svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ก้าวต่อไป "ก้าวไกล" หลังถูกศาลฟันหาเสียงแก้ 112 = ล้มล้างการปกครอง

01 กุมภาพันธ์ 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากนี้ถือเป็นเรื่องให้ตามติดโดยเฉพาะเส้นทางของพรรคก้าวไกล และ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำตัดสินเป็นมติเอกฉันท์ ต่อกรณีนโยบายหาเสียงแก้ไขมาตรา 112 ถือเป็นการล้มล้างการปกครอง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง พร้อมทั้งมีคำสั่งให้ยุติการกระทำ

ซึ่งประเด็นนี้ผู้ที่ยื่นร้อง คือ "ธีรยุทธ สุวรรณเกษร" อดีตทนายความของอดีตพระพุทธะอิสระ ได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2566 กระทั่งวันที่ 12 ก.ค. 2566 หรือในปีเดียวกัน ศาลจึงรับคำร้องดังกล่าวไว้พิจารณา

แม้คำตัดสินในเรื่องนี้จะออกมาแล้ว แต่ "พิธา-ก้าวไกล" ก็ยังคงความเสี่ยง โดยเฉพาะประเด็นของการยุบพรรค เพราะล่าสุดนักร้องชื่อ อย่าง "เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และ "ธีรยุทธ" ต่างเดินทางไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เพื่อพิจารณายุบพรรคก้าวไกล โดยยึดแนวทางคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะถือว่ามีผลผูกพันต่อทุกองค์กร

เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 211 ระบุไว้ชัดเจนในวรรคสี่

  • องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทําคําวินิจฉัยต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่าเจ็ดคน
  • คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้ถือเสียงข้างมาก เว้นแต่รัฐธรรมนูญจะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
  • เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องใดไว้พิจารณาแล้ว ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญผู้ใดจะปฏิเสธไม่วินิจฉัยโดยอ้างว่าเรื่องนั้นไม่อยู่ในอํานาจของศาลรัฐธรรมนูญมิได้
  • คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ

ซึ่งการจะยื่นยุบพรรคการเมืองนั้นเป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560   

มาตรา 92 ระบุว่า ... เมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น

(1) กระทำการล้มล้างการปกครอง หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
(2) กระทำการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครอง


ดังนั้น เมื่อดูคำตัดสินจึงเห็นได้ว่าเข้าทางให้กับผู้ร้องสามารถใช้กฎหมายส่วนอื่น เป็นอีกช่องทางดำเนินการยื่นคำร้องเพื่อขอยุบพรรค 

สำหรับรายชื่อกรรมการบริหารพรรคปี 2564 ซึ่งเห็นชอบนโยบายให้แก้กฎหมายมาตรา 112 ประกอบด้วย 

  • พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล
  • ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรค

  •  

รองหัวหน้าพรรค 4 คน ประกอบไปด้วย

  1. พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาท
  2. พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์
  3. ณัฐวุฒิ บัวประทุม 
  4. ศิริกัญญา ตันสกุล

คณะโฆษกพรรค 4 คน ประกอบไปด้วย

  1. วิโรจน์ ลักขณาอดิศร
  2. ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์
  3. สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา
  4. ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ 

รองเลขาธิการพรรค 11 คน ประกอบไปด้วย

  1. ญาณธิชา บัวเผื่อน
  2. เอกภพ เพียรพิเศษ
  3. วรรณวลี ตะล่อมสิน
  4. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ
  5. ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล
  6. สุรเชษฐ์ ประวีณวงษ์วุฒิ
  7. สาววรรณวิภา ไม้สน
  8. จิรวัฒน์ อรัณยกานนท์
  9. คำพอง เทพาคำ
  10. รังสิมันต์ โรม
  11. ธีรเศรษฐ พัฒน์วราพงษ์

