svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

แบงก์ชาติ-กลต. ร่วมแนวทาง นำสินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้า-บริการ

25 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แบงก์ชาติ-กลต.ร่วมกำหนดแนวทางกำกับดูแลการนำสินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้าและบริการ ก่อให้เกิดความเสี่ยงหลายมิติ กระทบเสถียรภาพทางการเงินและระบบเศรษฐกิจ พร้อมเปิดรับฟังความเห็น หากแล้วเสร็จ ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ภายใน 15 วัน นับจากประกาศมีผลใช้บังคับ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และกระทรวงการคลัง (กค.) ได้หารือร่วมกันถึงประโยชน์และความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัล และเห็นความจำเป็นในการกำกับดูแลและควบคุมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศ

 

เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลได้ขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจในลักษณะให้บริการ ชักชวนหรือแสดงตน ว่าพร้อมจะให้บริการแก่ร้านค้าและผู้ประกอบการในธุรกิจต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น จัดทำระบบและโฆษณาเชิญชวนร้านค้า

 

แบงก์ชาติ-กลต. ร่วมแนวทาง นำสินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้า-บริการ

 

 

การที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในลักษณะดังกล่าว อาจส่งผลให้เกิดการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการเป็นวงกว้าง นอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุน  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงเป็นความเสี่ยงต่อประชาชนและธุรกิจ

ทำไม "สินทรัพย์ดิจิทัล" ไม่เหมาะนำมาใช้เป็น "เงิน" เพื่อซื้อขายสินค้าและบริการ?

 

ผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการ

-ราคามีความผันผวนสูง

ความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งทำให้ยอดใช้จ่ายของผู้ใช้ หรือรายรับของผู้รับชำระมีความไม่แน่นอนสูง แม้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลบางรายมีบริการที่ช่วยแลกสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเงินบาทก่อนส่งมอบแก่ร้านค้า แต่ยังอาจมีต้นทุนแฝง เช่น ค่าธรรมเนียมในการแปลงสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อป้องกันความผันผวน ที่อาจเก็บจากผู้ใช้หรือผู้รับชำระได้

 

 

แบงก์ชาติ-กลต. ร่วมแนวทาง นำสินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้า-บริการ

 

-เพิ่มความเสี่ยงในการฟอกเงิน 

ด้วยลักษณะของสินทรัพย์ดิจิทัลที่สามารถโอนหรือรับโอนจากกระเป๋าส่วนตัว (private wallet) ที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องพิสูจน์ยืนยันตัวตน จึงมีโอกาสที่สินทรัพย์ดิจิทัลจะถูกใช้เพื่อการฟอกเงิน และเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนทางการเงินให้กับการก่อการร้าย รวมถึงการหลีกเลี่ยงการเสียภาษีต่าง ๆ เป็นต้นค้าผิดกฎหมาย เพราะกระเป๋าเงินดิจิทัลส่วนใหญ่ไม่ต้องพิสูจน์ยืนยันตัวตน

 

-ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

มีโอกาสที่ผู้ใช้บริการจะถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ เกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล หรือระบบหยุดชะงักทำให้เสียโอกาส เพราะยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยด้านการชำระเงิน

 

แบงก์ชาติ-กลต. ร่วมแนวทาง นำสินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้า-บริการ

 

ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ

-เพิ่มต้นทุนในการชำระเงิน

จากการต้องแลกเปลี่ยนไปมา หรือปรับระบบให้รองรับสินทรัพย์หลายประเภท

 

-ลดเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงิน

แบงก์ชาติไม่สามารถดูแลภาวะการเงินและระดับราคาสินค้าที่ไม่ใช่เงินบาทให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจได้

 

-เสถียรภาพระบบการชำระเงิน

หากสินทรัพย์ดิจิทัลถูกนำมาใช้เพื่อชำระค่าสินค้าบริการอย่างแพร่หลาย อาจส่งผลต่อการดูแลระบบการชำระเงินให้มีประสิทธิภาพ มั่นคงและปลอดภัย เนื่องจากสินทรัพย์ดิจิทัลส่วนใหญ่ถูกพัฒนาจากเทคโนโลยีสาธารณะแบบกระจายศูนย์ (public blockchain) ทำให้ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแลและไม่มีการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยไว้ หากเกิดปัญหา ผู้ใช้บริการอาจไม่ได้รับความคุ้มครอง

