svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

รู้ทันโควิด ทำความรู้จัก "โควิด 2 สายพันธุ์อันตราย" คราเคนและออร์ธรัส

11 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชวนคอข่าว ร่วมทำความรู้จัก "โควิด-19"  2 สายพันธุ์อันตราย "คราเคน-ออร์ธรัส" หลัง "หมอยง" เผย หลบหลีกภูมิต้านทานได้ดี ทำให้ติดเชื้อซ้ำได้ แนะเกาะติดพร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัย 

"เพราะโควิด 19 ต้องอยู่กับเราไปอีกนาน นักวิชาการยังคงเกาะติดและศึกษาวิจัยกันอย่างต่อเนื่อง"

 

รู้ทันโควิด ทำความรู้จัก \"โควิด 2 สายพันธุ์อันตราย\" คราเคนและออร์ธรัส

อีกความเคลื่อนไหวทางวิชาการ ที่น่าสนใจ ด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต และหัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan หัวข้อ

"โควิด 19 สายพันธุ์ที่ต้องติดตาม คราเคน (Kraken) และ ออร์ธรัส (Orthrus) ซึ่งมีเนื้อหา สรุปได้ดังนี้

โควิด-19 สายพันธุ์ที่ต้องติดตาม

คราเคน (Kraken) และ ออร์ธรัส (Orthrus) 

เชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 มีการกลายพันธุ์มาตลอด

เพื่อหลบหลีกระบบภูมิต้านทานของร่างกาย จึงทำให้เป็นแล้วเป็นอีกได้แต่ความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น สายพันธุ์ที่เฝ้าจับตามองและถือว่า เป็นสายพันธุ์อันตราย เพราะหลบหลีกระบบภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี คือ สายพันธุ์ที่มีการเรียกกันว่า คราเคน และ ออร์ธรัส

รู้ทันโควิด ทำความรู้จัก \"โควิด 2 สายพันธุ์อันตราย\" คราเคนและออร์ธรัส

รู้ทันโควิด ทำความรู้จัก \"โควิด 2 สายพันธุ์อันตราย\" คราเคนและออร์ธรัส

คราเคน (Kraken)

คือ สายพันธุ์ XBB.1.5 ที่พบมากในอเมริกาและยุโรปขณะนี้ บอกลีกภูมิต้านทานได้ดี และมีโอกาสที่จะเป็นสายพันธุ์หลักต่อไปได้

มีการตั้งชื่อว่า คราเคน (Kraken) เป็นชื่อของสัตว์ทะเลประหลาด ในตำนาน นิยาย ที่มีการเล่ากันมา ในยุโรปกว่า 300 ปีมาแล้ว ลักษณะเหมือนปลาหมึกยักษ์ คอยจมเรือ การเรียก สายพันธุ์โควิดนี้ ทำให้มองดูเข้าใจได้ว่า สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์อันตรายที่ต้องติดตาม


ออร์ธรัส (Orthrus)

คือ สัตว์ในเทพนิยายของกรีก เป็นสุนัข 2 หัว มีหางเป็นงู ลองจินตนาการดูถึงความน่ากลัวและอันตราย โควิด-19 ออร์ธรัส คือ สายพันธุ์ CH.1.1 เป็นสายพันธุ์ ที่มีแนวโน้มจะพบเพิ่มขึ้นและพบว่า หลบหลีกภูมิต้านทานที่เกิดจากการติดเชื้อและวัคซีนในอดีต ในอเมริกาเอง ก็พบสายพันธุ์นี้แต่ยังน้อยกว่าคราเคน

ทั้ง 2 สายพันธุ์ก็ยังจัดอยู่ในโอมิครอน ถ้าดูตามรูปจะอยู่ในลูกหลาน ของ BA.2 (คลิกที่นี่)

สายพันธุ์ทั้งสองพบได้ มีรายงานในธนาคารพันธุกรรมของโควิด GISAID ดังแสดงในรูป มีแนวโน้มพบเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยแล้วแต่ยังไม่ได้ระบาดอย่างกว้างขวางในประเทศไทย โดยพบว่า มีการนำมาจากต่างประเทศ 

รู้ทันโควิด ทำความรู้จัก \"โควิด 2 สายพันธุ์อันตราย\" คราเคนและออร์ธรัส

จากการศึกษางานวิจัยของศูนย์ฯ ที่ผมทำอยู่ ในเดือนธันวาคม ถึง มกราคม จำนวนมากกว่า 250 สายพันธุ์ พบว่า 75-88 เปอร์เซ็นต์  เป็นสายพันธุ์ BA.2.75 พบ สายพันธุ์ คราเคน 1 ราย ออร์ธรัส 4 ราย ดังแสดงในรูป เราคงต้องเฝ้าระวังติดตาม จากข้อมูลที่มีอยู่นี้ความรุนแรงของโรคยังไม่ได้เพิ่มขึ้น

