svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ประธานสภา"ตำแหน่งนี้สำคัญไฉน เลือกกันอย่างไร ใครจะเข้าวินได้ฤกษ์ 4 กรกฎาฯ

04 กรกฎาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

4 กรกฎาคม การประชุมสภาเพื่อเลือกประมุขและรองประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ โดยล่าสุด สองพรรค เพื่อไทย ก้าวไกล เห็นร่วมกัน เสนอ "วันนอร์" ขึ้นเป็นประธานสภา ขณะที่"รองประธานสภา" อันดับ 1 ยกให้ "ก้าวไกล" และ รองประธานสภาอันดับสอง เป็นของ"เพื่อไทย"

"เนชั่นทีวี" ขอพาไปดูขั้นตอนของการโหวตเลือกประธานสภากันก่อน ว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง รวมทั้งในอดีตที่ผ่านมา ใครบ้างที่ได้เป็นประธานสภามาแล้วหลายสมัย และนานที่สุด

ความสำคัญของประธานสภาผู้แทนราษฎร นอกเหนือจากควบคุมการประชุม และทำหน้าที่อื่นๆ ตามบทบัญญัติของ"รัฐธรรมนูญ"แล้ว ประธานสภาล่างในฐานะ "สภาตัวแทนประชาชน" ยังเป็นประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง หมายถึงประธานของ 2 สภา คือ ทั้งสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา เวลาประชุมร่วมกัน ถือเป็นการยืนยันหลักการประชาชนต้องเป็นใหญ่ และการทำหน้าที่ของสภา ต้องยึดโยงโดยตรงกับประชาชน

ตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา กำหนดให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็น "ประธานรัฐสภา" ตำแหน่งนี้จึงมีความสำคัญ และถือเป็นประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ หนึ่งในสามอำนาจอธิปไตยของประเทศไทย

\"ประธานสภา\"ตำแหน่งนี้สำคัญไฉน เลือกกันอย่างไร ใครจะเข้าวินได้ฤกษ์ 4 กรกฎาฯ

สำหรับขั้นตอนการเลือก"ประธานสภา"และรองประธานสภา เมื่อมีสภาใหม่ และเพิ่งเปิดสภาครั้งแรก ยังไม่มีประธานทำหน้าที่ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 กำหนดให้ ส.ส. ผู้ที่มีอายุสูงสุดทำหน้าที่เป็นประธานชั่วคราว เพื่อควบคุมการประชุมให้การดำเนินการเลือกประธานและรองประธาน เป็นไปตามระเบียบ

วันมูหะหมัดนอร์  มะทา  หัวหน้าพรรคประชาชาติ จะได้รับการเสนอชื่อให้เป็นประธานสภา

แต่หากกรณีที่ผู้ที่เป็นประธานชั่วคราวได้รับการเสนอชื่อเป็นประธานหรือรองประธานสภา ให้ ส.ส. ผู้มีอายุสูงสุดลำดับถัดไปมาทำหน้าที่เป็นประธานชั่วคราวแทน

ทั้งนี้ สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิ์เสนอชื่อสมาชิกได้หนึ่งชื่อ โดยการเสนอนั้นต้องมีจำนวนสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 20 คน จากนั้นผู้ถูกเสนอชื่อจะต้องแสดงวิสัยทัศน์ต่อที่ประชุม โดยไม่มีการอภิปราย และหากเสนอชื่อเดียว ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับเลือกเป็น"ประธานสภา"ไปเลยโดยไม่ต้องลงมติ

แต่ไฮไลต์อยู่ตรงที่ ถ้ามีการเสนอชื่อหลายคน ให้มีการลงคะแนนลับ และให้ประธานประกาศชื่อผู้ถูกรับเลือกต่อที่ประชุม

ที่สำคัญการเสนอชื่อ ผู้เสนอและผู้ถูกเสนอไม่จำกัดว่าต้องสังกัดพรรคการเมืองเดียวกัน ซึ่งไฮไลต์ 2 เรื่องนี้ คือ ทั้งกระบวนการเสนอชื่อ และการลงคะแนนลับ จึงถือเป็นปัจจัยแทรกซ้อนทำให้การโหวตเลือกประธานสภา ไม่สามารถบล็อกโหวตได้ 100 เปอร์เซ็นต์

และเมื่อได้ประธานรวมถึงรองประธานสภาแล้ว เลขาธิการจะส่งชื่อไปที่นายกรัฐมนตรี เพื่อนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้ง ประกาศพระบรมราชโองการไปยังวุฒิสภาเพื่อทรา

สำหรับอำนาจหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งประธานและรองประธานสภา

รัฐธรรมนูญมาตรา 80 บัญญัติเอาไว้ว่า ต้องวางตัวเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ , โดยหน้าที่หลักๆ ก็คือกำกับดูแลการดำเนินกิจการของสภา , ควบคุมความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมและบริเวณสภา , เป็นผู้แทนสภาในกิจการภายนอก , แต่งตั้งกรรมการเพื่อดำเนินกิจการใดๆ อันเป็นประโยชน์ต่อสภา

เปิดโฉมประมุขนิติบัญญัติใครนั่งมากสุด

หากย้อนดูหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยบนบัลลังก์เก้าอี้ประธานสภา หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ประเทศไทยมีประมุขนิติบัญญัติมาแล้ว 26 คน แต่ผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานสภามากกว่า 1 สมัย มีด้วย 7 คน และผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานสภามากที่สุด คือ 3 สมัย ประกอบด้วย 

\"ประธานสภา\"ตำแหน่งนี้สำคัญไฉน เลือกกันอย่างไร ใครจะเข้าวินได้ฤกษ์ 4 กรกฎาฯ

  1. เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี 28 มิ.ย.-1 ก.ย. 2475 / 15 ธ.ค. – 26 ก.พ. 2476 (2 สมัย)
  2. พลเรือตรี พระยาศร ยุทธเสนี 10 มี.ค. 2476-22 ก.ย. 2477 / 6 ก.ค. 2486-24 มิ.ย. 2487 (2 สมัย)
  3. พระยามานวราชเสวี 3 ส.ค. 2479 – 24 มิ.ย. 2486 / 2 ก.ค. 2487 – มิ.ย. 2489 (2 สมัย)
  4. เกษม บุญศรี 4 มิ.ย. 2489 – 10 พ.ค. 2490 / 20 ก.พ. 2491 – 14 มิ.ย. 2493 (2 สมัย)
  5. พลเอก พระประจน ปัจจนึก 1 ธ.ค. 2494 – 20 ก.ย. 2500 /15 ธ.ค. 2500 – 20 ต.ค. 2501 (2 สมัย)
  6. "อุทัย พิมพ์ใจชน" 19 เม.ย. 2519 – 6 ต.ค. 2519 / 27 เม.ย. 2526 – 1 พ.ค. 2529 / 6 ก.พ. 2544 – 5 ม.ค. 2548 (3 สมัย)
  7. "ชวน หลีกภัย" 4 ส.ค. 2529 – 29 เม.ย. 2531 / 28 พ.ค. 2562 – 20 มี.ค. 2566 (2 สมัย)


 

logoline