svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ธอส. ปล่อยสินเชื่อใหม่ปี 64 ทะลุเป้า 2.47 แสนล้าน

03 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ธอส. โชว์ New High ผลการดำเนินงานปี 64 ปล่อยสินเชื่อใหม่ 2.47 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.65% จากปีก่อน และสูงกว่าเป้าหมายถึง 31,234 ล้านบาท

3 กุมภาพันธ์ 2565  นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงาน ปี 2564 เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2563 ว่า แม้ตลอดปี 2564 ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับความท้าทาย ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แต่ ธอส. ยังคงสามารถตอบสนองนโยบายรัฐบาล และกระทรวงการคลัง ในการช่วยเหลือประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางให้มีที่อยู่อาศัย เป็นของตนเอง โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 246,875 ล้านบาท  181,843 บัญชี เพิ่มขึ้น 9.65% สูงกว่าเป้าหมาย 31,234 ล้านบาท และถือเป็นจำนวนสินเชื่อปล่อยใหม่ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ 68 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งธนาคาร 

ธอส. ปล่อยสินเชื่อใหม่ปี 64 ทะลุเป้า 2.47 แสนล้าน
แบ่งเป็นสินเชื่อปล่อยใหม่สำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและปานกลางวงเงินกู้ไม่เกิน 2 ล้านบาท จำนวน 85,403 ราย คิดเป็น 57% ของจำนวนรายลูกค้าสินเชื่อปล่อยใหม่ ทำให้มียอดสินเชื่อคงค้างรวมทั้งสิ้น 1,458,659 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.40% มีสินทรัพย์รวม 1,506,337 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.04% เงินฝากรวม 1,274,849 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.74% และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวน 58,381 ล้านบาท คิดเป็น 4% ของยอดสินเชื่อรวม เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ซึ่งมี NPL อยู่ที่ 3.75% ของสินเชื่อรวม และยังเป็นระดับที่บริหารจัดการได้ ธนาคารได้ทยอยตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนสูงถึง 111,827 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.93% หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อ NPL ที่ระดับ 191.55% สะท้อนถึงความมั่นคงและพร้อมในการรองรับผลกระทบจาก COVID-19 ในอนาคต และยังคงมีกำไรสุทธิที่ 12,351 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายเล็กน้อย 
 

ธอส. ปล่อยสินเชื่อใหม่ปี 64 ทะลุเป้า 2.47 แสนล้าน

ขณะที่อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) อยู่ที่ระดับแข็งแกร่งที่ 15.30% สูงกว่าอัตราเงินกองทุนขั้นต่ำที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดที่ 8.50% ขณะที่การให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 นับตั้งแต่ต้นปี 2563 ต่อเนื่องถึงสิ้นปี 2564 มีจำนวนลูกค้าที่ได้รับความช่วยเหลือผ่าน 22 มาตรการสูงสุดถึง  973,227 บัญชี วงเงินสินเชื่อ 847,218 ล้านบาท ส่วนใหญ่ประมาณ 87% กลับมาผ่อนชำระได้ตามปกติ ล่าสุด ณ วันที่ 31 มกราคม 2565 ยังคงมีลูกค้าที่อยู่ในมาตรการความช่วยเหลือเดิมของธนาคารลงทะเบียนแจ้งความประสงค์เข้า 3 มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน เพื่อขยายการให้ความช่วยเหลือต่ออีกอย่างน้อยถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 81,192 บัญชี เงินต้นคงเหลือ 84,137 ล้านบาท 
 

ธอส. ปล่อยสินเชื่อใหม่ปี 64 ทะลุเป้า 2.47 แสนล้าน ธอส. ปล่อยสินเชื่อใหม่ปี 64 ทะลุเป้า 2.47 แสนล้าน

 

สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2565 ธอส. กำหนดยุทธศาสตร์ภายใต้แนวคิด GHB Next Move Sustainable Bank มุ่งสู่การเป็นธนาคารเพื่อความยั่งยืนด้วย 3 แนวทางหลักในการขับเคลื่อนองค์กร ประกอบด้วย  