รู้ทันโควิด ทำความรู้จัก \"โควิด 2 สายพันธุ์อันตราย\" คราเคนและออร์ธรัส

อันตรายของสายพันธุ์นี้ คือ หลบหนี ระบบภูมิต้านทานที่เรามีอยู่ และจะทำให้ติดเชื้อซ้ำได้
 

รู้ทันโควิด ทำความรู้จัก \"โควิด 2 สายพันธุ์อันตราย\" คราเคนและออร์ธรัส

โควิด 19 ลดน้อยลง และการให้วัคซีนประจำปี

ยง ภู่วรวรรณ

ราชบัณฑิต

10 กุมภาพันธ์ 2566

ตามที่เคยได้กล่าวมาแล้วหลายครั้งว่า หลังจากกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปแล้วโควิด 19 จะสงบและการติดเชื้อจะลดลงอย่างมาก โดยเฉพาะในเดือนมีนาคมและเมษายน เป็นเช่นเดียวกับโรคทางเดินหายใจอื่นๆ เพราะโควิด 19 ได้เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาลแล้ว จะไประบาดอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิถุนายน

การระบาดลดลง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1 ประชากรไทยส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานแล้ว จากการติดเชื้อเป็นส่วนใหญ่ และฉีดวัคซีนไปแล้ว ข้อมูลการศึกษาที่ได้พบว่าเด็กและผู้ใหญ่ในวัยทำงานจะติดเชื้อไปแล้วร่วม 80% ผู้สูงอายุติดเชื้อไปแล้วประมาณ 50% แต่อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ก็ได้รับวัคซีนไปแล้วอย่างน้อย 2 หรือ 3 เข็ม และมีจำนวนมากที่ได้ 4 เข็ม

2 จะเป็นช่วงที่นักเรียนส่วนใหญ่ปิดเทอมยาว จะลดการระบาดของโรคได้มาก และจะไปเริ่มระบาดใหม่ในช่วงเปิดเทอมใหม่ โดยจะระบาดหลังจากเปิดเทอมแล้ว 2-3 สัปดาห์ คือในเดือนมิถุนายน

3 ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วและติดเชื้อ จากการติดตามพบว่า การลดลงของภูมิต้านทาน ช้ากว่าในผู้ที่ฉีดวัคซีนอย่างเดียว ดังนั้นในผู้ที่ติดเชื้อแล้ว เรียกได้ว่า ได้ภูมิต้านทานแบบลูกผสม ทั้งในระดับการป้องกัน และระดับเซลล์ที่ช่วยในการหายของโรค หรือลดลงของความรุนแรงได้เป็นอย่างดีมาก การติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 เกิดขึ้นได้ก็จริง แต่ความรุนแรงน้อยกว่าครั้งแรก (จากการศึกษาของเราในผู้ที่ติดเชื้อซ้ำ 250 คน)

4 การติดเชื้อขณะนี้ส่วนใหญ่โรคจะไม่รุนแรง จะรุนแรงเฉพาะในผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้น้อยกว่า 3 เข็ม และอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เมื่อโรคไม่รุนแรง ทำให้ประชากรส่วนใหญ่มีความลังเล ในการที่จะได้รับวัคซีนในเข็มต่อไป

5 มีการให้ข่าวทางสื่อออนไลน์มากมาย ถึงอาการข้างเคียงของวัคซีนโดยเฉพาะ mRNA ทั้งที่จริงแล้ว วัคซีนเกือบทุกตัวมีอาการไม่พึงประสงค์ อาการไม่พึงประสงค์นี้จะเกิดจากวัคซีนหรือเกิดขึ้น ต้องมีการพิสูจน์ ในรายที่พิสูจน์แล้ว จึงจะใช้คำว่าเป็นอาการข้างเคียงของวัคซีนได้ ในการให้วัคซีนเราจะคำนึงถึงผลได้และผลเสียหรืออาการแทรกซ้อนของวัคซีน ถ้าโรครุนแรงอย่างในระยะแรกของการระบาด โอกาสลงปอดเป็นจำนวนมาก การให้วัคซีนมีประโยชน์มาก อย่างแน่นอน ขณะนี้ความรุนแรงของโรคน้อยลง ทำให้ผู้จะรับวัคซีน คำนึงถึงอาการไม่พึงประสงค์มากขึ้น เกิดความลังเลใจในการที่จะรับวัคซีน

6 ในผู้ที่เคยฉีดวัคซีนมาแล้วและติดเชื้อมาแล้ว มีร่างกายแข็งแรงดี การให้วัคซีนประจำปี ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหน ไม่น่าจะแตกต่างกัน ในประสิทธิภาพของวัคซีน อาจจะต้องเอาอาการข้างเคียงของวัคซีนมาใช้พิจารณาในการตัดสินใจ

logoline