svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

นพ.ทวีศิลป์เปิดระบบส่งต่อผู้ป่วยไร้รอยต่อนำร่อง

27 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 10 ตรวจการจัดทำระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อผู้สูงอายุ STROKE STEMI นำร่องแห่งแรกที่ รพ.โพธิ์ศรสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ

 27 ตุลาคม 2564 ที่ โรงพยาบาลโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ นายสุวรรณ เนตรเนติกุล นายอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ, ดร.นพ.สุรเดช ชวะเดช ผอ.รพ.โพธิ์ศรีสุวรรณ พร้อมสาธารณสุขอำเภอ, ทีมงานบุคลลากรทางการแพทย์ หน.รพ.สต.อีเซ, กำนัน, ปลัด อบต.อีเซ และคณะ อสม.อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ ได้ร่วมกันให้การต้อนรับ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่10 ที่ได้เดินทางมาตรวจสอบ ร่วมประชุม ซักซ้อมในการเปิดระบบสุขภาพชุมชน เชื่อมโยง ระบบบริการสุขภาพ ผ่านสถานการณ์การจำลองของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (STEMI) ระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อผู้สูงอายุSTROKE STEMIนำร่องแห่งแรกที่ รพ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ

 

นพ.ทวีศิลป์เปิดระบบส่งต่อผู้ป่วยไร้รอยต่อนำร่อง

 โดยผลการสำรวจประชากรกลุ่มผู้สูงอายุในอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ มีจำนวน 3,720 คน แยกเป็นชาย จำนวน 1,629 คน หญิง 2,091 คน มีความเป็นไปได้ในการที่จะเกิดอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือก แขนขาอ่อนแรง โดยได้ทำการซ้อมแผนที่จะมีการส่งต่อผู้ป่วย นับตั้งแต่ทราบว่าผู้สูงอายุอ่อนแรง ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ โทรแจ้ง 1669 ส่งต่อผู้ป่วยจากบ้านมายัง รพ.สต. จาก รพ.สต.มายัง รพ.ศูนย์ระดับอำเภอ ในระดับนี้จะต้องใช้ระยะเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง และส่งต่อไปยัง รพ.ศรีสะเกษ รวมไม่เกิน 4 ชั่วโมง เพราะหากเกิดนี้ผู้ป่วยจะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งผลการซ้อมแผนเป็นไปตามแผน ใช้ระยะเวลาไม่เกินที่กำหนด เตรียมขยายผลไปทุกโรงพยาบาล

 

นพ.ทวีศิลป์เปิดระบบส่งต่อผู้ป่วยไร้รอยต่อนำร่อง

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่10 เปิดเผยว่า วันนี้มาดูระบบสุขภาพชุมชน ส่งต่อเชื่อมโยง กับ ระบบบริการสุขภาพ ผ่านสถานการณ์การจำลองของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรค กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (STEMI) โรคหลอดเลือดสมอง และผู้ป่วยที่มีสภาพกระดูกสะโพกหัก ระบบบริการสุขภาพแบบไร้รอยต่อผู้สูงอายุSTROKE STEMIนำร่องแห่งแรกในเขต 10 ที่ รพ.โพธิ์ศรสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ โรคทั้ง 3 โรคที่ว่าไปนั้น เราเจอบ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุเปลี่ยนสถานจากการเป็นผู้ติดสังคม มาเป็นผู้ติดเตียง โดยเรามีประชากรสัก 96%ของกลุ่มผู้สูงอายุที่ติดสังคม ซึ่งเราก็อยากจะให้เป็นอย่างนั้น และเรามีผู้สูงอายุอีก 4%ที่ติดบ้าน ติดเตียง ซึ่งเป้าหมายของเราคือมาลดความเสี่ยงที่จะเพิ่มยอดของกลุ่มนี้ให้ได้ ดังนั้นรอยต่อต่างๆ ตั้งแต่อยู่ที่บ้าน มาโรงพยาบาลตำบล มาโรงพยาบาลอำเภอ ต่อไว นับตั้งแต่คนที่บ้านต้องรู้ว่า ผู้สูงอายุเป็นโรคอะไร นับตั้งแต่ผู้ดูแลที่บ้าน อสม.ต้องรักษาได้อย่างรวดเร็ว และส่งต่อได้อย่างรวดเร็วไปยัง รพ.ที่มีระดับการรักษาที่สูงขึ้นได้ทันการณ์ ในระยะเวลาที่จำกัด ตามเวลาทางด้านวิชาการที่จะช่วยได้ทันท่วงที การส่งต่อผู้ป่วยอย่างไรรอยต่อ ด้วยการลดเวลา เราจะช่วยผู้ป่วยได้ทัน ปีนี้ วันนี้ มาเรียนรู้ในอำเภอนำร่อง อย่างอำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ และหากทำได้มีสถิติ เขต 10 เราก้จะขอขยายให้ครบทุกอำเภอ ทุกจังหวัด ทุกหมู่บ้าน ตำบลต่อไป

 

นพ.ทวีศิลป์เปิดระบบส่งต่อผู้ป่วยไร้รอยต่อนำร่อง

โดย  - พงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์ 

 

logoline