svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดกฏเหล็ก"พ.ร.บ.ตำรวจฯ"ปี 65 ใช้แต่งตั้ง"ผบ.ตร." ครั้งนี้เป็นครั้งแรก 

03 กันยายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จับตา "เศรษฐา ทวีสิน" นายกฯ เตรียมนั่งประธาน ประชุมก.ตร. ภายใต้กฎเหล็ก "พ.ร.บ.ตำรวจฯ"ฉบับปี65 นำมาใช้"แต่งตั้งผบ.ตร." คนใหม่ ครั้งนี้เป็นครั้งแรก

3 กันยายน 2565  ภายหลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง"นายเศรษฐา ทวีสิน" ดำรงตำแหน่งนายกฯ พร้อมจะมีการนำคณะรัฐมนตรี เข้าเฝ้าถวายสัตย์ฯ จากนั้นแถลงนโยบายรัฐบาลต่อที่ประชุมรัฐสภา 

ทันทีที่ "นายเศรษฐา" เริ่มบริหารราชการแผ่นดินอย่างเป็นทางการ ปรากฎ วาระงานสำคัญ โดยมีกำหนดการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ในวันที่ 14 กันยายนนี้  

การประชุม ก.ตร. ครั้งนี้ "นายเศรษฐา" ในฐานะนายกฯจะต้องทำหน้าที่ ในเรื่องการคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ แต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ที่สำคัญกว่านั้น  คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) จะนำพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ  พ.ศ. 2565 มาตรา 77  มาประกอบการแต่งตั้ง ผบ.ตร. ในครั้งนี้ 

เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ เตรียมประชุม ก.ตร. เพื่อพิจารณาแต่งตั้ง ผบ.ตร. วันที่ 14 ก.ย.นี้

สำหรับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งให้แต่งตั้งตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

(1) ตำแหน่ง"ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ"จะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งจากข้าราชการตำรวจยศพลตำรวจเอกซึ่งดำรงตำแหน่ง"จเรตำรวจแห่งชาติ"หรือ"รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ"    

มาตรา 78 การคัดเลือกแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 77(1)(2)(3)(4)(5)(6) ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 
                                                         
(1) การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่งตาม มาตรา 77

(1) ให้นายกรัฐมนตรีคัดเลือกรายชื่อพนักงานตำรวจผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 77(1)โดยคำนึงถึงอาวุโสและความรู้ความสามารถประกอบกันโดยเฉพาะประสบการณ์ในงานสืบสวนสอบสวนหรืองานป้องกันปราบปราม เสนอ ก.ตร.เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนแล้วให้ "นายกรัฐมนตรี" นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง         

                    เปิดกฏเหล็ก\"พ.ร.บ.ตำรวจฯ\"ปี 65 ใช้แต่งตั้ง\"ผบ.ตร.\" ครั้งนี้เป็นครั้งแรก 

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า  ตามเจตนารมย์ของกฎหมายต้องการให้แต่งตั้ง"ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ"โดยให้คำนึงถึงความอาวุโสและความรู้ความสามารถประกอบกันหมายความว่า ให้น้ำหนัก อาวุโสต้อง 50 % และความรู้ความสามารถอีก 50% อย่างละเท่าๆกัน ดังนั้นคณะกรรมการที่พิจารณาต้องเอาอาวุโสขึ้นพิจารณาก่อนโดยแบ่งเป็นคะแนนอาวุโสกับความรู้ความสามารถอย่างละ 50%เท่าๆกัน

เมื่อเรียงอาวุโสแล้วใครอาวุโสสูงสุดในระดับ"พลตำรวจเอก"ด้วยกัน ตั้งแต่"จเรตำรวจแห่งชาติ" หรือรองผู้บัญชาการตำรวจ

เมื่อเรียงอาวุโสแล้วใครอาวุโสสูงสุดคนที่อาวุโสสูงสุดก็จะได้คะแนนเต็ม 50% ส่วนคนที่รองลงมาก็เฉลี่ยลงมาว่าจะได้กี่% โดยเอาคนอาวุโสสูงเป็น 100% โดยนับจากคนที่อาวุโสสูงสุดกับอายุราชการด้วยก็จะได้คะแนนเต็ม 50% ส่วนคนที่รองลงมาก็เฉลี่ยลงมาว่าจะได้กี่% โดยเอาคนที่ได้ 50% เต็มคิดเป็น 100% 

โดยนับอาวุโสกับระยะเวลาอายุราชการและคำนวณสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ออกมา ส่วน 50% หลังให้พิจารณาแบ่งเป็น 5 สายงาน ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติใช้พิจารณาแต่ให้คะแนนประสบการณ์งานสืบสวนสอบสวนและงานปราบปรามเป็นหลักมากกว่าคะแนนด้านอื่น

