svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ผู้นำตุรกีเสี่ยงหลุดเก้าอี้ในศึกเลือกตั้งครั้งท้าทายที่สุด

11 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประธานาธิบดีเรเจป ไตยิบ แอร์โดอัน ของตุรกี เผชิญการเลือกตั้งครั้งท้าทายที่สุดที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์นี้ ท่ามกลางกระแสไม่พอใจของประชาชนต่อสภาพเศรษฐกิจและหายนะจากแผ่นดินไหว ทำให้เส้นทางอำนาจยาวนาน 20 ปีของเขาอาจถึงจุดสิ้นสุด

ผู้นำตุรกีเสี่ยงหลุดเก้าอี้ในศึกเลือกตั้งครั้งท้าทายที่สุด ตุรกีจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปและการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 14 พ.ค. โดยมีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 61 ล้านคน การเลือกตั้งประธานาธิบดีจัดขึ้นทุก 5 ปี โดยหากไม่มีผู้สมัครคนใดชนะด้วยคะแนนเสียงเกิน 50% จะต้องจัดเลือกตั้งรอบ 2 ในวันที่ 28 พ.ค. ที่เป็นการแข่งขันระหว่างสองผู้สมัครที่มีคะแนนสูงสุด ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปจัดขึ้นทุก 5 ปีเช่นกัน โดยเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวน 600 ที่นั่ง  ประธานาธิบดีเรเจป ไตยิบ แอร์โดอัน
ผลโพลล์บ่งชี้ว่า ประธานาธิบดีเรเจป ไตยิบ แอร์โดอัน วัย 69 ปี เผชิญการเลือกตั้งครั้งยากลำบากที่สุดในเส้นทางอำนาจยาวนาน 20 ปี ในขณะที่เขาเผชิญเสียงวิจารณ์อย่างมากต่อการบริหารเศรษฐกิจผิดพลาดและประเทศกำลังประสบกับเงินเฟ้อพุ่งสูงในระดับ 44% ความล่าช้าในการบรรเทาภัยพิบัติแผ่นดินไหวเมื่อเดือนก.พ. ที่คร่าชีวิตประชาชนมากกว่า 50,000 ราย ความล้มเหลวในการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันความสูญเสียในประเทศที่มีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหว และความหละหลวมในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานการก่อสร้างที่จะช่วย

และการเลือกตั้งครั้งนี้ถูกเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่ทำให้พรรคความยุติธรรมและการพัฒนา (AKP) ของแอร์โดอัน ชนะการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลในปี 2545 ในช่วงที่ตุรกีเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจและเงินเฟ้อพุ่งสูง  ผู้สนับสนุนของประธานาธิบดีเรเจป ไตยิบ แอร์โดอัน ร่วมฟังคำปราศรัยเนืองแน่น

สภาพจังหวัดฮาเตย์ หลังทุบทำลายซากตึกและเคลียร์เศษซากจากแผ่นดินไหว แต่ขณะนี้นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวโทษว่า ประธานาธิบดีแอร์โดอันทำให้เศรษฐกิจถลำเข้าสู่วิกฤต จากการยืนยันกดดอกเบี้ยต่ำทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงถึง 85% ในปีที่แล้ว และทำให้ค่าเงินลีรา ตกลง 80% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในช่วงเวลา 5 ปี  

สภาพเศรษฐกิจเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่เป็นวาระหลักในการหาเสียงเลือกตั้ง และปัจจัยที่ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งจะตัดสินใจเลือกพรรคและผู้สมัครประธานาธิบดีคนใด นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเรื่องวิกฤตค่าครองชีพ และความเสียหายจากแผ่นดินไหว

ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มีสิทธิออกเสียงครั้งแรกมากถึงเกือบ 8% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด และพวกเขาถูกมองว่า เป็นกลุ่มผู้มีสิทธิออกเสียงที่ยังไม่ตัดสินใจกลุ่มใหญ่ที่สุด

คนหนึ่ง บอกว่า แอร์โดอันและพรรค AKP อยู่ในอำนาจมานานพอแล้ว และถึงเวลาต้องมีการเปลี่ยนแปลง แต่หากเขายังได้รับเลือกตั้งอีกสมัย จะเป็นฝันร้ายของทุกคน ขณะที่อีกคน บอกว่า ไม่เคยรู้จักผู้นำตุรกีคนอื่นนอกเหนือจากแอร์โดอัน และอีกคน เชื่อว่า แอร์โดอันเป็นผู้นำที่มีบารมี ซึ่งจำเป็นมากที่ต้องมีผู้นำที่ทรงพลังแบบนี้ในการเมืองตุรกี รวมทั้งเชื่อว่า แอร์โดอันจะยังรักษาคะแนนเสียงไว้ได้จากความสำเร็จในอดีต

เคมัล คิลิชดาโรกลู คู่แข่งสำคัญในการเลือกตั้งประธานาธิบดี ขณะที่ผลโพลล์เมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่า เคมัล คิลิชดาโรกลู หัวหน้าพรรครีพับลิกัน พีเพิล (CHP) ซึ่งเป็นแกนนำของพันธมิตรฝ่ายค้าน 6 พรรค มีคะแนนนิยมแซงหน้าแอร์โดอันราว 2-5% ทำให้คาดว่า เขาอาจคว้าชัยชนะแต่ไม่ได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ทำให้ต้องลุ้นผลการเลือกตั้งรอบ 2

คิลิชดาโรกลู วัย 74 ปี อดีตข้าราชการเกษียณ ให้คำมั่นว่า หากชนะเลือกตั้ง เขาจะเปลี่ยนนโยบายหลายอย่างของแอร์โดอัน ซึ่งรวมถึง ระบบประธานาธิบดีที่รวบอำนาจบริหารไว้ทั้งหมด หลังจากแอร์โดอันยกเลิกระบบรัฐสภา ที่มีนายกรัฐมนตรี ในปี 2561 และรวมอำนาจศูนย์กลางไว้ที่ประธานาธิบดี และจะเพิ่มสิทธิและเสรีภาพมากขึ้นแก่พลเมือง  นอกจากนี้พันธมิตรของเขาให้คำมั่นว่าจะควบคุมเงินเฟ้อ คืนความอิสระแก่ธนาคารกลาง และปราบปรามคอร์รัปชัน  ผู้สนับสนุนของเคมัล คิลิชดาโรกลู ผู้สมัครประธานาธิบดี
ล่าสุด มูฮาร์เรม อินซ์ หนึ่งในผู้สมัครประธานาธิบดี 4 คน ประกาศถอนตัวในวันพฤหัสบดี (11 พ.ค.) โดยให้เหตุผลว่า มีการหาเสียงให้ร้ายป้ายสีเขา

ที่ผ่านมาเขาถูกวิจารณ์จากพรรคฝ่ายค้านอย่างหนักว่า ตั้งใจลงสมัครเพื่อแย่งคะแนนเสียงของฝ่ายค้าน ที่จะช่วยให้แอร์โดอันอยู่ในอำนาจต่อไป

แม้อินซ์ไม่ได้ประกาศสนับสนุนผู้สมัครคนใด แต่คาดว่า คะแนนนิยมของเขาที่ลดลงจากเกือบ 15% เหลือราว 2-4% เมื่อเร็ว ๆ นี้ อาจเทให้กับฝั่งคิชิดาโรกลูมากกว่าแอร์โดอัน และสื่อ คาดว่า การถอนตัวของเขาครั้งนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้พรรคฝ่ายค้านสามารถโค่นประธานาธิบดีแอร์โดอันลงจากตำแหน่ง

logoline