svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

วิกฤตมนุษยธรรม อีกบทบาทความท้าทายของ"รัฐบาลตาลีบัน"

01 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

โฆษกกลุ่มตาลีบัน เผย รู้สึกยินดีกับการที่สหรัฐฯ ถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน หลังผู้บัญชาการกองทัพ สหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ สหรัฐฯเสร็จสิ้นการถอนกองกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน ประชาคมโลกต่างพากันห่วงในเรื่อง วิกฤตมนุษยธรรม ถือเป็นอีกบทบาทความท้าทายของรัฐบาลตาลีบัน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน  ซาบีฮุลเลาะห์ มูจาฮิด โฆษกกลุ่มตาลีบัน เผยว่า ทางกลุ่มตาลีบันยินดีกับการที่สหรัฐฯถอนกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถาน หลังจากผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐฯ ออกแถลงการณ์ว่า สหรัฐได้เสร็จสิ้นการถอนกองกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถานแล้วเมื่อวันจันทร์ (30 ส.ค.) ที่ผ่านมา


โดยทาง มูจาฮิด ทวีตข้อความทางทวิตเตอร์ว่า

“ทหารสหรัฐคนสุดท้ายอพยพจากสนามบินคาบูลในช่วงเที่ยงคืนของวันจันทร์ที่ผ่านมา ถือว่าประเทศของเราเป็นอิสระอย่างสมบูรณ์”

 

วิกฤตมนุษยธรรม อีกบทบาทความท้าทายของ\"รัฐบาลตาลีบัน\"

เที่ยวบินอพยพเที่ยวสุดท้ายบินขึ้นในช่วงชั่วโมงสุดท้ายของคืนวันจันทร์ที่ 30 ส.ค. โดยพาทหารและผู้ที่ไม่ใช่บุคลากรทางทหารของสหรัฐกลับประเทศ 1 วันก่อนถึงกำหนดเส้นตายที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดนกำหนดไว้ในวันที่ 31 ส.ค.

 

หลังจากนายมูจาฮิดได้ทวีตข้อความเมื่อช่วงเวลาประมาณ 01.00 น. ของวันอังคารตามเวลาท้องถิ่นได้ไม่นาน สมาชิกกลุ่มตาลีบัน ก็เริ่มฉลองด้วยการยิงปืนในกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถานนานประมาณ 1 ชั่วโมง เรื่องนี้สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชนในกรุงคาบูล

หลังเสียงปืนสงบลง มูจาฮิด ยังทวีตข้อความว่า

“เสียงปืนที่ได้ยินในกรุงคาบูลคือการยิงฉลอง ประชาชนในกรุงคาบูลไม่ต้องกังวลอะไร เรากำลังพยายามควบคุมสถานการณ์อยู่”
 

 

วิกฤตมนุษยธรรม อีกบทบาทความท้าทายของ\"รัฐบาลตาลีบัน\"

การทวิตข้อความของมูจาฮิดมีขึ้นในโลกออนไลน์ไม่นาน

“เคนเน็ธ แมคเคนซี”  ผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐ ได้ออกแถลงการณ์ว่า

“สหรัฐฯเสร็จสิ้นการถอนกองกำลังทหารออกจากอัฟกานิสถานแล้ว ซึ่งเป็นการยุติการทำสงครามนานกว่า  20 ปี กับผู้ก่อการร้ายในอัฟกานิสถาน หลังจากสหรัฐฯเคยถูกโจมตีในเหตุการณ์ 9/11 เมื่อปี 2544”

วิกฤตมนุษยธรรม อีกบทบาทความท้าทายของ\"รัฐบาลตาลีบัน\"

ผู้บัญชาการแมคเคนซี กล่าวว่า แม้สหรัฐฯ จะเสร็จสิ้นภารกิจการถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานหลังทำสงครามไล่ล่ากลุ่มอัลกออิดะห์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ 9/11 ในปี 2544 แต่สหรัฐฯ ยังคงมีภารกิจด้านการทูตในอัฟกานิสถาน เพื่อให้ความช่วยเหลือพลเมืองชาวอเมริกันที่หลงเหลืออยู่ รวมถึงชาวอัฟกันกลุ่มเสี่ยง ที่มีความต้องการเดินทางออกนอกประเทศ

 

