svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศบค. เผย ฉีดวัคซีนทะลุ 100 ล้านโดสแล้ว ระบุ โอมิครอน แพร่เชื้อ 1 ต่อ 8.45 ราย

20 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศบค. เผย ฉีดวัคซีนทะลุ 100 ล้านโดสแล้ว เข็มที่หนึ่ง 70.21% เข็มที่สอง 61.63% ที่เหลือเป็นเข็มที่ 3-4 ระบุ พบผู้ติดเชื้อ โอมิครอน รายแรกในไทยแล้ว แจง คลัสเตอร์กลุ่มผู้แสวงบุญ กระจายในหลายจว. ชี้ เดลตา 1 ราย แพร่เชื้อได้อีก 6.5 ราย ส่วนสายพันธุ์โอมิครอน  1 ราย แพร่เชื้อ 8.45 ราย

20 ธันวาคม 2564 แพทย์หญิงสุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ประจำวันที่ 20 ธันวาคม ว่า ขอขอบคุณประชาชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้วันนี้ (20 ธ.ค.) มีการฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดสข็มที่หนึ่งครอบคลุมประชากร 70.21% เข็มที่สองครอบคลุมประชากร 61.63% เข็มที่สามครอบคลุมประชากร 6.97% เข็มที่สี่ครอบคลุมประชากร 0.09% 

ศบค. เผย ฉีดวัคซีนทะลุ 100 ล้านโดสแล้ว ระบุ โอมิครอน แพร่เชื้อ 1 ต่อ 8.45 ราย

สำหรับผู้ที่เดินทางเข้าราชอาณาจักรไทยวันนี้ (20 ธ.ค.) ทั้ง 3 ประเภท เปรียบเทียบช่วง 2 เดือน โดยเดือนธันวาคม 1-19 ธันวาคม มีผู้เดินทางเข้าประเทศ 160,445 ราย น้อยกว่าในช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งมีจำนวน 133,061 ราย โดยผู้ติดเชื้อจำแนกตามประเภท พบว่า ภาพรวมมีแนวโน้มสูงขึ้น ในเดือนพฤศจิกายนมีผู้ติดเชื้อ 0.13% ขณะที่ในช่วงนี้เดือนธันวาคมอยู่ที่ 0.22% โดยเป็น Test&Go จาก 0.08% ของเดือนพฤศจิกายน ในเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นเป็น 0.15% ประเภทแซนด์บ็อกซ์ เดือนพฤศจิกายน 0.21% เดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นเป็น 0.27%

ศบค. เผย ฉีดวัคซีนทะลุ 100 ล้านโดสแล้ว ระบุ โอมิครอน แพร่เชื้อ 1 ต่อ 8.45 ราย

ประเภทกักตัว เดือนพฤศจิกายน 0.18% และเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นเป็น 2.49% ทั้งนี้ Test&Go มีการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยในวันที่มีการติดเชื้อมีจำนวนสูงสุดของผู้ที่เข้ามาในประเทศคือวันที่ 18 ธันวาคม จำนวน 37 ราย ขณะที่ผู้ติดเชื้อประเภทกักตัว โดยวันที่มีรายงานติดเชื้อสูงสุด 11 ราย วันที่ 11,19 ธันวาคม ส่วนการติดเชื้อสูงสุดในระบบแซนด์บ็อกซ์ มีรายงานติดเชื้อสูงสุด 7 ราย ในวันที่ 18 ธันวาคม

ศบค. เผย ฉีดวัคซีนทะลุ 100 ล้านโดสแล้ว ระบุ โอมิครอน แพร่เชื้อ 1 ต่อ 8.45 ราย

สำหรับการรับนักท่องเที่ยวเข้ามาในวันนี้จากทุกช่องทางจำนวน 13,664 ราย มีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 42 ราย Test&Go จำนวน 24 ราย คิดเป็น 0.15% รองลงมาคือกักตัว 11 ราย คิดเป็น 2.49% และระบบแซนด์บ็อกซ์ 7 ราย คิดเป็น 0.27% ซึ่งเป็นจำนวนมากรองลงมาจากเมื่อวาน (19 ธ.ค.)  จำนวน 49 ราย โดยนักท่องเที่ยวมีอาการติดเชื้อมากที่สุด คือ จากสหราชอาณาจักร คิดเป็น 0.54% สหรัฐอเมริกา คิดเป็น 0.51% รัสเซีย 0.14%

