svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อัปเดต ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2 พบเพียง 14 ราย ชี้ ไม่พบข้อมูลน่ากังวล

26 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมวิทย์ ฯ อัปเดต ผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 สะสม 14 ราย และ ยังไม่พบข้อมูลว่ามีอาการรุนแรง-แพร่ระบาดเร็ว ระบุ เพียง 3 วัน พบผู้ติดเชื้อโอมิครอน 900 ราย พบมากที่สุดที่ กทม. ชลบุรี  ภูเก็ต  ร้อยเอ็ด และสมุทรปราการ ชี้ อย่างกังวล ATK สามารถตรวจจับได้ทุกสายพันธุ์ที่มี

อัปเดต ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2 พบเพียง 14 ราย ชี้ ไม่พบข้อมูลน่ากังวล

26 มกราคม 2565 ที่กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า พบสายพันธุ์โอมิครอน BA.2 จำนวน 14 ราย โดยมีการพบครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2565 ระหว่างนั้นได้รวบรวมข้อมูลเพื่อรายงานเข้าระบบเป็นรายแรก ในวันที่ 19 มกราคม โดยจำนวนทั้งหมดมาจากต่างประเทศ 9 ราย ในประเทศ 5 ราย โดยในจำนวน 5 รายเสียชีวิต 1 ราย เป็นผู้ป่วยผู้สูงอายุวัย 85 ปี ที่รายงานก่อนหน้านี้

 

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเจอสายพันธุ์ย่อยไหน ก็สามารถตรวจเจอเชื้อ จากระบบ RT-PCR และชุดตรวจคัดกรอง ATK ได้ทั้งหมด ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงบางตำแหน่งของเชื้อไวรัสก็ตาม

 

ตอนนี้ข้อมูล BA.2 ยังน้อยเกินที่จะสรุปว่า มีความรุนแรงหรือ แพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์หลักหรือไม่ เพราะ ยังไม่พบสัดส่วนการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ 

อัปเดต ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2 พบเพียง 14 ราย ชี้ ไม่พบข้อมูลน่ากังวล

นพ.ศุภกิจ ระบุว่า การแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สิ้นเดือนมกราคม ได้ครอบครองพื้นที่การระบาดในประเทศไทยถึง ร้อยละ 97-98

 

จากการเฝ้าระวังกลุ่มที่เดินทางเข้าประเทศ พบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เป็นสายพันธุ์โอมิครอนทั้งหมด

 

สำหรับในประเทศไทย ในช่วง 3 วันที่ผ่านมาตั้งแต่วันที่ 23-25 มกราคม พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนกว่า 900 ราย ส่วนสายพันธุ์เดลตาลดลงอยู่ที่ 50 ราย โดย 5 จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนมากที่สุด คือ กทม. ชลบุรี  ภูเก็ต  ร้อยเอ็ด และสมุทรปราการ

อัปเดต ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ย่อย BA.2 พบเพียง 14 ราย ชี้ ไม่พบข้อมูลน่ากังวล

ทั้งนี้ภาพรวมสายพันธุ์การแพร่ระบาดทั่วโลก คือ โอมิครอน BA.1 มากที่สุด ส่วน BA.2 เริ่มพบในหลายประเทศมากขึ้น ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ถอดรหัสพันธุ์กรรมของเชื้อไวรัสเข้าระบบ GISAID กว่า 12,000 ตัวอย่าง จากสัปดาห์ละ 500 ตัวอย่าง

 

อย่างไรก็ตามอนาคตการสุ่มตรวจหาสายพันธุ์ จะลดลงเนื่องจากทั่งหมดเป็นโอมิครอนแล้ว แต่ยังคงต้องถอดรหัสพันธุ์กรรมของผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและพบว่าติดเชื้อ โดยจะมีการสุ่มตัวอย่าง เพื่อเฝ้าระวังว่ามีสายพันธุ์ไหนน่ากังวลหรือไม่

 

นพ.ศุภกิจ ย้ำ การพบสายพันธุ์ย่อยโอมิครอน BA.2 ขณะนี้ยังไม่น่ากังวล ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย อัตราเสียชีวิตต่ำ และขอความร่วมมือประชาชนให้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน

logoline