ทำเอาภรรยาและแฟนคลับเป็นห่วงหนักมาก เมื่อ “เสนาลิง" ถูกหามส่งโรงพยาบาลกลางดึก จนต้องแอดมิทนอนห้อง CCU เพราะอาการของ “โรคกรดไหลย้อน” ซึ่งทางด้านภรรยา “มด อารดา” ได้โพสต์ข้อความว่า
“…กรดได้ทำลายระบบกระเพาะอาหาร ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ จนอักเสบ จนแน่นหน้าอกหายใจไม่ออก อาจจะดูเป็นโรคไม่ร้ายแรงแต่มันร้ายแรงมาก ถ้าปล่อยไว้นานๆ ไม่รักษาให้หายขาด”
Nation STORY เห็นเรื่องนี้แล้วต้องบอกว่า “โรคกรดไหลย้อน” ร้ายแรงหากปล่อยไว้ไม่รักษา เพราะปัจจุบันคนวัยทำงานมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ นานา และโรคกรดไหลย้อนก็เป็นปัญหายอดนิยมของมนุษย์ออฟฟิศที่สามารถป้องกันได้ โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยภายนอก เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม การสูบบุหรี่ การกินอาหารรสจัด อาหารทอด อาหารมัน ของหมักดอง ชา กาแฟ การกินยาบางอย่าง เช่น Aspirin, Calcium Channel Blocker, Antihistamine, ยานอนหลับ ไปจนถึงการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และที่สำคัญอย่างยิ่งคือการลดความเครียด
ข้อมูลโดย รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสนช ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายเรื่องของโรคกรดไหลย้อน ไว้ดังนี้
โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) หมายถึง โรคที่มีอาการซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นไปในหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการจากการระคายเคืองของกรด เช่น อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบและมีแผล หรือหลอดอาหารอักเสบโดยไม่เกิดแผล หรือถ้ากรดไหลย้อนขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน อาจทำให้เกิดอาการนอกหลอดอาหาร
ประเภทของโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น
1. โรคกรดไหลย้อนธรรมดา (CLASSIC GERD) ซึ่งกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาจะอยู่ภายในหลอดอาหาร ไม่ไหลย้อนเกินกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน ส่วนใหญ่จะมีอาการของหลอดอาหารเท่านั้น
2.โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง (Laryngopharyngeal Reflux: LPR) หมายถึงโรคที่มีอาการทางคอและกล่องเสียง ซึ่งเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการของคอและกล่องเสียง จากการระคายเคืองของกรด
อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร
1 อาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ บางครั้งอาจร้าวไปที่บริเวณคอได้ (พบน้อย)
2 รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ หรือแน่นคอ
3 กลืนลำบาก กลืนเจ็บ หรือกลืนติดๆ ขัดๆ คล้ายสะดุดสิ่งแปลกปลอมในคอ
4 เจ็บคอ แสบคอหรือปาก หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
5 รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก (bile or acid regurgitation)
6 มีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา
7 เรอบ่อย คลื่นไส้ คล้ายมีอาหาร หรือน้ำย่อยไหลย้อนขึ้นมาในอก หรือคอ
8 รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย (dyspepsia)
9 มีน้ำลายมากผิดปกติ มีกลิ่นปาก เสียวฟัน หรือมีฟันผุได้
อาการทางกล่องเสียง และหลอดลม
