svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

เส้นทางความขัดแย้ง"ฝ่ายบริหาร-ฝ่ายตุลาการ"

28 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถานการณ์ของรัฐบาลตอนนี้กำลังเจอเรื่องใหญ่ในวงตุลาการ นั่นคือการใช้อำนาจในฝ่ายบริหาร ไปแต่งตั้งผู้บริหารในส่วนของตุลาการระดับสูงเข้ามาเป็นบอร์ดคณะกรรมการในชุดต่างๆ และผู้บริหารคนนั้นถูกประธานศาลฎีกาคนก่อนตั้งคณะกรรมการสอบสวนและมีป.ป.ช.ดำเนินการสอบ

กลายเป็นประเด็นร้อนว่าจะมีการแทรกแซงตุลาการหรือไม่ เพราะฉะนั้นสองเสาหลักประชาธิปไตยฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการต้องทบทวนบทบาทหน้าที่ของตนเองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเหมาะสมหรือไม่

 

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ตัวแทนของศาลร้องต่อป.ป.ช. ให้ดำเนินการสอบนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายอาญามาตรา 157 

 

นายศรีอัมพร ศาลิคุปต์ ข้าราชการตุลาการบำนาญ อดีตประธานศาลอุทธรณ์ ภาค 5 ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกา สมชาติ ธัญญาวินิชกุล ผู้พัพากษาอาวุโสในศาลฎีกา นรพัฒน์ สุจิวรกุล รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง ฯลฯ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อ (25 ม.ค. 65) เพื่อขอให้ดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 แก่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ข้อหา มีพฤติการณ์ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการศาลยุติธรรม ประเทศชาติและประชาชน กระทำการที่เป็นการขัดต่อนโยบายรัฐบาลเกี่ยวกับการส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาล และป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ

เส้นทางความขัดแย้ง"ฝ่ายบริหาร-ฝ่ายตุลาการ"

 

เส้นทางแห่งข้อขัดแย้ง

  • 19 ส.ค. 64 นายสราวุธ เบญจกุล ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักงานศาลยุติธรรม ถูกประธานศาลฎีกาตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง
  • 23 ก.ย. 64 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ นายสราวุธ เบญจกุล เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • 5 พ.ย. 64 พล.อ.ประยุทธ์ จันทธ์โอชา นายกฯ มีคำสั่งแต่งตั้ง นายสราวุธ เบญจกุล เป็นรองประธานอนุกรรมการ ก.ต.ร.เกี่ยวกับเรื่องการอุทธรณ์วินัยข้าราชการตำรวจ

  • 11 ม.ค. 64 คณะรัฐมนตรีที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน มีมติแต่งตั้งนายสราวุธ เบญจกุล เป็นกรรมการการไฟฟ้านครหลวง

เส้นทางความขัดแย้ง"ฝ่ายบริหาร-ฝ่ายตุลาการ"

ปมใหญ่ในวงตุลาการ

 

1. นายกฯ-รองนายกฯ มีคำสั่งตั้ง และเห็นชอบ นายสราวุธ ซึ่งเป็นบุคคลที่ถูกประธานศาลฎีกา มีคำสั่งแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง เรื่องทุจริต ไปมีตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐ และฝ่ายบริหารได้อย่างไร

2. ถือเป็นการที่ฝ่ายบริหารแทรกแซงการบริหารงานบุคคลในสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 193 ที่รับรองความเป็นอิสระในการบริหารงานบุคคลของฝ่ายตุลาการไว้หรือไม่

3. การแต่งตั้งให้ความดีความชอบ หรือให้รางวัลแก่ข้าราชการศาลยุติธรรม ที่กำลังถูกสอบวินัยร้ายแรงเกี่ยวกับการทุจริตหรือไม่ และเป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือสมควรหรือไม่

4. นโยบายต่อต้านและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ที่ขอความร่วมมือจากประชาชน แต่พฤติกรรมของรัฐบาลกลับส่อไปในทางส่งเสริมบุคคลที่ถูกกล่าวหาถึงการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือทุจริต และเป็นการถูกตำเนินการโดยอำนาจหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ มิใช่หน่วยงานภายใต้กำกับของนายกฯ แต่อย่างใด

เส้นทางความขัดแย้ง"ฝ่ายบริหาร-ฝ่ายตุลาการ"

 

ข้อกล่าวหาคุณสราวุธ เบญจกุล

 

  • ถูกสอบสวนวินัยร้ายแรง กรณีการจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงอาคารศาลจังหวัดพระโขนงรวมทั้งศาลจังหวัดตลิ่งชัน และศาลจังหวัดมีนบุรี ตามคำสั่งประธานศาลฎีกา
  • ส่งเรื่องมายังสำนักงาน ป.ป.ช. ให้รับดำเนินการสอบสวนแล้ว

เส้นทางความขัดแย้ง"ฝ่ายบริหาร-ฝ่ายตุลาการ"

 

คุณสราวุธได้ดำเนินการเรื่องนี้เช่นเดียวกัน ส.ค. 2564 นายสราวุธ เบญจกุล อดีตเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักงานศาลยุติธรรม ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองกลางฟ้องนางเมทีนี ชโลธร ประธานศาลฎีกา กับพวกรวม 5 ราย เป็นผู้ถูกฟ้องคดีในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย วันที่ 23 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางได้ประทับรับฟ้อง เป็นคดีหมายเลขดำที่ บ.271/2564 และเมื่อวันที่ 25 ส.ค.2564 ที่ผ่านมา มีการตั้งตุลาการเจ้าของสำนวนแล้ว

เส้นทางความขัดแย้ง"ฝ่ายบริหาร-ฝ่ายตุลาการ"

 

 

นายสราวุธ ได้บรรยายฟ้องเอาไว้

 

ประธานศาลฎีกาที่ 1 กับพวกรวม 5 ราย กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีผู้ถูกฟ้องที่ 1มีคำสั่งสำนักงานศาลยุติธรรมที่ 889/2564 ลงวันที่ 19 ส.ค. 2564 แต่งตั้ง ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3-5 เป็นคณะกรรมการสอบสวนผู้ฟ้องคดี นายสราวุธ กรณีถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงอาคารศาลจังหวัดพระโขนงเป็นกรณีถูกกล่าวหาหลังจากพ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมแล้ว แต่การออกคำสั่งดังกล่าวอาศัยอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ทั้งที่ตามกฎหมายแล้วต้องดำเนินการทางวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน จึงนำคดีมาฟ้อง และเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งคณะกรรมการสอบวินัยร้ายแรง เกี่ยวกับเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างปรับปรุงอาคารศาลจังหวัดพระโขนง ที่ถูกกล่าวหา

เส้นทางความขัดแย้ง"ฝ่ายบริหาร-ฝ่ายตุลาการ"

เรื่องราวการต่อสู้ของสองฝ่ายกระแทกไปที่รัฐบาล เหมือนเป็นการเปิดศึกของรัฐบาลกับตุลาการ ถือเป็นศึกครั้งใหญ่ระหว่างรัฐบาลกับตุลาการต้องดูกันต่อไปว่าหลังจากนี้จะเกิดอะไรขึ้นตามมา

 

ที่มา เนชั่นอินไซต์ โอ-บากบั่น บุญเลิศ , วี-วีระศักดิ์ พงศ์อักษร

logoline