svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

โฆษก กรมสุขภาพจิต แจง ไบโพลาร์ ประเด็นต่อสู้คดี

01 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นายแพทย์ วรตม์ แจง ประเด็น อดีต ผกก.โจ้ อ้างอาการป่วย "ไบโพลาร์" ยื่นเป็นประเด็นต่อสู้ ไม่ใช่เหตุให้ลดหย่อน ทุกคดี ศาลมองความสมเหตุผล แผนประทุษกรรม ประวัติรักษา หลายกระบวนพิจารณา ชี้ บางรายอาจคุมอารมณ์ดีกว่าคนปกติ

จากกระแสข่าวที่ พ.ต.อ.ธิติสรรค์ อุทธนผล อดีต ผู้กำกับการ สภ.เมือง นครสวรรค์ หรือ อดีต ผกก.โจ้ ป่วยเป็นไบโพลาร์ ทำให้มีความกังวลในสังคมว่า ประเด็นนี้อาจถูกนำมาใช้ต่อสู้ในชั้นศาลได้หรือไม่

นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ โฆษกกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่าตอนนี้ประวัติเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพจิตทั้งหลายคงไม่มีใครทราบได้ คนที่ยืนยันได้ต้องเป็นโรงพยาบาลที่ดูแลรักษาโดยการที่คนไข้เองเป็นคนขอประวัติในการตรวจรักษาตัวเอง ซึ่งก็เป็นแค่การพูดถึงเฉยๆว่ามีการรักษา แต่เราก็คงไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้นอกจากมีการไปขอประวัติในการรักษาจริงๆ ส่วนการที่คนเราป่วยเรื่องสุขภาพจิตไปต่อสู้คดีได้ไหมนั้น แน่นอนครับ ทุกคนทำได้ก็เป็นเรื่องๆ หนึ่ง ที่ยื่นให้ศาลพิจารณาได้ แต่แน่นอนว่าศาลก็จะมีข้อพิจารณาในหลากหลายรูปแบบ ถ้าเรื่องเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตที่เกิดขึ้น

 

ยกตัวอย่าง ผู้ต้องหา มีปัญหาด้านสุขภาพจิตบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถเดินมาให้การในศาลได้ หรือให้ข้อมูลต่างๆได้ ศาลอาจจะมีการออกคำสั่งให้คนนั้นไปรักษาปัญหาด้านสุขภาพจิตให้เสร็จเรียบร้อยก่อนให้อาการดีขึ้นก่อน แล้วถึงกลับเข้าสู่บทกระบวนการยุติธรรม ก็มีหลายๆ คดีมากๆ ที่ผู้ต้องหาใช้เรื่องปัญหาสุขภาพจิตในการต่อสู้ ซึ่งศาลก็ต้องพิจารณาต่อไปว่ามันสมเหตุสมผลหรือเปล่า ซึ่งหลายครั้งจำนวนหนึ่งเลยที่ศาลเองก็บอกว่าไม่ได้เป็นเหตุให้ลดหย่อนโทษ

นพ.วรตม์ เปิดเผยอีกว่า ถ้าคดีนี้ขึ้นสู่ศาลเพื่อพิจารณาประเด็นอาการป่วยไบโพลาร์นั้น ก็ขึ้นอยู่กับทางผู้ที่เกี่ยวข้องว่า เขาจะยื่นไหมซึ่งก็เป็นสิทธิ์ที่ทำได้ ทุกคนมีสิทธิ์ตรงนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ต้องพิจารณาไปยังแพทย์ผู้รักษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงรูปการณ์ต่างๆ ซึ่งศาลเขาก็มีกระบวนการของเขาอยู่แล้ว

 

แต่ต้องบอกพี่น้องประชาชนอย่างหนึ่งที่มีความเชื่อซึ่งเป็นความเชื่อที่มันฝังอยู่ในสังคมมานานว่า คนที่ป่วยด้านจิตแพทย์จิต เป็นโรคจิตเวชอันนี้ไม่ต้องรับโทษนั้น ไม่ใช่นะครับ การรับโทษยังรับปกติเพียง

 

แต่ว่ากระบวนการมารับโทษหรือลดหย่อนโทษนี่ ก็จะมีการพิจารณาขึ้นอยู่กับศาล ซึ่งในพฤติการณ์ก่อเหตุของ อดีต ผกก.โจ้

 

ตามคลิปจากกล้องวงจรปิดที่มีการบันทึกภาพไว้ได้นั้นเข้าข่ายไบโพลาร์ไหมนั้น ก็ต้องมีช่วงอารมณ์ที่เป็นภาวะที่อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ช่วงนึงก่อนหน้านี้ ซึ่งแน่นอนคลิปตัดเค้าเรียกว่าภาพตัดขวางคือหมายถึงว่าแค่จังหวะนี้ ปัจจุบันนี้ ไม่สามารถบอกได้เลยว่าอาการก่อนหน้านี้เค้าเคยมีช่วงที่เป็นโรคซึมเศร้า หรือว่าช่วงที่เป็นอาการที่เค้าเรียกว่ามันเนี้ย คืออาจจะมีความพูดมาก ใช้เงินมาก อาการอารมณ์รุนแรง ซึ่งตรงนี้สิ่งที่เราเห็นทุกคนเห็นคงคล้ายๆ กันก็คือมีการใช้ความรุนแรงเกิดขึ้นอาจจะมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นแค่หนึ่งในหลายๆ อาการของโรคไบโพลาร์ เพราะงั้นเราไม่วามารถบอกได้เลยว่านี่เป็นอาการของโรคไบโพลาร์ หรืออาจจะไม่ใช่อาการทางจิตเวชใดๆ เลย สุดท้ายคนที่จะพิจารณาตรงนี้ว่ามีสติสัมปชัญญะในการทำหรือเปล่า มีการวางแผนเตรียมการไหม ตรงนี้ต้องเป็นกระบวนการยุติธรรมที่เป็นคนตัดสิน

สุดท้ายแล้ว ผมอยากจะบอกว่า คนที่รับราชการ ไม่ว่าใดๆ ก็ตาม หรือบริษัทเอกชนใดๆ ก็ตาม ปัจจุบัน มีผู้ป่วยไบโพลาร์อยู่ในประเทศไทยอยู่ในทุกวิชาชีพที่มีอยู่ เพียงแต่ว่าผู้ป่วยไบโพลาร์นั้นรักษาอาการตัวเองอย่างดีกินยาครบ เขาสามารถทำงานได้เหมือนคนทั่วไป บางทีคนที่ไม่ป่วยอะไรเลย อาจเป็นคนที่ก่อความรุนแรงมากกว่าคนที่ดูแลตัวเองดีๆ เหมือนคนที่เป็นไบโพลาร์หรือโรคซึมเศร้าก็ได้ เพราะฉะนั้น ผมไม่อยากให้กรณีนี้ ทำให้เกิดการมองผู้ป่วยไบโพลาร์ด้านลบ หลายๆ คนก็ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดีมากๆ กว่าคนปกติด้วยซ้ำ แล้วเขาก็สามารถทำงานได้ตามปกติ นพ.วรตม์กล่าว

โฆษก กรมสุขภาพจิต แจง ไบโพลาร์ ประเด็นต่อสู้คดี

logoline