10 เสียงแหบเรื้อรัง หรือ แหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติไปจากเดิม
11 ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารหรือขณะนอน
12 ไอ หรือ รู้สึกสำลักน้ำลาย หรือหายใจไม่ออกในเวลากลางคืน
13 กระแอมไอบ่อย
14 อาการหอบหืดที่เคยเป็นอยู่ (ถ้ามี) แย่ลง หรือไม่ดีขึ้นจากการใช้ยา
15 เจ็บหน้าอก (non – cardiac chest pain)
16 เป็นโรคปอดอักเสบ เป็นๆ หายๆ
อาการทางจมูก และหู
17 คัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล หรือมีน้ำมูก หรือเสมหะไหลลงคอ
18 หูอื้อเป็นๆ หายๆ หรือปวดหู
ข้อมูลโดย นพ.ธนชัย ปัญจชัยพรพล อายุรแพทย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต ระบุภาวะแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่
ระยะที่ 1 ระยะที่ยังอ่อนๆ อาการเพียงเล็กน้อย (Mild GERD)
ช่วงแรกๆ จะมีอาการเพียงจุกเสียดแน่นท้อง ซึ่งมักนำไปสู่การอักเสบในส่วนล่างของหลอดอาหารได้ ผู้ที่เป็นระยะที่ 1 นี้อาจมีอาการ 1-2 ครั้งต่อเดือน หรือนานๆ เป็นทีเท่านั้น ยังไม่ถึงกับรบกวนสุขภาพมากนัก อาจมีอาการดังนี้
วิธีรักษา ควรปรับพฤติกรรม เช่น ทานข้าวให้ตรงเวลา กินอิ่มแล้วเดินให้ย่อย ห้ามเข้านอนทันที และใช้ยาลดกรด (Antacid) ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเลย
ระยะที่ 2 ระยะเริ่มเข้าปานกลาง ควรเข้าพบแพทย์ (Moderate GERD)
ผู้ป่วยในระยะนี้ เริ่มมีอาการเพิ่มขึ้นมากกว่าในระยะแรกๆ หรือเพิ่ม 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ จึงจำเป็นต้องเข้าพบแพทย์ เพื่อรับยามาบรรเทาอาการต่างๆ ให้ดีขึ้น อาจอาการมีดังนี้
วิธีรักษา ควรเข้าปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าเริ่มหนักกว่าในระยะแรก อาจต้องได้รับยาในกลุ่ม Proton – Pump Inhibitors (PPIs) หากปล่อยไว้นาน อาจจะทำให้เกิดอาการหลอดอาหารอักเสบได้
ระยะที่ 3 เสี่ยงเกิดภาวะโรคกรดไหลย้อนขั้นรุนแรงได้ (Severe GERD)
ในระยะนี้อาจรุนแรงหนักขึ้นกว่าเดิม เพราะอาจเกิดการอักเสบเรื้อรังได้ และเจอปัญหาอื่นๆ ตามมา จากโรคกรดไหลย้อนได้ อาการอาจมีดังนี้
วิธีรักษา ควรเข้าพบแพทย์เหมือนในระยะที่ 2 และควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ชีวิตต่างๆ ตามคำแนะนำของแพทย์
ระยะที่ 4 ระยะแรงขั้นสุด ถึงขั้นป่วยเป็นมะเร็งหลอดอาหาร (Reflux Induced Precancerous Lesions or Esophageal Cancer)
ในระยะนี้เป็นผลจากการที่ไม่ได้รับการรักษามาหลายปี และสะสมมานานจนเป็นอาการเรื้อรัง ที่เข้าขั้นรักษายาก โดยผู้ป่วยอาจพบมะเร็งหลอดอาหารก่อตัวในระยะนี้ได้อีกด้วย อาจมีอาการดังนี้
วิธีรักษา ควรได้รับการผ่าตัดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง หากได้ผ่าตัดแล้วก็ยังไม่ได้รับประกันว่าหายจากโรคนี้ได้ 100% เพราะภาวะกรดไหลย้อนอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
คำตอบจาก อ.พญ. นวรัตน์ อภิรักษ์กิตติกุล ภาควิชาโสต ศอ นาสิก วิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า กรดไหลย้อนนั้น จะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังบริเวณหลอดอาหารและบริเวณกล่องเสียง ซึ่งถ้าหากมีการอักเสบเรื้อรังไปนานๆ จะทำให้เซลส์บริเวณเยื่อบุผิวมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลส์มะเร็งได้ แต่ว่ามีโอกาสไม่เยอะมาก แค่ประมาณ 1-6% เท่านั้น