คณะกรรมการบริหาร 10 คน ได้แก่

  1. พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล
  2. ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรค
  3. ณธีภัสร์กุล เศรษฐสิทธิ์ เป็นเหรัญญิกพรรค
  4. ณกรณ์พงศ์ ศุภนิมิตรตระกูล นายทะเบียนสมาชิกพรรค
  5. ปดิพัทธ์ สันติภาดา กรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคเหนือ
  6. สมชาย ฝั่งชลจิตร กรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคใต้
  7. อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล กรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคกลาง
  8. เบญจา แสงจันทร์ กรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคตะวันออก
  9. อภิชาติ ศิริสุนทร กรรมการบริหารพรรคสัดส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  10. สุเทพ อู่อ้น กรรมการบริหารพรรคสัดส่วนปีกแรงงาน

สำหรับรายชื่อที่ร่วมเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 ล้วนเป็น สส. ของพรรคก้าวไกล ทั้งสิ้น รวม 44 คน ประกอบด้วย

  1. พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล
  2. พิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ สส.บัญชีรายชื่อ
  3. ธีรัจชัย พันธุมาศ สส.บัญชีรายชื่อ
  4. ญาณธิชา บัวเผื่อน สส.จันทบุรี
  5. ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ
  6. กัญจน์พงศ์ จงสุทธนามณี สส.บัญชีรายชื่อ
  7. เบญจา แสงจันทร์ สส.บัญชีรายชื่อ
  8. พ.ต.ต.ชวลิต เลาหอุดมพันธ์ สส.บัญชีรายชื่อ
  9. นิติพล ผิวเหมาะ สส.บัญชีรายชื่อ
  10. เท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร สส.กรุงเทพ
  11. ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ สส.กรุงเทพ
  12. ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ
  13. ปดิพัทธ์ สันติภาดา สส.พิษณุโลก
  14. อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล สส.บัญชีรายชื่อ
  15. ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัตร์ สส.บัญชีรายชื่อ
  16. ปริญญา ช่วยเกตุ คีรีรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ
  17. ณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ
  18. ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.กรุงเทพ
  19. ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ สส.บัญชีรายชื่อ
  20. สุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา สส.นครปฐม
  21. วรภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ
  22. คำพอง เทพาคำ สส.บัญชีรายชื่อ
  23. สมเกียรติ ถนอมสินธุ์ สส.กรุงเทพ
  24. ทองแดง เบ็ญจะปัก สส.สมุทรสาคร
  25. จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา
  26. จรัส คุ้มไข่น้ำ สส.ชลบุรี
  27. สุเทพ อู่อ้น สส.บัญชีรายชื่อ
  28. ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.บัญชีรายชื่อ
  29. อภิชาติ ศิริสุนทร สส.บัญชีรายชื่อ
  30. องค์การ ชัยบุตร สส.บัญชีรายชื่อ
  31. พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ สส.บัญชีรายชื่อ
  32. ณัฐพล สืบศักดิ์วงศ์ สส.บัญชีรายชื่อ
  33. ศักดินัย นุ่มหนู สส.ตราด
  34. มานพ คีรีภูวดล สส.บัญชีรายชื่อ
  35. วาโย อัศวรุ่งเรือง สส.บัญชีรายชื่อ
  36. วรรณวิภา ไม้สน สส.บัญชีรายชื่อ
  37. วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ
  38. สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ
  39. ทวีศักดิ์ ทักษิณ สส.บัญชีรายชื่อ
  40. สมชาย ฝั่งชลจิตร สส.บัญชีรายชื่อ
  41. สมเกียรติ ไชยวิสุทธิกุล สส.บัญชีรายชื่อ
  42. วุฒินันท์ บุญชู สส.สมุทรปราการ
  43. รังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ
  44. สุรวาท ทองบุ สส.บัญชีรายชื่อ

 

