svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"พิสิฐ" เตือน "เงินเฟ้อ" กำลังกลายเป็น "พายุใหญ่"

21 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เตือน "Perfect Storm - พายุลูกใหญ่" ที่ทุกปัจจัยเสริมให้ "เงินเฟ้อ" ที่สงบมาในถึง 30-40 ปี กลับมาเป็นกระแสทั่วโลก

20 ม.ค. 2565 ดร.พิสิฐ ลี้อาธรรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายสนับสนุนการเสนอญัตติด่วนเรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาปัญหาการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์อัฟริกา(ASF)ในสุกร  เพื่อช่วยเหลือประชาชนจากปัญหาราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น  ดร.พิสิฐบอกว่า เรื่องของแพง หรือ เงินเฟ้อในเวลานี้ เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก  และเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 30 - 40 ปี  

 

"เงินเฟ้อเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมา ผู้ว่าการแบงก์ชาติของสหรัฐ  ได้ยอมรับในการประชุมกับสภาสหรัฐในเดือนนี้ ว่า ที่เคยคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อ  จะเป็นเพียงชั่วคราวนั้น  เป็นการคาดการณ์ผิด ยอมรับว่า  เงินเฟ้อเป็นปัญหาใหญ่ของธนาคารกลางในปีนี้สหรัฐ  จะมีการขึ้นดอกเบี้ยลดขนาดงบดุลเพื่อสู้กับเรื่องเงินเฟ้อ และแบงก์ชาติอังกฤษ  ก็มีการขึ้นดอกเบี้ยไปแล้วเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ่ ทั้งที่ก่อนหน้าเคยมีความคิดเห็นว่า  เงินเฟ้อเป็นเรื่องชั่วคราว  แต่เวลานี้  เป็นสถานการณ์ “Perfect Storm” คือ พายุลูกใหญ่ เพราะทุกปัจจัยทุกกระแสล้วนเสริมให้เกิดเงินเฟ้อ ทั้งด้านดีมานด์และซัพพลาย ด้านดีมานด์ คือ อุปสงค์และด้านซัพพลาย ก็คือ การผลิต"

 

เตือน “Perfect Storm” ทุกปัจจัยทุกกระแส ซ้ำเติม "เงินเฟ้อ"

 

ดร.พิสิฐ ได้กล่าวต่อว่า  รัฐบาลจะต้องดูแลอย่าปล่อยให้คนกักตุนฉวยโอกาสขึ้นราคา โดยกระทรวงการคลัง  ต้องมีการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจากราคาสินค้า  ดังนั้นในเวลานี้" ของแพง"หรือ"เงินเฟ้อ"   จึงเป็นปรากฏการณ์การเงินที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย   ต้องเข้ามาดูแลรับผิดชอบโดยตรง  ซึ่งเป็นกระแสโลกที่เริ่มเกิดขึ้นมาใหม่จากที่สงบมาในช่วง 30 ถึง 40 ปีมานี้

ในด้านของอุปสงค์ นอกจากความต้องการหลายอย่างที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ จากผลของโควิดในภาครัฐเองก็มีการเพิ่มรายจ่ายแต่รายได้ของเรากลับไม่ได้ตามเป้า เกิดการขาดดุล ก็เป็นอีกกระแสหนึ่งที่ก่อให้เกิดแรงกระตุ้นให้ปัญหาเงินเฟ้อเกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดดุลของรัฐบาลทุกประเทศในโลกก็ว่าได้ 

"สิ่งที่รัฐบาลต้องทำตอนนี้  จากกระแสเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น  แบงก์ชาติของแต่ละประเทศต้องดำเนินนโยบายเกี่ยวกับเงินเฟ้อ  นี่คือเหตุผลว่า  ทำไมผมจึงเสนอกฎหมายตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว ให้แบงก์ชาติมาชี้แจ้งกับรัฐสภา  วันนี้ในสภาฯ เราได้เห็นธนาคารอย่างน้อย 2 ธนาคาร คือ ธนาคารเอสเอ็มอี และ ธนาคารเอ็กซิมแบงก์ ที่ต้องมาชี้แจงรัฐสภาทุกปี แต่เรากลับไม่ได้เชิญแบงก์ชาติมาชี้แจง ก็อยากจะให้มีการแก้ไขในเรื่องนี้...” ดร. พิสิฐ กล่าว

logoline