svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"รับยาที่ร้านยา" แทนรับเวชภัณฑ์จากรพ. ลดเลี่ยงติดโควิด

27 เมษายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สวรส. นำเสนอผลการศึกษา "รอรับยาที่ร้าน" ใช้เวลารอรับยาที่ร้านยาไม่นาน การเดินทางสะดวก ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางและสามารถนัดหมายเวลาไปรับยาได้ นอกจากนั้น เภสัชกรยังมีเวลาในการอธิบายการใช้ยาให้กับผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ถือเป็นการลดความเสี่ยงในการติดโรคระบาดได้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โรคโควิด-19

จากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ที่มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายน 2564 จนถึงปัจจุบัน สาเหตุ ส่วนหนึ่งก็มาจากสถานที่เสี่ยง เช่น สถานบันเทิง ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีความแออัดของการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ทั้งนี้ โรงพยาบาล เป็นอีกหนึ่งสถานที่เสี่ยงสูงเช่นกัน เนื่องจากเป็นจุดรองรับการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงและรักษาผู้ติดเชื้อ ขณะที่ยังเป็นสถานที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่ยังต้องเดินทางเข้ารับบริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุหรือกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่จำเป็นต้องมาพบแพทย์หรือรับยา ซึ่งหากได้รับเชื้อโควิด-19 อาจส่งผลรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้การประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการวิเคราะห์ข้อเสนอทางเลือกเชิงนโยบายและติดตามการดำเนินนโยบายให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ครั้งที่ 2/2564 เมื่อต้นเดือน เมษายน ที่ผ่านมา (ภายใต้คำสั่ง สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข :สวรส. ที่ 47/2562) มี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธาน ณ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ มีการนำเสนอผลวิจัย "ประเมินผลโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ระยะที่ 2"

"รับยาที่ร้านยา" แทนรับเวชภัณฑ์จากรพ. ลดเลี่ยงติดโควิด

โดย ดร.รุ่งนภา คำผาง นักวิจัยสังกัดมูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ซึ่งได้ทำการศึกษาโครงการให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยา ในกลุ่มผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางจิตเวช และหอบหืดหรือโรคเรื้อรังที่ไม่มีความซับซ้อนในการดูแลโดยเก็บข้อมูล ปี 2563 จากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการนำร่องฯ 141 แห่ง จากเป้าหมาย 50 แห่ง ส่วนร้านยาเข้าร่วมโครงการ 1,081 แห่ง วางแผนดำเนินการด้วย 3 รูปแบบ ได้แก่รูปแบบที่ 1 โรงพยาบาลเป็นผู้จัดยาให้ผู้ป่วยรายบุคคลและส่งยาไปที่ร้านยาเพื่อจ่ายยาให้กับผู้ป่วยรูปแบบที่ 2 โรงพยาบาลนำยาไปสำรองไว้ที่ร้านยา และให้เภสัชกรร้านยาเป็นผู้จัดและจ่ายยาให้ผู้ป่วยรายบุคคลตามใบสั่งแพทย์ ทั้งสองรูปแบบมีการดำเนินการจริงแล้วและรูปแบบที่ 3 ร้านยาเป็นผู้จัดซื้อยาสำรองยาจัดและจ่ายยาให้กับผู้ป่วยรายบุคคลตามใบสั่งแพทย์เพราะข้อจำกัดด้านความแตกต่างของราคายาที่บริษัทจะขายให้โรงพยาบาลและร้านยา องค์การเภสัชกรรมจึงมาช่วยในการจัดหาและจัดซื้อยา โดยรูปแบบที่ 3 นี้ กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาและคาดว่าจะดำเนินการได้จริงเดือนมิถุนายน 2564 ผลจากข้อมูลชี้ว่า การดำเนินงานตามรูปแบบที่ 1-2 พบว่าโครงการมีประโยชน์ต่อผู้รับบริการและผู้ให้บริการ ในด้านช่วยลดระยะเวลาการรอรับยาและเวลาเดินทางไปโรงพยาบาล เฉลี่ยรวม 58 นาทีต่อผู้ป่วย 1 คน ผู้ป่วยมีเวลาปรึกษาเภสัชกรเพิ่มขึ้น 3 นาที คิดเป็น 42% ลดความแออัดในโรงพยาบาลได้เฉลี่ย 8.5% ต่อโรงพยาบาล และประหยัดต้นทุนการเดินทางของผู้ป่วยได้ 71% เมื่อเทียบกับการรับยาที่โรงพยาบาล

"รับยาที่ร้านยา" แทนรับเวชภัณฑ์จากรพ. ลดเลี่ยงติดโควิด

ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ พบว่าผู้ป่วยพึงพอใจมาก โดยเฉพาะการใช้เวลารอคอยรับยาไม่นาน ความสะดวกในการเดินทาง และความกระตือรือร้นของเภสัชกรในการให้คำปรึกษาทั้งนี้ การศึกษายังพบด้วยว่า หากแพทย์เป็นผู้แนะนำให้ผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ ผู้ป่วยมีแนวโน้มตอบรับเข้าร่วมโครงการได้มากขึ้นสำหรับผู้ป่วยที่ไม่เข้าร่วมโครงการฯ พบว่า ผู้ป่วยต้องการเข้ารับการตรวจติดตาม บางรายไม่มีร้านยาใกล้บ้านหรือเดินทางไม่สะดวก ผู้ป่วยไม่มั่นใจคุณภาพการให้บริการของร้านยา และบางรายยังไม่ทราบว่าตนเองสามารถเข้าร่วมโครงการได้โดยผู้บริหารโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการและจะเข้าร่วมโครงการ ต้องเตรียมความพร้อมและสร้างความเข้าใจให้กับแพทย์เพื่อให้เห็นความสำคัญของการไปรับยาที่ร้านยา และให้แพทย์มีส่วนร่วมกำหนดกลุ่มเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งเชิญชวนผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ เช่น เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ป่วยทราบ เข้าใจตรงกันของวัตถึงประสงค์ ก่อนนำไปสู่ New Normal Pharmacy

"รับยาที่ร้านยา" แทนรับเวชภัณฑ์จากรพ. ลดเลี่ยงติดโควิด

Service

logoline