svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เทียบสาระความเหมือนและต่างของ 4 ร่างกฎหมาย"สมรสเท่าเทียม"

23 ธันวาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อีกหนึ่งกฎหมายที่กำลังรอคอย เพราะจะเป็นบทสะท้อนถึงความเท่าเทียมต่อจากนี้  ภายหลังสภาผู้แทนราษฎร มีมติ 369 ต่อ 10 เสียง รับหลักการวาระแรก แก้ไขร่าง พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือ "กฎหมายสมรสเท่าเทียม" จำนวน 4 ฉบับ

โดยร่างกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรรับหลักการนั้น ประกอบด้วย

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.)
  • ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
  • สรรเพชญ์ บุญญามณี สส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์
  • ภาคประชาชนที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายกว่า 10,000 คน

เนื้อหาส่วนของใหญ่ของร่างกฎหมายทั้ง 4 ฉบับ มีความคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันในรายละเอียดบางส่วน  

สำหรับสาระสำคัญของร่างทั้ง 4 ฉบับ

  1. การสมรส และการหมั้น ทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้ง 2 ฝ่าย เมื่ออายุ 17-18 ปีบริบูรณ์
  2. การสมรสจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนต่อนายทะเบียน
  3. การหมั้น หากฝ่ายใดผิดสัญญา อีกฝ่ายมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน
  4. ผู้รับหมั้นหาผิดสัญญา ต้องคืนของหมั้นแก่ผู้หมั้น และคู่หมั้นอีกฝ่ายอาจเรียกค่าเสียหายจากผู้ซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้นตน ภายหลังการหมั้นได้
  5. คู่สมรสทุกเพศ มีสิทธิในสินสมรส เหมือนคู่สมรสชายหญิง
  6. สิทธิในการฟ้องหย่า
  7. การจัดการสินสมรสหลังหย่า
  8. สิทธิในมรดก

ความแตกต่างของร่างทั้ง 4 ฉบับ มีอะไรบ้าง?

อายุการสมรสระหว่าง 17-18 ปี

  • ครม. พรรคก้าวไกล 17 ปีบริบูรณ์
  • ภาคประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ 18 ปีบริบูรณ์ แต่ถ้ามีเหตุอันควร ศาลอาจอนุญาตให้สมรสก่อนนั้นได้

ระยะเวลาบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  • ภาคประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ 60 วัน
  • รัฐบาล พรรคก้าวไกล 120 วัน

สิทธิในการรับเลี้ยงบุตร

  • ภาคประชาชน เสนอให้ครอบคลุมไปถึงคำว่า "บุพการี"
  • รัฐบาล พรรคก้าวไกล และพรรคประชาธิปัตย์ "ไม่มีการแก้ไข"


อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนภายหลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติให้ความเห็นชอบรับหลักการร่างกฎหมายทั้ง 4 ฉบับแล้ว ที่ประชุมจะตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จำนวน 39 คน ขึ้นมา 1 ชุด เพื่อนำเนื้อหาในร่างกฎหมาย ทั้ง 4 ฉบับ ที่มีการเสนอมาปรับแก้ร่วมกัน ก่อนส่งให้ที่ประชุมสภาฯ พิจารณาต่อในวาระที่ 2 และวาระ 3 ต่อไป 

จากนี้จึงต้องมาลุ้นว่าเมื่อจบในชั้น กมธ. และเข้าสู่วาระที่ 2 ซึ่งเปิดให้ สส. ที่สงวนคำแปรญัตติในชั้น กมธ. รวมถึง สส. เข้าประชุม อภิปรายกันนั้น จะมีทิศทางเป็นไปอย่างราบรื่น เหมือนในชั้นรับหลักการหรือไม่ 

logoline