ศบค. เผย ฉีดวัคซีนทะลุ 100 ล้านโดสแล้ว ระบุ โอมิครอน แพร่เชื้อ 1 ต่อ 8.45 ราย

ผู้เดินทางจากต่างประเทศ 42 รายที่ติดเชื้อ มาจากบรูไน 1 ราย ระบบกักตัว สหราชอาณาจักร 9 ราย เข้าทั้งระบบ Test&Go และระบบกักตัว สหรัฐอเมริกา 6 ราย จาก Test&Go และการกักตัว  ยูเครน 1 ราย เข้านะบบแซนด์บ็อกซ์ ออสเตรีย 2 ราย Test&Go เนเธอร์แลนด์ 1 ราย Test&Go  รัสเซีย 4 ราย ระบบแซนด์บ็อกซ์ กัมพูชา 2 ราย  Test&Go ฟินแลนด์ 1 ราย ระบบการกักตัว แอลเบเนีย 2 ราย แซนด์บ็อกซ์ เยอรมนี 2 ราย Test&Go สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4 ราย  Test&Go และกักตัว ฝรั่งเศส 1 ราย  Test&Go สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย เอธิโอเปีย 1 ราย เดนมาร์ก 1 ราย นอร์เวย์ 3 ราย เข้าระบบ  Test&Go ทั้งนี้หากดูในจำนวน 42 ราย ที่มีการติดเชื้อส่วนใหญ่ทั้งหมดไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ซึ่งระบบการคัดกรองจากการตรวจด้วย RT-PCR มีความจำเป็นมาก รวมถึงการกักตัวเพื่อสังเกตอาการก็มีความสำคัญ

 

ขณะนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อ โอมิครอน ในประเทศไทย คลัสเตอร์จากสสจ. นนทบุรี ซึ่งมีความเชื่อมโยงในหลายจังหวัดไม่ว่าจะเป็นปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา รวมถึงกรุงเทพมหานคร โดยเป็นกลุ่มคณะที่เดินทางไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวม 31 คน ที่ซาอุดิอาระเบีย เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2564 และเดินทางกลับมาไทยวันที่ 15 ธันวาคม 2564 เข้าพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งเพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR และพบเชื้อทั้งหมด 14 ราย เมื่อถอดรหัสพันธุกรรมพบว่ามีเชื้อโอมิครอน 6 ราย เดลตา 8 ราย

หลังจากเข้ามาได้มีการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง รวมถึงตรวจเพิ่มเติมพบติดเชื้ออีก 2 รายในวันที่ 19 ธันวาคม และวันที่ 20 ธันวาคม ตรวจพบเพิ่มเติมอีก 2 ราย คลัสเตอร์ในกลุ่มนี้มี 18 ราย และยังรอผลการตรวจยืนยันสายพันธุ์อีก 4 ราย ขณะที่รายงานผู้ติดเชื้อคู่สามีภรรยา โดยเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย เข้ามาในประเทศไทยวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นวันก่อนประกาศมาตรการ 8 ประเทศกลุ่มเสี่ยงจากทวีปแอฟริกา ซึ่งคู่สามีภรรยาได้เข้าสู่ระบบแซนด์บ็อกซ์ โดยวันที่ 4-7 ธันวาคม สามีชาวต่างชาติ มีโรคประจำตัวเบาหวานเริ่มมีอาการไข้เจ็บคออ่อนเพลีย จึงมีการตรวจ ATK ผลตรวจเป็นลบ แต่ในวันที่ 7 ธันวาคมยังคงมีอาการอยู่ ภรรยาจึงพาไปโรงพยาบาลและได้ทำการตรวจแบบ RT-PCR ซึ่งผลการตรวจเป็นบวกและได้เข้าทำการรักษาในโรงพยาบาล

 

ต่อมาวันที่ 10 ธันวาคม ภรรยาได้มีการตรวจ RT-PCR และมีผลเป็นบวก ซึ่งในวันเดียวกันนี้ผลตรวจของสามียืนยันว่า เป็นสายพันธุ์โอมิครอน อย่างไรก็ตามทั้งสองรายได้มีการเข้ารับการรักษา รวมถึงสอบสวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอีก 1 ราย ซึ่งผลตรวจ RT-PCR เป็นลบ ขณะนี้อยู่ระหว่างการกักตัวสังเกตอาการ โดยมีผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำอีก 83 ราย ซึ่งทั้งหมดไม่มีอาการใดๆ และอยู่ระหว่างการกักตัว ดังนั้นถือว่าผู้หญิงที่เป็นภรรยาของสามีชาวต่างชาติ ถือเป็นรายแรกที่ติดเชื้อโอมิครอน ในประเทศไทย

 

ส่วนคลัสเตอร์นราธิวาส 3 ราย ที่มีผลตรวจ RT-PCR เป็นบวก โดยทั้ง 3 ราย กลับมาจากประเทศตะวันออกกลาง ซึ่งเดินทางไปทำกิจกรรมทางศาสนา เข้าประเทศมาทางสนามบินภูเก็ต ในประเภทนักท่องเที่ยวแบบแซนด์บ็อกซ์ โดยมีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 4 ราย ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ 126 ราย ทั้งหมดอยู่ระหว่างการกักตัวตรวจติดตามอาการ ถึงวันที่ 27 ธันวาคม 2564 และทั้งหมดนี้ได้รับการตรวจโควิด-19 แบบ RT-PCR ไปแล้ว ซึ่งมีผลเป็นลบ อย่างไรก็ตาม 1 ใน 3 รายนี้ มีการตรวจแบบถอดรหัสพันธุกรรมพบว่า เป็นสายพันธุ์โอมิครอน โดยเป็นเพศชายอายุ 36 ปี อีก 2 ราย อายุ 48,40 ปี เป็นสายพันธุ์เดลตา ทั้ง 3 รายเป็นคนไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการรักษาตัว

