svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ. ไฟเขียวแนวทางปรับ “โควิด-19” เป็นโรคประจำถิ่น

27 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สธ.และกรมควบคุมโรค ร่วมดำเนินการบริหารจัดการเกณฑ์ที่ "โควิด-19" จะเป็นโรคประจำถิ่นได้ ต้องใช้เวลา เตรียมจัดทำแผน 1 ปี ประชาชนไม่ต้องกังวล รัฐบาลดูแลทุกคน ครอบคลุมทุกสิทธิการรักษา

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 โดยที่ประชุมพิจารณา 2 เรื่อง โดยเรื่องแรกเห็นชอบหลักการแนวทางการพิจารณาโรคโควิด 19 ให้เป็นโรคประจำถิ่น และ เรื่องจัดให้มีสถานที่เฉพาะในการฉีดวัคซีนโควิด 19 เบื้องต้น เรียกว่า “คลินิกวัคซีนผู้ใหญ่”

 

เนื่องจากขณะนี้การระบาดมีทิศทางที่ดีขึ้น อยู่ภายใต้การควบคุม ไม่ได้มีลักษณะรุนแรงและเป็นไปตามหลักวิชาการ อย่างไรก็ตาม โรคประจำถิ่นเป็นนิยาม ยังไม่ได้มีเกณฑ์ จึงต้องกำหนดลักษณะคร่าวๆ แล้วแปลงเป็นตัวเลข เพื่อเป็นเป้าหมายในการบริหารจัดการให้เป็นโรคประจำถิ่นให้ได้

 

 

สธ. ไฟเขียวแนวทางปรับ “โควิด-19” เป็นโรคประจำถิ่น

 

โดยหลักเกณฑ์กว้างๆ มี 3 เรื่อง คือ

1.อัตราเสียชีวิตต่ำกว่า 1 ต่อผู้ป่วย 1 พันคน ก็ต้องบริหารไม่ให้เกินนี้ หากเกินถือว่าเป็นโรคที่อาจจะรุนแรง ส่วนการติดเชื้อมีเป็นระยะได้ แต่โรคต้องไม่รุนแรงเกินไป ไม่อันตราย อยู่ในการควบคุม ระบาดเป็นหย่อมๆ ไม่ใช่ระบาดทั้งประเทศ แต่เสียชีวิตอัตรา 1 ต่อพันรายก็ไม่ดีเช่นกัน

 

2.คนมีภูมิต้านทานจากการฉีดวัคซีน ซึ่งสำหรับโอมิครอนเราคิดว่าต้องได้วัคซีนครบ 2 เข็มเกิน 80% ของประชากร ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 70 กว่า% แล้ว 

 

3.ระบบการดูแลรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องสอดคล้องกับการระบาดด้วย อย่างตอนนี้ยังเป็นโรคระบาดใหญ่และเป็นโรคติดต่ออันตราย ดังนั้นกระบวนการทางกฎหมายก็ต้องถอดออกจากการเป็นโรคติดต่ออันตรายมาเป็นโรคติดต่อทั่วไป ต้องมีกระบวนการทางกฎหมายให้สอดคล้องด้วย

 

“เราไม่อยากปล่อยเวลาให้โรคโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่นด้วยตัวเอง จึงต้องบริหารจัดการให้เป็นโรคประจำถิ่น โดยบริหารจัดการให้ถึงเป้าหมายครบทั้ง 3 หลัก ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักระยะในการบริหารจัดการให้ถึงเกณฑ์ที่เป็นโรคประจำถิ่นได้ ซึ่งจะมอบหมายให้ สธ.และกรมควบคุมโรคไปดำเนินการบริหารจัดการตามแนวทาง โดยไปสร้างมาตรการและกลไก” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว

 

ส่วนอีกเรื่องคือการจัดให้มีสถานที่เฉพาะในการฉีดวัคซีนโควิด 19 เบื้องต้นเรียกว่า “คลินิกวัคซีนผู้ใหญ่” เพราะยังต้องฉีดวัคซีนโควิดอีกระยะหนึ่งใหญ่ๆ เพื่อให้บุคคลมีภูมิต้านทานต่อเนื่อง โดยให้เปิดเป็นฟังก์ชันให้บริการโดยเฉพาะในรพ. ซึ่งอาจจะเปิดถึงในระดับ รพ.ชุมชน


