svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

กรมวิชาการเกษตร จับมือเอกชนวิจัยชุดข้อมูลลดก๊าซเรือนกระจกของพืชเศรษฐกิจ

22 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"กรมวิชาการเกษตร"เตรียมขยับตัวเป็นองค์กรรับรองการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดภาวะโลกร้อน วางเป้าหมายจะลดก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065  

22 มีนาคม 2566 "นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร  เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร(กวก.)ให้ความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร  จึงเตรียมพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้เพื่อปรับบทบาทของกรมขึ้นเป็นองค์กรรับรองการลดก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร  

"นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร

โดยเมื่อเร็วๆนี้ได้ลงนามความร่วมมือ MOU กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)ในการพัฒนาบุคลากรของกรมให้รองรับพันธกิจดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันไทยมีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย T-VER (Thailand  Voluntary Emission Reduction Program) ในพืชเศรษฐกิจสำคัญ ตามนโยบาย Bio-Circular  Green Economy (BCG) การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่เป้าหมาย Net Zero  ซึ่งในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  COP 26  ระหว่างวันที่  31 ต.ค.- 12พ.ย. 2564   ที่เมืองกลาสโกว์  สหราชอาณาจักร

รัฐบาลไทยได้ตั้งเป้าหมายจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยจะเป็นกลางทางคาร์บอน(carbon neutrality) ภายในปี 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์(net  zero greenhouse gas emission) ภายในปี 2065

ล่าสุดกรมได้ร่วมมือกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมป่าไม้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) องค์กรความร่วมมือของประเทศเยอรมนี และสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย

กรมวิชาการเกษตร จับมือเอกชนวิจัยชุดข้อมูลลดก๊าซเรือนกระจกของพืชเศรษฐกิจ

ประสานการทำงานร่วมกับบริษัทน้ำตาลมิตรผล จำกัด บริษัท ทักษิณปาล์ม (2521) จำกัด  บริษัท วรุณา ประเทศไทย จำกัด บริษัท สยาม ควอลิตี้ สตาร์ช จำกัด บริษัท ราชสีมา กรีน สตาร์ช จำกัด บริษัท ไทยอิสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท อาร์ดีเกษตรพัฒนา จำกัด บริษัท บูรพา เทคนิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัท เนทซีโรคาร์บอน จำกัด และ บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด ศึกษาหารูปแบบหรือแนวทางปฏิบัติในการลดก๊าซเรือนกระจกในพืชเศรษฐกิจ นำร่องในพืชเป้าหมาย คือ อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ยางพารา  ทุเรียนและมะม่วง

"จะได้รูปแบบวิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติในการลดก๊าซเรือนกระจกของพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญจะได้ baseline  ของพืชแต่ละชนิด แปลงต้นแบบในการจัดการเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ สำหรับให้ผู้สนใจเข้าสู่โครงการ T-VER เพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิต 

ส่งผลให้การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตรของไทยลดลง  และเกษตรกรจะมีคาร์บอนเครดิตจากการดำเนินการเกษตรที่ดีที่เหมาะสม คือมีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงหรือกักเก็บได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศมีหน่วยเป็นตัน

กรมวิชาการเกษตร จับมือเอกชนวิจัยชุดข้อมูลลดก๊าซเรือนกระจกของพืชเศรษฐกิจ

คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปแลกเปลี่ยนหรือซื้อขาย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินงานไปรายงาน และนำไปใช้ชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์กร บุคคล งานบริการ หรือจากการผลิตของผลิตภัณฑ์ต่างๆ และขณะนี้กวก.เตรียมจัดตั้ง กองพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อรองรับภาระกิจใหม่"

กรมวิชาการเกษตร จับมือเอกชนวิจัยชุดข้อมูลลดก๊าซเรือนกระจกของพืชเศรษฐกิจ

ทั้งนี้เบื้องต้น"กรมวิชาการเกษตร"ได้ศึกษาการเก็บ คาร์บอน ไดออกไซด์ในอ้อย พบว่า อ้อย 1 ไร่ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 18.1 ตัน สามารถดูดซับคาร์บอนในรูปส่วนเหนือดินเฉลี่ย 3,698 กก.CO2 หรือช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้ 13,559 กก.CO2 โดยอ้อย 1 ตันสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 581 กก.CO2  

ดังนั้นพื้นที่ปลูก 10.8 ล้านไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 7.21 ตัน/ไร่จะสามารถช่วยดูดซับคาร์บอนในบรรยากาศมาอยู่ในรูปของลำอ้อยทั้งหมดได้ 215.1 ล้านตัน

กรมวิชาการเกษตร จับมือเอกชนวิจัยชุดข้อมูลลดก๊าซเรือนกระจกของพืชเศรษฐกิจ

นอกจากนั้นศึกษามันสำปะหลัง ในปีการผลิต 2565 มีเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ 11.07 ล้านไร่ ผลผลิตรวม 34.69 ล้านตัน โดยศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ได้ศึกษาการเก็บคาร์บอนฯ  พบว่าผลผลิตหัวสดสามารถกักเก็บคาร์บอนฯเฉลี่ย 0.870 ตันคาร์บอนต่อไร่ และดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 3.190 ตัน CO2 ต่อไร่  ดังนั้นมันสำปะหลังสามารถดูดซับ CO2 ในพื้นที่ปลูกทั้งประเทศประมาณ 30.11 ล้านตัน CO2 ต่อปี   

 

logoline