svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

เปิดประเด็น "EEC-BOI" ขายชาติ-ขายแผ่นดิน?

26 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กลุ่มสภาที่สาม ร่วมกับคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภาคม 35 และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย หรือ ครป. ร่วมกันจัดเวทีเสวนาในหัวข้อการตรวจสอบนโยบายเศรษฐกิจพิเศษ หรือ EEC และการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI เนื่องจากสององค์กรนี้ถูกตั้งข้อสังเกตในเรื่องการเอื้อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มทุนผูกขาด

การเสวนาเวทีสภาที่สาม รวมถึงภาคประชาชนในการตรวจสอบนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือ EEC และการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI เกิดขึ้น หลังจากกลุ่มภาคประชาชนตั้งข้อสังเกตว่าการส่งเสริมการลงทุนเอื้อให้กับนายทุนกลุ่มเดิมๆ ทั้งการเอื้อประโยชน์ทางด้านที่ดิน การละเว้นภาษี จึงส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นในสังคม
ประเด็นนี้ นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มองว่าการเชิญชวนชาวต่างชาติ หรือนักลงทุนต่างๆ เข้ามาลงทุนต้องถือหลัก 3 ประการ คือ 1. การลงทุนจากต่างชาติลงไปในภาคอุตสาหกรรม โดยไม่กระทบวิถีชีวิตของประชาชน  2. การลงทุนต้องใช้สามัญสำนึกมาประกอบ และประการที่ 3 คือต้องดำเนินการอย่างรัดกุม แต่ขณะนี้พบว่าปัญหาเกี่ยวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ ไม่เป็นไปตามหลัก 3 ข้อนี้ และที่สำคัญเกิดจากการออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนายทุนจำนวน 73 มาตรา 

เปิดประเด็น "EEC-BOI" ขายชาติ-ขายแผ่นดิน?


หนึ่งในจำนวนกฎหมาย 73 มาตรานี้ พบว่ามีการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนายทุน ที่กว้านซื้อที่ดินพื้นที่สีเขียวของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และระยอง เนื่องจากพื้นที่จุดนี้เป็นพื้นที่ที่ใกล้กับระบบคมนาคมทางบกและทางทะเล ซึ่งพบว่ามีกฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน 12 มาตรา

นายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายศรีสุวรรณ จรรยา มองว่า การขยายตัวทางด้านการพัฒาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมส่งออกส่งผลต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะวิถีชีวิต สิทธิพื้ยฐานของเกษตรกร สิทธิสัตว์ รวมถึงทรัพยากร เนื่องจากมีนิคมอุตสาหกรรมเข้ามาในพื้นที่ จึงต้องควรทบทวนกฎหมายที่ออกมาเพื่อประโยชน์ให้กับกลุ่มนายทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่จะต้องไม่กระทบกับสิทธิมนุษยชน

เปิดประเด็น "EEC-BOI" ขายชาติ-ขายแผ่นดิน?

เช่นเดียวกับนายพิภพ ธงไชย อดีตประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย หรือ ครป. ที่กล่าวว่า การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรม มักมาควบคู่กับการทำลายทรัพยากรธรรมชาติรวมถึงวิถีชีวิตของประชาชน ยกตัวอย่างเช่น การนำเอาขยะจากต่างประเทศเข้ามาในพื้นที่ที่ก่อมลพิษให้กับประชาชน แต่ภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงกลับไม่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับรัฐบาล 
ทางออกที่ดีที่สุดของปัญหานี้วิทยากรเสนอให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการปัญหาอุตสาหกรรม / การจัดสรรที่ดินผังเมือง เพื่อแก้ปัญหาการเลือกประโยชน์ให้กับกลุ่มนายทุนผูกขาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

logoline