svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ศรีสุวรรณ" ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลรธน.ตีความ ปมนับรวมต่างด้าว

14 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ศรีสุวรรณ" ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ แบ่งเขตราษฎรนับรวมต่างด้าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ขณะที่กกต.มีมติส่งศาลรธน.พิจารณา

14 กุมภาพันธ์ 2566 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายปิยะ ลือเดชกุล ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการเพื่อการบริหารงาน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็น ต่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย กรณีความไม่ชัดเจนของการแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต.โดยนับรวมคนต่างด้าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

\"ศรีสุวรรณ\" ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลรธน.ตีความ ปมนับรวมต่างด้าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

โดย นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า สืบเนื่องจากมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ฉบับที่1) พ.ศ.2564  ม.86 ประกอบการแก้ไข ม.26 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)  ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2566 ว่าการกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่แต่ละจังหวัดจะพึงมี และการแบ่งเขตเลือกตั้ง ให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งนั้น หมายความรวมถึงจำนวนราษฎรผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น หรือหมายความรวมถึงราษฎรที่เป็นคนต่างด้าวด้วยหรือไม่ อย่างไร

ความไม่ชัดเจนของการแบ่งเขตเลือกตั้งครั้งนี้ อาจเป็นเงื่อนไขในการนำไปสู่การเลือกตั้งโมฆะ แบบที่เคยเกิดเมื่อปี 2549 กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างเหตุผล เรื่องการจัดคูหาเลือกตั้ง เป็นผลให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบมาแล้ว และเป็นผลให้คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องโทษฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ หรือทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามที่กฎหมายบัญญัติมาแล้ว

นายปิยะ ลือเดชกุล ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการเพื่อการบริหารงาน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน

ความไม่ชัดเจนของการแบ่งเขตเลือกตั้ง เนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อ้างว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้จำนวนราษฎร ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย รวมทั้งคนไทยและคนต่างด้าว ในขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีให้ความเห็นว่า ควรนับรวมเฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น 

ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนไม่ให้เกิดปัญหากันในอนาคต สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย  จึงได้นำความมาร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ใช้อำนาจตาม ม.230 ประกอบ ม.231(1) ของรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อเสนอเรื่องพร้อมความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยเป็นการเร่งด่วนต่อไป

ส่วนที่กกต. มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความในเรื่องดังกล่าวแล้วนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดินจะดำเนินการต่อหรือไม่ นายปิยะ กล่าวว่า ต้องดูว่าประเด็นดังกล่าวอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่จะสามารถส่งเรื่องนี้ได้หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไของค์ประกอบผู้ตรวจฯ  ก็อาจจะส่งศาลรัฐธรรมนูญ  แต่ถ้าพิจารณาแล้วไม่เข้าเงื่อนไขก็จะไม่ส่ง

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) วันนี้(14 ก.พ.) มีมติส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เรื่องการนำจำนวนราษฎรที่ไม่มีสัญชาติไทย มาคิดคำนวณจำนวน ส.ส. ที่แต่ละจังหวัดพึงมีและแบ่งเขตเลือกตั้ง  

หลังหลายฝ่ายมีความไม่สบายใจและมีความเห็นที่แตกต่าง ทั้งจากประชาชน พรรคการเมือง นักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการของ กกต. ทำให้การทำงานของ กกต.เกิดความเคลือบแคลง ควรจะมีแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไร ซึ่งหาข้อสรุปไม่ได้ จึงมีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา

logoline