 

กลุ่มที่มีรายงานจากสำนักงานควบคุมโรคเขต 11 ที่เดินทางมายังสนามบินภูเก็ตและสนามบินสมุยรวม 7 ราย เป็นนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและคนไทย เข้ามาสนามบินภูเก็ตวันที่ 13 ธันวาคม 4 ราย สนามบินสมุยวันที่ 15-16 ธันวาคม 3 ราย โดยทั้ง 7 รายพบผลตรวจเป็นบวก จากการตรวจแบบ RT-PCR ตั้งแต่วันแรกที่มาถึง เมื่อผลเป็นบวกได้มีการแยกรักษาตัว พร้อมทั้งมีการส่งตรวจเพิ่มเติม เพื่อหาสายพันธุ์โดยการถอดรหัสพันธุกรรม โดยพบว่า 7 ราย เป็นสายพันธุ์โอมิครอน ขณะนี้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต 11 ได้มีการติดตามสอบสวนผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำซึ่งจะได้มีการรายงานให้ทราบต่อไป

 

สำหรับการเฝ้าระวังในประเทศไทยซึ่งมีรายงานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีการชี้แจงถึง สายพันธุ์เฝ้าระวังในประเทศไทยขณะนี้มากที่สุด คือ เดลตา 68.67% อัลฟา 29.79% เบตา 1.41% และโอมิครอน 0.13%

 

โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมาวันที่ 11- 19 ธันวาคม 2564 มีการสุ่มตรวจในภาพรวมประเทศ จำนวน 1,595 ตัวอย่างพบว่าสายพันธุ์เดลตา 96.61% ขณะที่สายพันธุ์โอมิครอน 3.26% แต่หากแยกในภาพของกรุงเทพมหานคร จากการสุ่มตรวจจำนวน 180 ตัวอย่างพบว่า 81.1% เป็นสายพันธุ์เดลตาและ 18.3% เป็นสายพันธุ์โอมิครอน ขณะที่ภูมิภาค สุ่มตรวจ 1,415 ตัวอย่างพบว่า 98.6% เป็นสายพันธุ์เดลตาและ 1.3% เป็นสายพันธุ์โอมิครอน

 

การคาดการณ์ระบาดในกรณีที่คนในประเทศไม่มีภูมิคุ้มกันหากติดสายพันธุ์เดลตา 1 ราย สามารถแพร่เชื้อได้อีก 6.5 ราย หากเทียบกับสายพันธุ์โอมิครอน  1 ราย สามารถแพร่เชื้อ 8.45 ราย แต่จากข้อมูลในประเทศแอฟริกา พบว่าคนที่ติดเชื้อโอมิครอน อัตราการป่วยหนัก นอนโรงพยาบาล ยังไม่มากกว่าคนที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกได้มีการแนะนำเรื่องวัคซีนกระตุ้น จะสามารถทำให้ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโอมิครอนได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หรือกลุ่ม mRNA

 

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโอมิครอนในประเทศขณะนี้ คล้ายกับสถานการณ์โลก คือ ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวมีจำนวนเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลก ที่สายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทุกรายที่ติดเชื้อในประเทศไทยมีการเชื่อมโยงการเดินทางที่มาจากต่างประเทศ 1 ใน 4 ส่วน ของผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ไม่ใช่เฉพาะจากทวีปแอฟริกาเท่านั้น แต่เป็นนักท่องเที่ยวที่มาจากหลายประเทศทั่วโลก

 

ดังนั้นการยกระดับในการจัดมาตรการของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทย จะต้องมีการปรับอย่างแน่นอน ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาจากศบค.ชุดเล็ก และนำเสนอ ผอ.ศบค. เพื่อพิจารณาว่า จะมีมาตรการยกระดับหรือไม่อย่างไร เพราะมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งมีการเรียกประชุมหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้อง  ที่สำคัญผู้ติดเชื้อโอมิครอน มีเคสตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย เมื่อมาถึงได้ตรวจซ้ำในวันแรกผลยังเป็นลบ แล้วออกไปจากระบบถึงมีอาการวันที่ 3-4 และเมื่อตรวจก็พบว่าผลเป็นบวก ดังนั้นสายพันธุ์โอมิครอน จะมีระยะฟักตัวอยู่ช่วงหนึ่งที่ไม่สามารถตรวจจับได้ ดังนั้นการเข้าประเทศแบบ Test&Go ต้องมีวิธีการจัดการให้มีการตรวจจับได้มากขึ้น เช่น อาจจะต้องมีการปรับระบบการเข้าประเทศแบบ Test&Go ไปเป็นระบบที่มีการติดตามการตรวจ RT-PCR หรือมีการกักตัวในระยะเวลาที่ถึงไทยเพิ่มขึ้น ส่วนจะเป็นระยะเวลาเท่าใดขอให้ติดตามมาตรการต่อไป

 

ทั้งนี้การตรวจสายพันธุ์โอมิครอน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกศูนย์ในประเทศไทย สามารถตรวจจับและสามารถตรวจทุกสายพันธุ์ ที่เข้ามาในประเทศไทยได้

logoline