ผู้บัญชาการแมคเคนซี เผยว่า

มีพลเมืองชาวอเมริกันที่ยังคงติดค้างอยู่ในอัฟกานิสถานน้อยมาก พร้อมกับย้ำว่า กระทรวงการต่างประเทศจะรับหน้าที่ให้ความช่วยเหลือชาวอเมริกันที่กำลังอยู่ในระหว่างรอการอพยพออกนอกประเทศต่อไป

 

เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ คาดการณ์ว่า มีชาวอเมริกันหลงเหลือในอัฟกานิสถานขณะนี้ประมาณ 250 คน โดยประชาชนเหล่านี้ล้วนต้องการเดินทางออกจากอัฟกานิสถาน

ขณะที่สหรัฐฯ เสร็จสิ้นภารกิจถอนทหาร แต่ดินแดนนี้ ประเทศนี้ยังต้องเผชิญปัญหาด้านมนุษยธรรมรุนแรงระดับวิกฤต โดยรายงานข่าวจากเว็บไซต์อัลจาซีราห์ระบุว่า 1 ใน 3 ของชาวอัฟกัน อยู่ในภาวะหิวโหย และกว่า 5 แสนคน อยู่ในสภาพพลัดถิ่นที่อยู่

 

วิกฤตมนุษยธรรม อีกบทบาทความท้าทายของ\"รัฐบาลตาลีบัน\"

พิจารณาจากข้อมูลจากสำนักงานประสานงานกิจการด้านสิทธิมนุษยชน (โอซีเอชเอ) ในรายงานระบุว่า หากวิเคราะห์ในช่วงเฉพาะเดือนกรกฎาคมแค่เพียงเดือนเดียว จำนวนผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (ไอดีพี) ของอัฟกานิสถานเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ ที่จำนวนมีผู้พลัดถิ่นจำนวนมากถึง 206,967 คน

วิกฤตมนุษยธรรม อีกบทบาทความท้าทายของ\"รัฐบาลตาลีบัน\"

รายงานยังระบุอีกว่า ขณะนี้ มีผู้พลัดถิ่นมีจำนวนกว่า 570,000 คน และเกือบ 80% เป็นผู้หญิงกับเด็ก ขณะที่ชาวอัฟกันหนีออกนอกประเทศหลายหมื่นคนเพราะกลัวเหตุความรุนแรง ในจำนวนนี้ มีอย่างน้อย 113,500 คนที่ออกนอกประเทศผ่านความช่วยเหลือของสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตกช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

ขณะที่ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอชซีอาร์ คาดการณ์ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ จะมีชาวอัฟกันหนีออกนอกประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะ 4 เดือนข้างหน้าที่คาดว่าจะมีชาวอัฟกันหนีออกนอกประเทศจำนวน 500,000 คนเพราะสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง

 

 

วิกฤตมนุษยธรรม อีกบทบาทความท้าทายของ\"รัฐบาลตาลีบัน\"

ด้านโครงการอาหารโลก (ดับเบิลยูเอฟพี) ระบุว่า 1 ใน 3 ของประชากรอัฟกันที่มีอยู่ประมาณ 38 ล้านคนกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหาร รวมถึงเด็กจำนวน2ล้านคนที่ประสบปัญหาทุพโภชนาการอยู่แล้ว

 

อัฟกานิสถานประสบปัญหาขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง ตั้งแต่ก่อนหน้าที่กองกำลังตาลีบันจะเข้ายึดกรุงคาบูลเมื่อสองสัปดาห์ก่อน โดย 40% ของพืชเกษตรเสียหายและปศุสัตว์ล้มตายจากปัญหาภัยแล้ง

 

“เดวิด บีสต์ลีย์” ผู้อำนวยการบริหารดับเบิลยูเอฟพี กล่าวว่า

“อาหารของหน่วยงานของยูเอ็นที่ให้ความช่วยเหลือด้านอาหารในอัฟกานิสถานจะเริ่มหมดในเดือน ก.ย. และขณะนี้ยังไม่มีกองทุนใดๆ เข้ามาช่วยสนับสนุน

 

วิกฤตมนุษยธรรม อีกบทบาทความท้าทายของ\"รัฐบาลตาลีบัน\"

อย่างไรก็ตาม อัฟกานิสถานตกอยู่ภายใต้ภาวะสงคราม หรือการสู้รบมาตลอด 4 ทศวรรษ ก่อนที่โรคโควิด-19 จะระบาด ประชาชนอย่างน้อย 54.5% ดำเนินชีวิตอยู่ใต้เส้นความยากจนและทุกวันนี้คาดว่าตัวเลขนี้อาจเพิ่มขึ้นสูงถึง  72%

logoline