นอกจากนี้ ยังทำให้มีระบบการชำระเงินหลายระบบ (fragmentation) และซ้ำซ้อน อาจสร้างความสับสนหรือทำเกิดต้นทุนหากผู้บริโภคต้องใช้หลายระบบ ทำให้ต้นทุนการชำระเงินโดยรวมของประเทศสูงขึ้นและส่งผลต่อเนื่องมายังการพัฒนาเศรษฐกิจการเงินด้วย

 

-เสถียรภาพทางการเงิน

การเกิดหน่วยวัดมูลค่า (unit of account) หรือหน่วยการตั้งราคาที่นอกเหนือจากสกุลเงินบาท จะเป็นต้นทุนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนและธุรกิจ จากการแลกเปลี่ยนไป-มาระหว่างสกุลต่าง ๆ

นอกจากนี้ ความต้องการถือครองสกุลเงินบาทที่ลดลง จะลดทอนประสิทธิภาพของการส่งผ่านนโยบายการเงิน ในการดูแลระดับราคาสินค้า รวมถึงลดความสามารถของ ธปท. ในการดูแลให้ภาวะการเงินสอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้ หากเกิดวิกฤตสภาพคล่องในประเทศ ธปท. จะไม่สามารถเข้าช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้แก่สถาบันการเงินต่างๆ ในรูปแบบอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินบาทได้

 

 

 

แบงก์ชาติ-กลต. ร่วมแนวทาง นำสินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้า-บริการ

 

 

ออกหลักเกณฑ์กำกับดูแล

 

หลักเกณฑ์กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการจำกัดการให้บริการในการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ

 

หน่วยงานกำกับดูแลต่างตระหนักถึงความเสี่ยงและผลกระทบดังกล่าว จึงพิจารณาใช้อำนาจตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าหรือบริการในวงกว้าง และจะมีแนวทางกำกับดูแลที่เหมาะสม สำหรับบริการที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลบางประเภทที่เป็นประโยชน์ต่อนวัตกรรมทางการเงินและไม่สร้างความเสี่ยงเชิงระบบที่กล่าวถึงข้างต้น 

 

การให้บริการให้เกิดการนำสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment - MOP)ครอบคลุมถึง

  • ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ผู้ประกอบธุรกิจฯ) ทุกประเภท: ศูนย์ซื้อขาย นายหน้า ผู้ค้า ผู้จัดการเงินทุน และที่ปรึกษา สินทรัพย์ดิจิทัล
  • สินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท : คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัล

 

ผู้ประกอบธุรกิจฯ ต้องไม่ดำเนินการ เช่น

-เชิญชวน หรือแสดงตนว่าพร้อมให้บริการแก่ร้านค้า เพื่อให้ร้านค้ารับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลได้

-ทำระบบ หรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ร้านค้า ลูกค้า ในการชำระด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล

-เปิดกระเป๋าเก็บสินทรัพย์ดิจิทัล (wallet) แก่ร้านค้า เพื่อรับชำระค่าสินค้าและบริการ

 

 

แบงก์ชาติ-กลต. ร่วมแนวทาง นำสินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้า-บริการ

 

 

หรือหากผู้ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล...

  • ขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้เป็นเงินบาท

ผู้ประกอบธุรกิจฯ ต้องโอนเงินบาทเข้าบัญชีของผู้ขาย ที่เป็นคนทำรายการเท่านั้น

 

  • โอนสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อ MoP

ผู้ประกอบธุรกิจฯ ต้องไม่โอนสินทรัพย์ดิจิทัลไป บัญชีผู้ซื้อขายรายอื่น หรือบุคคลอื่นเพื่อ Mop

 

  • โอนเงินบาทเพื่อ MoP

ผู้ประกอบธุรกิจฯ ต้องไม่โอนเงินบาทไปยังบัญชีผู้ซื้อขายรายอื่น หรือบุคคลอื่นเพื่อ MoP

