svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศบค. ชี้ ให้ผู้ปกครอง-นักเรียน สังเกตอาการ หวั่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

06 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศบค. เผย ให้ผู้ปกครอง-นักเรียน เฝ้าสังเกตอาการหลังฉีด 1 สัปดาห์ หวั่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ระบุ ชายแดนใต้ ยังน่าเป็นห่วง เฉพาะจ.สงขลา ยอดพุ่งเป็น 2 เท่า แจง จุฬาราชมนตรี ให้ความเชื่อมั่น ว่า สามารถฉีดวัคซีนได้ และมีความจำเป็น

ศบค. ชี้ ให้ผู้ปกครอง-นักเรียน สังเกตอาการ หวั่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

6 ตุลาคม 2564 แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 หรือศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 ประจำวันที่ 6 กันยายน ว่า วันนี้ประเทศไทยอยู่ลำดับที่ 26 ของโลก อัตราป่วยต่อประชากร 1 ล้านราย สหรัฐอเมริกา 134,297 ราย สหราชอาณาจักร 116,601 ราย มาเลเซีย 69,766 ราย อินเดีย 24,244 ราย ไทย 23,809 ราย ฟิลิปปินส์ 23,453 ราย และอินโดนีเซีย 15,231 ราย ส่วนอัตราตายต่อประชากร1 ล้านราย สหรัฐอเมริกา 2,173 ราย สหราชอาณาจักร 2,007 ราย มาเลเซีย 817 ราย อินโดนีเซีย 514 ราย ฟิลิปปินส์ 348 ราย อินเดีย 322 รายและไทย 247 ราย ประเทศในเอเชียพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องได้แก่ อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน ญี่ปุ่น บังคลาเทศ และไทย

ศบค. ชี้ ให้ผู้ปกครอง-นักเรียน สังเกตอาการ หวั่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ผู้ป่วยใหม่วันนี้ 9,866 ราย ติดเชื้อในประเทศ 9,805 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 16 ราย จากเรือนจำที่ต้องขัง 45 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,638,234 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 1,667,097 ราย หายป่วย 10,115 ราย หายป่วยสะสม 1,514,344 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 102 ราย เสียชีวิตสะสม 17,211 ราย คิดเป็น 1.05% ผู้ป่วยรักษาอยู่ 108,022 ราย ในโรงพยาบาล 38,301 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 69,721 ราย อาการหนัก 3,017 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 720 ราย

ศบค. ชี้ ให้ผู้ปกครอง-นักเรียน สังเกตอาการ หวั่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ผู้รับวัคซีนฉีดแล้ว 56,656,247 โดส เข็มที่หนึ่งเพิ่มขึ้น 262,362 ราย สะสม 33,505,887 ราย คิดเป็น 46.5% ของประชากร เข็มที่สองเพิ่มขึ้น 433,665 ราย สะสม 21,595,916 ราย คิดเป็น 30.0% ของประชากร เข็มที่สามเพิ่มขึ้น 38,777 ราย สะสม 1,554,444 ราย คิดเป็น 2.2% ของประชากร

 

ตั้งแต่วันที่ 4ตุลาคมเด็กอายุ 12 ถึง 17 ปี เข้ารับบริการฉีดวัคซีนแล้ว ขอเน้นย้ำผู้ปกครองและเด็กให้สังเกตอาการหลังฉีดไปแล้วภายในหนึ่งสัปดาห์ ด้วย เพราะฉีดวัคซีนไฟเซอร์ มีรายงานกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอย่างต่อเนื่อง ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ โดยอาการจะเป็นลักษณะเจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืด เป็นลม

ศบค. ชี้ ให้ผู้ปกครอง-นักเรียน สังเกตอาการ หวั่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ทั้งนี้มีผู้ปกครองยินยอมและลงทะเบียนประมาณ 3.5 ล้านราย เหลืออีกกว่า 1 ล้าน ยังไม่ได้ลงทะเบียน มีบางท่าน บางครอบครัวขอหาข้อมูลก่อน ปรึกษาหมอเจ้าของไข้ หากพร้อม สามารถติดต่อขอรับวัคซีนได้ ทั้งนี้โอกาสในการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะในเด็กที่ฉีดวัคซีนในทางการแพทย์ จะเป็นโรคที่มีการอักเสบของอวัยวะต่างๆในร่างกายโดยเฉพาะหัวใจ แต่เมื่อเทียบแล้วเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 มีลักษณะการอักเสบของอวัยวะ คิดเป็นอัตรา 16 ต่อ 100,000 แต่ถ้าเด็กได้รับวัคซีนแล้วมีโอกาสเกิดหัวใจอักเสบน้อยกว่า การติดเชื้อถึงหกเท่า โดยเป็นข้อมูลจากทาง CDC สหรัฐฯโดยผู้เชี่ยวชาญสรุปว่าอัตราเสี่ยงที่จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการฉีดวัคซีนเทียบแล้ว น้อยกว่าอย่างมากกับการเกิดโรคจากการติดโควิด-19 จึงแนะนำให้ผู้ปกครองพาบุตรหลานไปรับวัคซีน โควิด-19 เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้เรานำไปสู่การเปิดโรงเรียนได้ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564