เพราะมาตรา 78 (1) เน้นคำว่าโดยเฉพาะประสบการณ์ในงานสืบสวนสอบสวนหรืองานป้องกันปราบปราม แต่ในสายงานอื่นก็ต้องมีคะแนนด้วยการกำหนดคะแนนต้องกำหนดให้เกิดความเป็นธรรม 

พล.ต.อ. รอย อิงคไพโรจน์  รอง ผบ.ตร. (นรต.40)

พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร.(นรต.41) เกษียณอายุราชการ ปี 2569

 

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.(นรต.47) เกษียณอายุราชการ ปี 2574

 

พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. บรรจุเป็นข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรรุ่น 4 เกษียณอายุราชการ ปี 2567

ผู้สื่อข่าว รายงานอีกว่า โดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้ เช่น งานสืบสวน 12 คะแนนงานสอบสวน 12 คะแนนงานป้องกันปราบปราม 12 คะแนน งานที่เหลืออีกสองด้านด้านละ 7 คะแนน เป็น 14 คะแนน รวมเป็น 50 คะแนน ให้มีการกำหนดช่วงห่างการให้คะแนน ต้องกำหนดไว้เลยว่าถ้าใครผ่านงานชนิดใดมามากน้อยเท่าใดแล้วจะได้คะแนนมากน้อยเท่าใด แต่ถ้าใครไม่ผ่านงานด้านใดมาเลยต้องไม่มีคะแนน

เปิดกฏเหล็ก\"พ.ร.บ.ตำรวจฯ\"ปี 65 ใช้แต่งตั้ง\"ผบ.ตร.\" ครั้งนี้เป็นครั้งแรก 

ทั้งนี้  เป็นการกำหนดกรอบการให้คะแนนไว้เพื่อป้องกันการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจของคณะกรรมการ คัดเลือก เพื่อไม่ให้คะแนนของผู้เข้ารับการคัดเลือกแตกต่างกันอย่างมาก ความรู้ความสามารถ 50% ถ้าให้ 50 คะแนนควรให้ทุกสายงานเท่ากันเพราะผู้บริหารควรมีทุกอย่าง  ป้องกันปราบปรามสืบสวนสวนบริหารมั่นคงและกิจการพิเศษกฎหมายและคดี

โดยไม่มีการกำหนดกฏเกณฑ์ตั้งแต่แรก หรือกำหนดกฏเกณฑ์แบบไม่เป็นธรรม เพื่อให้การคัดเลือกครั้งนี้เป็นไปโดยเป็นธรรมและให้ได้ผู้ที่มีความอาวุโสและมีความรู้ความสามารถ โดยเฉพาะประสบการณ์ในงานสืบสวนสอบสวนและงานป้องกันปราบปรามตามเจตนารมย์ของมาตรา 78 (1) อย่างแท้จริง เทียบเคียงคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด อ.155/2561

อ้างอิง คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด อ.155/2561

การไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และกรอบการให้คะแนนผู้เข้าสอบแข่งขันภาคความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่งเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและคณะกรรมการสอบมีจำนวนมากถึง ๒๐ ชุด หรือ ๖๐ คน คณะกรรมการสอบจึงสามารถใช้ดุลพินิจในการให้คะแนนแก่ผู้เข้าสอบแข่งขันได้อย่างอิสระและเปิดกว้างตามดุลพินิจเพียงใดก็ได้เป็นการก่อให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ

และการใช้ ระยะเวลาสอบประมาณ ๕ นาที และใช้คำถามในเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับการทำงานเพียงเล็กน้อย โดยไม่ปรากฏพฤติการณ์ บ่งชี้ถึงความไม่เหมาะสมในด้านต่างๆตามที่ประกาศกำหนดไว้

รวมทั้งไม่ได้แสดงพยานหลักฐานว่ามีข้อเท็จจริงหรือ เหตุผลใดที่ใช้พิจารณาให้คะแนนผู้ฟ้องคดีแตกต่างจากผู้สอบแข่งขันรายอื่นอย่างมาก

จึงไม่มีเหตุผลรองรับการใช้ดุลพินิจการให้คะแนนดังกล่าวได้อย่างชัดเจน

ประกอบกับการไม่ได้กำหนดกรอบการให้คะแนนไว้มีลักษณะเป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจจึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบทำให้การสอบแข่งขันครั้งนี้ไม่เป็นธรรมและไม่ทำให้ได้ผู้ที่มีความรู้เหมาะสมกับแหน่งอย่างแท้จริง

 

logoline