสภาฯ

10 กุมภาพันธ์ 2565 นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (เต้) ส.ส.พรรคไทยศรีวิไลย์ เปิดเผยถึงการจัดตั้งกลุ่ม 16 คน ว่า เป็นการรวมตัวของกลุ่มพรรคเล็กเดิมและฝ่ายค้านบางส่วน เพื่อทำงานคล้ายกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน และกลุ่มได้ตั้งตนเป็นผู้ประสานงาน นายพิเชษฐ สถิรชวาล ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ เป็นหัวหน้ากลุ่ม นายคฑาเทพ เตชะเดชเรืองกุล ส.ส. พรรคเพื่อชาติไทย เป็นเลขาธิการกลุ่ม และนายดำรงค์ พิเดช พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย เป็นประธานที่ปรึกษา 

 

ทั้งนี้ จากการหารือของกลุ่ม มีมติว่า เรื่องใดก็ตามของรัฐบาลที่จะมีผลกระทบต่อประชาชนและไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ทางกลุ่มจะมีมติโหวตในทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นหลัก ไม่สน มติวิปรัฐบาล ซึ่งเรื่องแรกที่เรามีมติไปคือ เรื่องของการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่เรายืนยันว่าไม่ควรเร่งต่อสัมปทานในรัฐบาลชุดนี้ แต่หากนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรียังคงลงมติเดินหน้าให้ต่อสัมปทาน กลุ่ม 16 คน จะให้ฝ่ายกฎหมายไปยื่นร้องดำเนินคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และยื่นต่อ ป.ป.ช.ด้วย  พร้อมยืนยันว่า กลุ่ม 16 คน เป็นคนละกลุ่มกับพรรคเศรษฐกิจไทย แต่บางเรื่องก็อาจจะมีแนวทางที่ตรงกัน

นายมงคลกิตติ์ กล่าวต่อ การที่ตั้งกลุ่ม 16 คนขึ้นมา ไม่ได้ต้องการเป็นเครื่องต่อรองทางการเมือง หรือเรียกรับผลประโยชน์อื่นใด แต่ตั้งมาเพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรียุบสภาหรือลาออกมากกว่า นอกจากนี้ กลุ่ม 16 คนที่มีการรวมกันตอนนี้ อาจจะมีแนวทางการเมืองในอนาคตร่วมกันหรือตั้งทัพสู้ศึกเลือกตั้งในครั้งหน้าเป็นพรรคเดียวกัน หรือหากเห็นว่าแนวทางของพรรคเศรษฐกิจไทยคล้ายกัน ก็อาจจะไปรวมเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต แต่ต้องรอยุบสภา

 

" ณ ปัจจุบันตามกฎหมาย ต้องอยู่คนละพรรคก่อน แต่รวมตัวเป็นกลุ่ม 16 คน จะตัดสินใจทำการเมืองอย่างไรจะเข้าพรรคไหนหรือจะตั้งพรรคใหม่จะรวมตัวกัน ก็ดูสถานการณ์ก่อน มีเวลาไม่มากนัก เพราะผมคิดว่ารัฐบาลอยู่ไม่นาน"

 

ส่วนการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจในการประชุมสภาฯสมัยหน้า จะเร่งดำเนินการยื่นให้เสร็จภายในเดือนเมษายน เพื่อป้องกันนายกรัฐมนตรียุบสภาฯ เพราะเราต้องการให้นายกรัฐมนตรีหลุดจากตำแหน่งกลางสภาฯ แต่ตนเชื่อว่าคนอย่างพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะยอมเข้าสู่สนามรบ จะไม่ทิ้งไพ่หรือลาออกก่อนแน่นอน

ทั้งนี้ กลุ่ม 16 ส.ส.ประกอบด้วย

  1. นายนพดล แก้วสุพัฒน์ พรรคพลังท้องถิ่นไท
  2. นายสุรทิน พิจารณ์ พรรคประชาธิปไตยใหม่
  3. นายสมัคร ป้องวงษ์ พรรคชาติพัฒนา
  4. นายระวี มาศฉมาดล พรรคพลังธรรมใหม่ (ที่ปรึกษากลุ่ม)
  5. นายดำรงค์ พิเดช พรรครักษ์ผืนป่า
  6. นายยรรยงก์ ถนอมพิชัยธำรง พรรครักษ์ผืนป่า
  7. นายคทาเทพ เตชะเดชเรืองกุล พรรคเพื่อชาติไทย
  8. นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ พรรคไทยศรีวิไล
  9. นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์  พรรคก้าวไกล (ยังต้องปรึกษาพรรค)
  10. นายแพทย์วาโย อัศวรุ่งเรือง พรรคก้าวไกล (ยังต้องปรึกษาพรรค)
  11. นายพิเชษฐ สถิรชวาล พรรคพลังประชารัฐ
  12. นายวิรัตน์ วรศสิริน พรรคเสรีรวมไทย
  13. นายพีระวิทย์ เรื่องลือดลภาค พรรคไทรักธรรม
  14. นายโกวิทย์ พวงงาม พรรคพลังท้องถิ่นไท
  15. ที่เหลือเป็นพรรคเศรษฐกิจใหม่
logoline