svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ACT ตอบคำถาม รมว.ยุติธรรม ย้ำ คอร์รัปชันร้ายแรงกว่าคดีอื่น

15 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ตอบคำถาม รมว. ยุติธรรม ย้ำ คดีคอร์รัปชันร้ายแรง สร้างความเสียหายมากกว่าคดีอาญาอื่น หลายเท่า จึงไม่ควรเอื้ออาทรลดโทษ

เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 64 องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT โพสต์เฟซบุ๊กองค์กร หัวข้อ องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ตอบคำถาม รมว.ยุติธรรม โดยมีเนื้อหา ดังนี้

คดีคอร์รัปชันเป็นคดีร้ายแรงของสังคมไทย เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นมีมูลค่าสูงมากกว่าคดียักยอก ฉ้อโกง ลักทรัพย์ วิ่งราว ปล้นจี้ชิงทรัพย์ของทั้งประเทศรวมกันหลายเท่า และผู้กระทำความผิดก็เห็นแก่ได้โดยไม่สนใจความเดือดร้อนใดๆ ที่พวกตนได้ก่อขึ้น

ACT ตอบคำถาม รมว.ยุติธรรม ย้ำ คอร์รัปชันร้ายแรงกว่าคดีอื่น

คอร์รัปชันเป็นพฤติกรรมเลียนแบบที่ทำกันโดยไม่เกรงกลัวอาญาแผ่นดิน คนโกงอีกจำนวนมากยังไม่ถูกจับกุมดำเนินคดี ดังนั้นเมื่อเราแก้กฎหมายให้คดีคอร์รัปชันมีโทษหนักขึ้น อายุความไม่หมดลงง่ายๆ การลงโทษคนโกงชาติจึงไม่ควรเอื้ออาทรลดโทษกระหน่ำเหมือนคดีอาญาอื่น อธิบายเพิ่มเติมอีกได้ว่าคดีคอร์รัปชันเป็นคดีร้ายแรง กล่าวคือ

  1. เป็นการกระทำผิดต่อแผ่นดิน ปล้นทรัพย์สมบัติของชาติ บ่อนทำลายระบบราชการ ทำให้ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อภาครัฐตกต่ำลง นี่คือเหตุผลที่ต่างจากความผิดอาญาที่กระทำต่อตัวบุคคล คดีลักขโมยหรือคดีชุมนุมทางการเมือง
  2. คอร์รัปชันบางลักษณะได้บ่อนทำลายทั้งอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหารประเทศ จึงถูกบัญญัติความผิดไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น การจัดทำงบประมาณแผ่นดินที่เอื้อประโยชน์ต่อตนและพวกพ้อง ตัวอย่างคือกรณีสนามฟุตซอล
  3. คอร์รัปชันที่กระทำโดยเครือข่ายนักการเมือง ข้าราชการในกระบวนการยุติธรรม ข้าราชการระดับสูง ที่ผ่านประสบการณ์มามาก มีอำนาจบารมี ย่อมสร้างความเสียหายรุนแรงต่อเนื่องเป็นวงกว้าง
  4. “จำนวนปี” ที่ศาลพิพากษาให้จำคุก ย่อมสะท้อนพฤติกรรมและความเสียหายที่คนโกงได้ก่อกรรมไว้ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมต่างจากพวกโกงเล็กโกงน้อย

ACT ตอบคำถาม รมว.ยุติธรรม ย้ำ คอร์รัปชันร้ายแรงกว่าคดีอื่น

สิ่งที่สังคมยังต้องการเห็นเพื่อความมั่นใจคือ ท่านนายกรัฐมนตรีและท่าน รมว.ยุติธรรม มีจุดยืนในเรื่องนี้อย่างไร รัฐสภาจะมีแนวทางแก้ไข พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ฯ หรือไม่ และจะมีหน่วยงานไหนตรวจสอบคอร์รัปชันในกรมราชทัณฑ์เพื่อพิสูจน์ข้อกังขาของสังคมได้หรือไม่

logoline