 

  • รวมถึงต้องไม่ดำเนินการลักษณะอื่นใดนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นที่เป็นการสนับสนุน หรือส่งเสริมให้เกิดการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาเป็น MoP

 

  • ในกรณีที่พบว่า ผู้ซื้อขายฯ นำบัญชีไปใช้เกี่ยวกับการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ ผู้ประกอบธุรกิจฯ ต้องแจ้งเตือน และพิจารณาระงับบัญชี หรือยกเลิกการให้บริการ

 

ประกาศมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศกำหนด ทั้งนี้ สำหรับสัญญา หรือข้อตกลงที่ผู้ประกอบธุรกิจฯทำไว้ก่อนที่ประกาศมีผลใช้บังคับ ผู้ประกอบธุรกิจฯ ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามเกณฑ์ภายใน 15 วัน นับจากประกาศมีผลใช้บังคับ

 

 

แบงก์ชาติ-กลต. ร่วมแนวทาง นำสินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้า-บริการ

 

 

 

ทั้งนี้จากการแถลงข่าวร่วมของ แบงก์ชาติ และ กลต. หลักเกณฑ์กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการจำกัดการให้บริการในการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ สะท้อนว่า หน่วยงานภาครัฐไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลหรือไม่

 

“ประเด็นที่หน่วยงานกำกับดูแลฯ กังวล คือ ความเสี่ยงจากการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ชำระค่าสินค้าและบริการอย่างแพร่หลายที่กล่าวถึงข้างต้น ขณะที่ระบบชำระเงินปัจจุบันของไทยมีประสิทธิภาพสูงอยู่แล้ว ทำให้การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในการชำระค่าสินค้าและบริการไม่ได้เพิ่มประโยชน์มากนักให้กับประชาชนและภาคธุรกิจ

 

อย่างไรก็ดี ธปท. และ ก.ล.ต. รวมถึงหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เล็งเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยีต่าง ๆ เบื้องหลังสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น blockchain และให้ความสำคัญและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีเพื่อต่อยอดนวัตกรรม และไม่ได้ปิดกั้นการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในการลงทุน สะท้อนจากการที่ไทยเป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีกฎหมายรองรับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

 

โดย ก.ล.ต. เพื่อกำกับดูแลการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้เหมาะสม และคุ้มครองประโยชน์ของผู้ใช้บริการมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ ธปท. เป็นธนาคารกลางแห่งแรก ๆ ที่เริ่มพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานเพื่อใช้ต่อยอดนวัตกรรมทางการเงิน และส่งเสริมการพัฒนาบริการทางการเงินใหม่ ๆ เช่น การจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านเทคโนโลยี blockchain หรือการออกหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ blockchain เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเงินด้วย”

 

ภายใต้แนวนโยบายที่กล่าวถึง ปัจจุบันหน่วยงานกำกับดูแล ได้มีการออกหลักเกณฑ์  โดย ก.ล.ต. อยู่ระหว่างรับฟังความเห็นต่อการกำหนดหลักเกณฑ์ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการ ที่เกี่ยวข้องกับการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ นอกเหนือจากวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถติดตามรายละเอียดได้ คลิกที่นี่ 

 

 

แบงก์ชาติ-กลต. ร่วมแนวทาง นำสินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้า-บริการ

 

นโยบายของแบงก์ชาติไม่สนับสนุน "สินทรัพย์ดิจิทัล" ใช่หรือไม่ ?

 

แบงก์ชาติไม่สนับสนุนการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้จับจ่ายใช้สอยซื้อของหรือที่เรียกว่า ใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ เพราะการที่ประเทศใช้เงินหลายสกุลจะส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ

 

แบงก์ชาติไม่ได้ปิดกั้นการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล และยังสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่จะช่วยพัฒนาระบบการเงิน ทำให้ผู้ใช้บริการทางการเงินได้รับบริการที่สะดวก มีคุณภาพ ในต้นทุนที่ต่ำลง ซึ่งเทคโนโลยีเบื้องหลังสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น blockchain จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดนวัตกรรมเหล่านี้