หากแยกผู้ติดเชื้อรายจังหวัดพบว่าผู้ติดเชื้อรวม 9,866 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ 16 ราย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2,218 ราย 4 จังหวัดภาคใต้ 1,922 ราย จังหวัดอื่น 67 จังหวัด 5,665 ราย ทั้งนี้พบว่า การติดเชื้อที่จังหวัดชายแดนใต้ อัตราอย่างสูงคิดเป็น 20% ของวันนี้ ขณะที่กรุงเทพและปริมณฑลคิดเป็น 23% ต่างจังหวัด 67 จังหวัดคิดเป็น 57%

ศบค. ชี้ ให้ผู้ปกครอง-นักเรียน สังเกตอาการ หวั่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับผู้ป่วยเสียชีวิต 102 ราย แบ่งเป็น กรุงเทพมหานครรวม 22 ราย สมุทรปราการ ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร รวม 14 ราย นครราชสีมา บุรีรัมย์ อุบลราชธานี รวม 6 ราย ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย รวม 11 ราย ยะลา กระบี่ นราธิวาส สตูล ชุมพร ระนอง รวม 12 ราย ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ระยอง ปราจีนบุรี อ่างทอง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี นครนายก ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และตราด รวม37 ราย

 

เป็นชาย 51 ราย หญิง 51 ราย ชาวไทย 97 ราย เมียนมา 3 ราย กัมพูชา 1 ราย เนเธอร์แลนด์ 1 ราย ค่ามัธยฐานของอายุ 70 ปี (38- 102 ปี) ค่ามัธยฐานทราบติดเชื้อเสียชีวิต 14 วัน นานสุด 48 วัน อายุ 60 ปีขึ้นไป 73 ราย คิดเป็น 72% อายุน้อยกว่า 60 ปี มีโรคเรื้อรัง 22 ราย คิดเป็น 22% ไม่มีประวัติโรคเรื้อรังเจ็ดรายคิดเป็น 6%

 

ทั้งนี้ผู้เสียชีวิตที่มีประวัติการสูบบุหรี่ วันนี้ สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ได้มีการออกแถลงการณ์เน้นย้ำ บุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ถือว่ามีอันตราย มีภาวะทำให้สภาพปอดผิดปกติ ประชาชนที่ติดเชื้อโควิด-19 สามารถเกิดอาการปอดอักเสบ ปอดบวม และระบบหายใจล้มเหลว อย่างรวดเร็วและทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

 

รายงานการเกิดคลัสเตอร์ใหม่มีอย่างต่อเนื่อง โดยกรมควบคุมโรครายงานว่า ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะเป็นกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ จึงต้องเน้นย้ำประชาชนที่ไปโรงพยาบาลที่ไปด้วยโรคไข้ ระบบทางเดินหายใจ ขอให้ทุกคนแจ้งประวัติกับแพทย์ พยาบาล ที่เข้ามาทำการคัดกรองด้วย คลัสเตอร์โรงงาน มีที่ จังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ตราด คลัสเตอร์ แรงงานเก็บผลไม้ที่เป็นคนไทยเดินทางกลับจากสวีเดน และคนต่างด้าวรับจ้างเก็บลำไยที่จังหวัดจันทบุรี คลัสเตอร์ อู่ซ่อมรถที่จังหวัดจันทบุรี และในส่วนของโรงไฟฟ้าเป็นคลัสเตอร์ที่จังหวัดชลบุรี ส่วนคลัสเตอร์แรงงานประมง เป็นแพปลาที่จังหวัดระยองและประจวบคีรีขันธ์ และยังมีวงงานเลี้ยงสังสรรค์ดื่มเหล้าในงานวันเกิดที่จังหวัดสระแก้ว คลัสเตอร์งานศพ ที่จังหวัดสุรินทร์ จันทบุรี ตราด อุดรธานี อุบลราชธานี รวมถึงปัตตานี

 