ประเด็นที่ทุกคนให้ความสนใจนอกเหนือจากคำวินิจฉัยของศาล 

ทว่า กระแสหนาหูก้าวไกลที่ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก คือ การยุบพรรค ซึ่งก็ได้ 2 นักร้องไปยื่นต่อ กกต. แล้วเป็นที่เรียบร้อย จากนี้ก็เหลือเพียงการเดินเครื่องพิจารณา เพราะเมื่อกฎหมายเขียนไว้ชัด ซึ่งขั้นตอนดำเนินการอยู่ในมาตรา 93 

  • นายทะเบียนรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน 
  • เสนอ กกต.ชุดใหญ่ 
  • กกต.เห็นว่ามีหลักฐานให้ควรเชื่อว่ากระทำการเข้าข่าย ให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค 


หากผลที่ตามมาเป็นไปในทิศทางซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 94 สรุปคือ

  • ยุบพรรค
  • เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทุกคน 
  • ห้ามใช้ชื่อ ชื่อย่อ และสัญลักษณ์ของพรรคที่ถูกยุบ
  • ห้ามกรรมการบริหารพรรคที่ถูกเพิกถอนสิทธิ ไปยุ่งเกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ 10 ปี

เมื่อเป็นแบบนี้ กรรมการบริหารพรรคทั้ง 10 คน ก็คงต้องเสียวสันหลัง

โอกาสรอดยุบพรรคจะมีหรือไม่

โดย "รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว" อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ให้ความเห็นไว้ว่า หากปรับท่าที และยอมรับคำวินิจฉัย โดยยืนยันว่าจะไม่แก้ไขเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในลักษณะเดิม ก็ยังพอมีโอกาส เนื่องจากคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คือ "สั่งให้ยุติการกระทำ" ซึ่งยังไม่มีความผิด ฉะนั้น ความผิดจะเกิดหากไม่ยอมเลิกการกระทำ และเชื่อว่าผู้มีอำนาจน่าจะประเมินแล้วว่า การยุบพรรคไม่มีประโยชน์ และอาจทำให้ก้าวไกลขยายฐานความนิยมขึ้นกว่าเดิม

สอดรับกับท่าทีก้าวไกลล่าสุด ที่ได้มีการลบลิงก์นโยบายดังกล่าวออกจากเว็ปไซด์พรรคไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นคำยืนยันจาก "ชัยธวัช ตุลาธน" หัวหน้าพรรค 

อีกประเด็นยังทำให้ก้าวไกลน่าเป็นห่วง

ต้องไม่ลืมว่าตลอดที่ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย ได้มีการเน้นย้ำโดยเฉพาะพฤติการณ์ของ สส. พรรคก้าวไกล ทั้งร่วมกิจกรรมการเคลื่อนไหว หรือใช้ตำแหน่งผู้แทนฯ ประกันตัวกลุ่มคนต้องคดีมาตรา 112 หรือแม้กระทั้งมี สส.ของพรรคตกเป็นผู้ต้องหาคดีนี้เอง อย่าง

  • ปิยรัฐ จงเทพ สส.กรุงเทพ 2 คดี
  • ชลธิชา แจ้งเร็ว สส.ปทุมธานี 2 คดี
  • รักชนก ศรีนอก สส.กรุงเทพ เป็นต้น


โดยเรื่องนี้ กระบวนการจะเริ่มต้นที่ ป.ป.ช. พิจารณาเกี่ยวกับมาตรฐานจริยธรรม ตามมาตรา 234 ของรัฐธรรมนูญ และเมื่อไต่สวนแล้วเสร็จก็จะเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาแผนกคดีนักการเมืองทำการวินิจฉัย หากศาลรับคำร้อง แน่นอนว่า "พิธา" จะถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่อีกครั้งหนึ่ง และหากผิดโอกาสปิดประตูตายทางการเมืองทุกระดับตลอดชีวิต หรือ "ใบดำ" ซึ่งเป็นโทษแรงสุดทางการเมือง  

ทั้งหมดเป็นภาพรวมให้ต้องจับตากับ "พรรคก้าวไกล" ต่อประเด็นทั้งหมดจะลงเอยแบบไหน อย่างไร มาร่วมลุ้นกัน 

 

 

logoline