ซึ่งอนาคตใครจะมาวันไหนเวลาไหนที่ รพ.เปิดก็เข้ามาได้ จะฉีดวัคซีนใดๆ ก็ได้ ซึ่งหลายแห่งดำเนินการแล้ว แต่เราจะมีนโยบายลงไปให้ดำเนินการในการตั้งจุดฉีดประจำเป็นคลินิก เพราะเกรงว่าหากฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมแล้วก็อาจจะมีการถอนบริการนี้ออก

 

 

สธ. ไฟเขียวแนวทางปรับ “โควิด-19” เป็นโรคประจำถิ่น

 

 

สำหรับการเป็นโรคประจำถิ่นต้องดูสถานการณ์ทั่วโลกหรือไม่ นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า "เราก็ดูประกอบ แต่การที่เรามีเกณฑ์ ไม่ใช่ว่าเราจะไปแซงอะไร แต่จะเป็นแนวทางการบริหาร อย่างโรคประจำถิ่นเมื่อก่อนต้องรอใครประกาศ ก็ไม่มีตัวชี้วัดหรือเป้าหมายที่เราต้องทำ

 

แต่ถ้าเราทำตามนี้ทุกอย่างเข้าองค์ประกอบ ก็มีความหมายให้ประชาชนรู้ว่าโรคไม่ร้ายแรงและอาจเกิดขึ้นครั้งคราว ถ้ารอประกาศขององค์การอนามัยโลก เราก็อาจทำไม่ทัน ซึ่งเราทำของเราเองมาตลอด บางอย่างถ้าเป็นกฎหมายของเขาก็ต้องรอเขา แต่บางอย่างเป็นเรื่องของเรา เราก็ทำเองได้"

นพ.เกียรติภูมิ ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับ โรคประจำถิ่นอยู่ในเงื่อนไขของการไม่กลายพันธุ์ด้วยหรือไม่ และ การปล่อยให้เป็นโรคประจำถิ่นตามปกติ กับการเร่งรัดจะใช้เวลาต่างกันมากน้อยแค่ไหน ว่า

"การกลายพันธุ์เราก็ดูด้วย ตอนนี้เราวัดที่ผล โดยเอาผลเป็นตัวตั้ง เราไม่รู้ว่าสายพันธุ์ย่อยอะไร แต่กลุ่มโควิดถ้าอัตราตายประมาณนี้ ฉีดวัคซีนมีภูมิประมาณนี้ ถ้ากลายพันธุ์ แต่ผลลัพธ์ยังได้ผลอยู่ก็จบ

 

เราเรียกว่าบริหาร ถ้าเราปล่อยตามยถากรรมก็ต้องช้าอยู่แล้ว เช่น ฉีดวัคซีนวันนี้ได้ 2 แสนโดสก็ดี 2 หมื่นโดสก็ได้ แต่ถ้าเรามีเป้าหมายก็จะวางแผนว่าจะจัดการให้เป็นโรคประจำถิ่นในกี่เดือน สมมติ 1 ปี จะได้รู้ว่าเดือนแรกทำอะไร 3 เดือนแรกทำอะไร เดือนที่ 4 ต้องทำอะไร เป็นต้น ซึ่งเมื่อเห็นชอบหลักการนี้มา สธ.มาบริหารและจะเสนอแผนอีกทีก็จะบอกรายละเอียดได้"

 

 

สธ. ไฟเขียวแนวทางปรับ “โควิด-19” เป็นโรคประจำถิ่น

 

 

ส่วนมาตรการป้องกัน และสิทธิในการรักษาของประชาชน เมื่อโควิด-19 กลายเป็นโรคประจำถิ่น นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า "รัฐบาลดูแลทุกคน ซึ่งก็ครอบคลุมทุกสิทธิ ไม่ว่าโรคอะไรจะเป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่ ก็มีสิทธิในการรักษาได้

 

เมื่อเป็นโรคประจำถิ่นแล้วมาตรการยังเหมือนเดิม หรือหน้ากากสามารถถอดได้แล้วหรือไม่ นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นคนละตอน จริงๆ ก็ยังต้องใส่หน้ากากไปก่อนไม่เกี่ยวกัน อย่างที่ญี่ปุ่นไม่มีโควิดเขาก็ใส่หน้ากาก ขึ้นรถไฟ คนไม่สบายก็ใส่หน้ากาก แต่เราอาจจะต้องเปลี่ยนวิธี เช่น คนป่วยก็ใส่หน้ากาก ต้องมีมาตรการตามมาอีกที"

 

 

logoline