ส่วนพื้นที่สีแดงเข้ม 30 จังหวัด มีหลายจังหวัดตัวเลขผู้ติดเชื้อเริ่มลดลงต่ำกว่า 100 ราย ที่เห็นได้ชัดคือ จังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี ซึ่งจะมีผลให้ที่ประชุมศบค.ชุดเล็ก เตรียมข้อมูลนำเสนอศบค. ชุดใหญ่ เพื่อพิจารณาการผ่อนคลายในอีก 2 สัปดาห์นับจากนี้ และจังหวัดที่ยอดต่ำสุดวันนี้คือจังหวัดน่าน พะเยา ขณะที่จังหวัดนำร่องท่องเที่ยว ที่มีการติดเชื้อถือว่ายังเป็นตัวเลขที่สาธารณสุขยังรับไหวคือ ภูเก็ต กระบี่ พังงา สุราษฎร์ธานี และสมุย ที่วันนี้รายงานคลัสเตอร์โรงเรียน

 

สำหรับผู้ติดเชื้อ 10 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร 1,208 ราย สะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 6 ตุลาคม รวม 374,067 ราย สงขลา 666 ราย สะสมรวม 32,759 ราย สมุทรปราการ 602 ราย สะสมรวม 113,190 ราย ชลบุรี 601 ราย สะสมรวม 91,082 ราย นราธิวาส 501 ราย สะสมรวม 26,567 ราย ยะลา 446 ราย สะสมรวม 26,465 ราย ระยอง 379 ราย สะสมรวม 33,794 ราย ปราจีนบุรี 313 ราย สะสมรวม 1 17,680 ราย ปัตตานี 309 ราย สะสมรวม 23,792 ราย และนครศรีธรรมราช 259 ราย สะสมรวม 17,722 ราย

 

ส่วน 4 จังหวัดภาคใต้มีการเสนอที่ประชุมศปก.ศบค. ถึงรายงานสถานการณ์และแผนการจัดการควบคุมโรค และแผนการจัดการทรัพยากรเพื่อรักษาประชาชนที่ติดเชื้อ โควิด-19 ในพื้นที่  ในส่วนจังหวัดสงขลา นายแพทย์ สสจ. ระบุว่าก่อนหน้านี้สองสัปดาห์ตัวเลขยังอยู่ที่ 200 ราย แต่วันนี้ตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ที่จังหวัดสงขลา 666 คน  ถือว่าตัวเลขสูงขึ้นเป็น  2 เท่า ทั้งอ.หาดใหญ่ อ.จะนะ อ.เทพา อ.สะบ้าย้อย อ.รัฐภูมิ ส่วนหนึ่งเป็นการสัมผัสผู้ติดเชื้อจากวัฒนธรรมการจิบน้ำชา มีกิจกรรมทางศาสนาประเพณี เปิดหน้ากากร่วมรับประทานอาหารร่วมกัน 

ศบค. ชี้ ให้ผู้ปกครอง-นักเรียน สังเกตอาการ หวั่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

นับจากนี้จะมีการประชุมร่วมกันเน้นย้ำการหาผู้ป่วยคัดแยกออกจากชุมนุม  นอกจากนี้จะมีการระดมลงพื้นที่ดูแลผู้ติดเชื้อ ขอความร่วมมือประชาชนเฝ้าระวังมาตรการการติดเชื้อ การเดินทางไปพื้นที่เสี่ยงหรือประชาชนที่มีกิจกรรมเสี่ยงต้องตรวจสอบตัวเอง หากมีประวัติขอให้พบแพทย์โดยเร็ว เพื่อการดูแลให้ไม่ให้เกิดการระบาดเป็นคลัสเตอร์ นอกจากนี้ยีงมีนโยบายการฉีดวัคซีนในกลุ่ม 608 โดยมีการระดมทีมเดินเท้าฉีดวัคซีนในชุมนุม ซึ่งมีประชาชนสะท้อนให้ข้อมูลว่า การให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน จนเกิดความลังเลไม่กล้าฉีดวัคซีน ซึ่งจุฬาราชมนตรี ให้ความเชื่อมั่นประชาชนชาวใต้ ว่า สามารถฉีดวัคซีนได้ และมีความจำเป็น ขอให้ประชาชนโดยเฉพาะ 4 จังหวัดภาคใต้ เชื่อมั่นนอกจากองค์การอนามัยโลกสาธารณสุขจังหวัดของเรา มีมาตรการดูแลเรื่องวัคซีนที่ปลอดภัยแล้ว ในส่วนจุฬาราชมนตรี ตอกย้ำขอความร่วมมือสื่อมวลชนและหน่วยงานในพื้นที่เป็นกระบอกเสียงทำความเข้าใจกับประชาชนด้วย

ศบค. ชี้ ให้ผู้ปกครอง-นักเรียน สังเกตอาการ หวั่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

logoline