svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

งานวิจัยแพทย์ มช. ระบุ "PM2.5" ต้นเหตุ "มะเร็งปอด" เชียงใหม่-ลำปางดับสูงสุด

06 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เปิดงานวิจัย "PM2.5" ต้นเหตุมะเร็งปอด สอดคล้องภาคเหนือครองแชมป์ตัวเลขผู้ป่วย เชียงใหม่-ลำปางเสียชีวิตสูงสุด

งานวิจัยแพทย์ มช. ระบุ \"PM2.5\" ต้นเหตุ \"มะเร็งปอด\" เชียงใหม่-ลำปางดับสูงสุด
6 เมษายน 2567 เรื่องราวของงานวิจัยที่พบว่า "PM2.5" มีปัจจัยทำให้เกิด "มะเร็งปอด" โดย รศ.นพ.เฉลิม ลิ่วศรีสกุล หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ และอาจารย์ประจำหน่วยวิชาระบบการหายใจ เวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ มช. เปิดเผยว่า จากปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ในภาคเหนือที่สะสมมายาวนานกว่า 10 ปี และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยของโรงพยาบาล ในช่วงที่เกิดฝุ่นPM2.5 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จากการเปรียบเทียบอัตราการตายของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด ตั้งแต่ปี 2553-2564 ระหว่าง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้ พบว่า ภาคเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ และลำปาง มีอัตราการเสียชีวิตด้วย โรคมะเร็งปอดสูงที่สุด
งานวิจัยแพทย์ มช. ระบุ \"PM2.5\" ต้นเหตุ \"มะเร็งปอด\" เชียงใหม่-ลำปางดับสูงสุด

นอกจากนี้ยังพบ สัดส่วนของผู้ป่วยมะเร็งปอดในคนหนุ่มสาวของประชากรภาคเหนือสูงกว่าภาคอื่นๆ ซึ่งน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับฝุ่น PM2.5

เนื่องจากมีงานวิจัยที่รองรับทั่วโลกแล้วว่า การสัมผัสฝุ่น PM 2.5 ในระยะยาว มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะเร็งปอด ได้อย่างมีนัยสำคัญ 

หลักฐานสนับสนุนความสัมพันธ์ของฝุ่น PM2.5 กับมะเร็งได้จากงานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ที่ได้ทำการศึกษาผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองในพื้นที่ อ.เชียงดาว ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีค่า PM2.5 สูงอันดับต้นๆของจ.เชียงใหม่ โดยการขูดเซลล์บริเวณกระพุ้งแก้มของผู้ป่วยถุงลมโป่งพองไปตรวจ เปรียบเทียบกันระหว่างช่วงที่มีฝุ่น PM2.5 สูงและช่วงที่มีฝุ่น PM2.5 ต่ำ

ผลปรากฏว่า ในช่วงที่มีฝุ่น PM2.5 สูง เซลล์กระพุ้งแก้มของผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลง บ่งบอกว่ายีนมีความผิดปกติ ซึ่งจะส่งผลในระยะยาว จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ในอนาคต 

งานวิจัยแพทย์ มช. ระบุ \"PM2.5\" ต้นเหตุ \"มะเร็งปอด\" เชียงใหม่-ลำปางดับสูงสุด

นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น เลือดกำเดาไหล น้ำมูกไหลจากจมูกอักเสบ เจ็บคอ เสียงแหบ ไอ ซึ่งเป็นอาการจาก PM2.5 ที่ไม่รุนแรง

แต่โรคที่มีความรุนแรง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปริมาณฝุ่น PM2.5 และพบมากที่สุดในเดือนมีนาคม 2567 คือ การกำเริบของโรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจและ โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งทั้งหมดนำไปสู่การเจ็บป่วยที่รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต 
งานวิจัยแพทย์ มช. ระบุ \"PM2.5\" ต้นเหตุ \"มะเร็งปอด\" เชียงใหม่-ลำปางดับสูงสุด
งานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มช. ที่ได้ทำการศึกษาผู้ที่เสียชีวิตในจังหวัดเชียงใหม่ที่สัมพันธ์กับระดับ PM2.5 พบว่า..

ทุกๆ 10 ไมโครกรัม/ลบ.เมตรที่เพิ่มขึ้นของค่าเฉลี่ย PM2.5 รายวัน จะสัมพันธ์กับการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นของประชากรเชียงใหม่ 1.6% ในอีก 6 วันต่อมา 

รศ.นพ.เฉลิม ลิ่วศรีสกุล เปิดเผยอีกว่า การจะลดจำนวนผู้ป่วยได้นั้น ต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ สิ่งสำคัญคือการลดปริมาณฝุ่นได้แก่ ลดการเผาในพื้นที่การเกษตร ควบคุมฝุ่นควันข้ามแดน

ส่วนประชาชนจำเป็นต้องปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม แนะนำให้ติดตามค่าฝุ่นละอองทุกวัน หากเกินค่ามาตรฐานควรงดกิจกรรมกลางแจ้ง หรือหากมีความจำเป็น ควรใส่หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM2.5 ได้คือ หน้ากากมาตรฐาน N-95, KN-95 หรือ FFP2 และใช้ระยะเวลาในการออกนอกอาคารให้สั้นที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการสูด PM2.5 เข้าไปในร่างกายในปริมาณมากๆ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและในระยะยาวได้
รศ.นพ.เฉลิม ลิ่วศรีสกุล

logoline