1.เพิ่มประสิทธิภาพ Technology ใช้ Technology Digital ปรับกระบวนการให้บริการลูกค้าด้วย Digital Services และ Implement Digital Operation สำหรับ Digital Services ธนาคารอยู่ระหว่างการพัฒนา Mobile Application : GHB ALL GEN เป็น New Version Mobile Application : GHB ALL ให้ทันสมัยใช้งานง่ายตอบโจทย์ Lifestyle แบบ New Normal ของลูกค้าทุก Generation ทั้งในด้านเงินฝากตั้งแต่กระบวนการเปิดบัญชี การโอนเงิน การซื้อสลากออมทรัพย์ การชำระหนี้เงินกู้สามารถใช้บริการเงินฝากประจำผ่าน Mobile Application ในด้านบริการสินเชื่อ ธนาคารจะยกระดับทั้งกระบวนการตั้งแต่การให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ การติดต่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อ (Digital Loan Officer) การทราบราคาประเมินผ่านระบบ GHB Digital Appraisal การแจ้งผลอนุมัติสินเชื่อ รวมถึงการลงนามสัญญาแบบ Electronic ผ่านระบบ e-Contract ซึ่งลูกค้าจะได้รับเอกสารสัญญาเงินกู้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยทั้งหมดลูกค้าจะสามารถทำธุรกรรมกับธนาคารได้โดยผ่าน Mobile Application : GHB ALL GEN Any where Any time 
 

ขณะที่กระบวนการประนอมหนี้ ลูกค้าสามารถประนอมหนี้ผ่าน Mobile Application : ALL Be Friend และซื้อบ้านมือสองของ ธอส. หรือ GHB NPA ผ่าน Mobile Application : ALL HOME ทุกธุรกรรมที่สำคัญลูกค้าจะได้รับการยืนยันผ่าน Line Application : GHB Buddy ซึ่งจะมีการแจ้งเตือนบริการใหม่ ๆ เพิ่มเติมในต้นไตรมาส 4 ของปี 2565 ส่วนกระบวนการปฏิบัติงานภายในของธนาคารทั้งหมด ถูกยกระดับด้วย Digital Operation เช่น ระบบสื่อสารภายในของธนาคารผ่าน Application : WE รวมถึงระบบ Digitizer ซึ่งเป็นระบบการจัดการอนุมัติเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดขั้นตอนการทำงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยในปี 2564 ธนาคารสามารถนำแบบฟอร์มเข้าระบบได้ 148 แบบฟอร์ม ช่วยลดชั่วโมงการทำงานลงได้ถึงเกือบ 50% และยังทำให้สามารถลดปริมาณการใช้กระดาษลงจากปีก่อนหน้าได้กว่า 60%         
 

2.ยกระดับ Operation การทำงานที่เกี่ยวกับลูกค้า เพื่อเป้าหมายสำคัญทางด้านการเงิน อาทิ สินเชื่อ ปล่อยใหม่ เพิ่มขึ้น 3% จากเป้าหมายในปี 2564 บริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ให้อยู่ที่ระดับไม่เกิน 4.67% ของสินเชื่อรวม โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางผ่าน Customer Journey : เพื่อให้ลูกค้ารู้จัก, เข้าถึง, ใช้จริง, บอกต่อ และ Loyalty กับธนาคาร เริ่มจากการสร้างความ “รู้จัก” ด้วยการส่งเสริมภาพลักษณ์ของ ธอส. ให้เป็น Super brand ธนาคารที่ดีที่สุดสำหรับการมีบ้านของลูกค้าทุกกลุ่มที่ต้องการใช้บริการจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านโครงการที่น่าสนใจ อาทิ GHB Online Virtual Event : มหกรรมการเงินออนไลน์บนโลกเสมือนจริง  พร้อมข้อเสนอที่ดีที่สุด ที่ให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างสะดวกสบายผ่านหน้าจอโทรศัพท์ครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2565 “เข้าถึง” ด้วยการเพิ่มช่องทางการติดต่อให้กับลูกค้าผ่านดิจิทัล อาทิ โครงการ B-Mall เพื่อติดต่อลูกค้าผ่านช่องทาง Line Official  แยกเขตพื้นที่ตามภูมิภาคเพื่อให้สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่สินเชื่อ Digital Loan Officer ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยมีเจ้าหน้าที่สินเชื่อ Virtual Branch อำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่สนใจยื่นกู้โดยลูกค้าไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา 