 

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ธปท. คำนึงถึงทั้งความเสี่ยงและประโยชน์ของสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงเทคโนโลยีเบื้องหลัง และมองว่า ณ ขณะนี้การนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการอย่างแพร่หลายจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศ จึงควรมีการกำกับดูแลที่ชัดเจน ขณะที่เทคโนโลยีและสินทรัพย์ดิจิทัลบางประเภทที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงดังกล่าวก็ควรได้รับการสนับสนุนโดยมีกลไกดูแลที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดนวัตกรรมและประโยชน์ต่อประชาชน

 

แบงก์ชาติ-กลต. ร่วมแนวทาง นำสินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้า-บริการ

 

นโยบายของต่างประเทศ ต่อการใช้  “สินทรัพย์ดิจิทัล

สำหรับแนวทางของต่างประเทศ ต่อการใช้  “สินทรัพย์ดิจิทัล” เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการ ในปัจจุบันยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก

 

โดยยกตัวอย่าง ประเทศที่ยอมรับและอนุญาต ให้มีการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในการชำระค่าสินค้าและบริการ  เช่น

  • เอลซาวาดอร์ (El Salvador) ยอมรับ BItcoin เป็นสื่อกลางที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย(SEP 2021)

 

ประเทศที่อยู่ระหว่างการพิจารณา แต่ไม่ห้ามเรื่องการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่สุด และไทยเองก็อยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน เช่น

  • สหรัฐอเมริกา (USA) เสนอกฎหมายเพื่อจำกัดการออก  stablecoin ให้มาจากสถาบันรับฝากเงินเท่านั้น / Key entities อื่น เช่น wallet provider ที่ช่วยให้เกิดการใช้ stablecoin เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าหรือบริการ ต้องอยู่กายใต้การกำกับดูแสของภาครัฐ

 

  • สหภาพยุโรป (EU) เสนอ Markets In Cryptoassets regulation (MICA) เพื่อกำกับ ดูแลคริปไทฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  stablecoin รวมถึงการประกอบธุรกิจของผู้ให้บริการเพื่อออกใช้ในปี 2024 (2020)

 

  • อังกฤษ (UK) อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ในเรื่องคริปโทฯ และ stablecoin

 

  • สิงคโปร์ (Singapore) กำกับเหรียญที่เข้าข่าย ด้วยกฎหมายด้านระบบการชำระเงิน โดยห้ามโฆษณาเทรดคริปโทฯ ในพื้นที่สาธารณะ และห้ามจ้างอินฟลูเอนเซอร์เพื่อโฆษณา

 

  • มาเลเซีย (Malaysia) มองว่าคริปโทเคอเรนซี ไม่มีคุณสมบัติที่จะนำมาใช้เป็นสื่อกลางการชำระค่าสินค้าและบริการ

 

  • ฮ่องกง (Hong Kong) อยู่ระหว่างพิจารณานโยบาย และติดตามท่าทีของต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ โดยเสนอจะกำกับ stablecoin ที่ใช้เพื่อการชำระเงิน

 

  • อินเดีย (India) อยู่ระหว่างเสนอกฎหมายเพื่อห้ามการใช้คริปโทฯ ในการชำระค่าสินค้าและบริการ

 

  • ไทย (Thailand) ไม่สนับสนุนให้นำมาใช้เป็นสื่อกลางการชำระค่าสินค้าและบริการ เพราะมีความเสี่ยงในภาพรวม

 

ประเทศที่ไม่ยอมรับและไม่อนุญาต ให้มีการใช้สินทรัพย์ดิจิทัลในการชำระค่าสินค้าและบริการ เช่น

  • จีน (China) คริปโทฯ และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโทฯ ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

 

  • อินโดนีเซีย (Indonesia) ห้ามใช้คริปโทเคอร์เรนซีในการชำระเงิน และสภาศาสนาอิสลาม ห้ามใช้คริปโทเคอร์เรนซีเป็นสกุลเงิน

 

 

 

แบงก์ชาติ-กลต. ร่วมแนวทาง นำสินทรัพย์ดิจิทัลชำระสินค้า-บริการ

 

logoline