  ธอส. ปล่อยสินเชื่อใหม่ปี 64 ทะลุเป้า 2.47 แสนล้าน
“ใช้จริง” ด้วยผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่หลากหลายและอัตราดอกเบี้ยต่ำ นำโดยโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 อัตราดอกเบี้ยคงที่ 4 ปีแรกเท่ากับ 1.99% ต่อปี สำหรับผู้ที่ต้องการที่อยู่อาศัยในระดับราคาซื้อ-ขายไม่เกิน 1.2 ล้านบาท ล่าสุด ณ วันที่ 17 มกราคม 2565 เวลา 9.00 น. มีลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้ว 78,028 ราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อ 93,633 ล้านบาท ยื่นคำขอกู้แล้ว 8,020 ราย วงเงิน 7,021 ล้านบาท และได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว 7,174 ราย วงเงิน 6,093 ล้านบาท และยังเตรียมนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายสลากออมทรัพย์ มาจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อโดยตรงในลักษณะเดียวกันกับ Peer-to-Peer Lending (P2P) ที่เชื่อมโยงเงินระหว่างผู้มี Wealth มาเจอกันกับผู้ต้องการขอสินเชื่อ ส่วนการ “บอกต่อ” โดยการจัดทำโครงการ “Data Driven Analytic” การนำฐานข้อมูลการใช้บริการของลูกค้ามาวิเคราะห์และจัดผลิตภัณฑ์หรือโปรโมชั่นให้ตรงกับความต้องการ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการรักษาบ้านให้กับลูกค้าที่ประสบอุบัติเหตุมีปัญหาการผ่อนชำระด้วยช่องทางการติดต่อประนอมหนี้ผ่าน Application : GHB ALL Be Friend รวมถึงมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สะท้อนความเข้าใจและอยู่เคียงข้างกับลูกค้าในช่วงที่ประสบปัญหาให้ได้ดีที่สุดต่อไป และนำไปสู่การมี “Loyalty” ที่จะเกิดขึ้นจากการที่ธนาคารมอบความช่วยเหลือลูกค้าในยามวิกฤต นำไปสู่การใช้บริการอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น และยังคงอยู่กับกับ ธอส. ตลอดไป 
 

3.พัฒนาผู้ปฏิบัติงานสู่ People Excellence ด้วยการสร้าง Mindset บุคลากรกว่า 5,000 คน ด้วยค่านิยม GIVE+4  (G : Good Governance, I : Innovative Thoughts, V : Value Teamwork, E : Excellent Services, C : (En)courage  to Change, A : Achievement Oriented, P : Professional และ S : Speed) เพื่อให้มีความพร้อมมีความสามารถในการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้เสมอการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี พร้อมทำงานด้วยความรวดเร็วและเป็นมืออาชีพเพื่อเดินหน้าตามพันธกิจ : ทำให้คนไทยมีบ้าน ด้วยการ Up-skill ให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถแนะนำลูกค้าเกี่ยวกับบริการดิจิทัลต่าง ๆ ของธนาคารได้อย่างชัดเจน รวมถึงการ Re-skill ให้มีทักษะในการให้บริการตรงกับความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน อาทิ การพัฒนาพนักงานการเงินมาให้บริการด้านสินเชื่อ สอดคล้องกับจำนวนธุรกรรมการเงินในสาขาที่ลดลงเพราะลูกค้าทำธุรกรรมผ่าน Mobile Application GHB ALL เป็นจำนวนมาก ซึ่ง ณ สิ้นปี 2564 มีสัดส่วน Digital Transaction อยู่ที่ 62.04% ของจำนวน Transaction ทั้งหมด  
 

logoline