svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สถานการณ์น่าเป็นห่วง "ทะเลเดือด" สะเทือนถึงสิ่งมีชีวิตทางทะเล

06 พฤษภาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

โลกร้อน ทะเลเดือด สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง สะเทือนถึงสิ่งมีชีวิตโลกใต้ทะเล ทั้งปะการัง-ดอกไม้ทะเลฟอกขาว กระทบต่อปลาการ์ตูน ทางไหนที่จะช่วยได้บ้าง?

ปัจจุบันวิกฤตโลกร้อน ทะเลเดือด น่าเป็นห่วง เนื่องจากส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นทำให้เกิดปรากฏการณ์ "ปะการังฟอกขาว" รวมถึง ดอกไม้ทะเลอ่อนแอลง จนกระทบต่อปลาการ์ตูน ที่อาศัยดอกไม้ทะเลเป็นบ้าน จึงอ่อนแอตามไปด้วย และกลายเป็นเหยื่อปลาอื่นได้ง่าย   

พบปะการังฟอกขาวแล้วกว่า 10% ที่กระบี่ 
สถานการณ์น่าเป็นห่วง \"ทะเลเดือด\" สะเทือนถึงสิ่งมีชีวิตทางทะเล ยกตัวอย่าง  แนวปะการังบริเวณเกาะผักเบี้ย เกาะเหลาลาดิง และเกาะห้อง ในเขตอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ปะการังจำนวนหนึ่ง เริ่มมีสภาพฟอกขาว กลายเป็นภาพที่สะเทือนความรู้สึกของบรรดานักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตลอดจนชาวบ้านในพื้นที่ 

สถานการณ์น่าเป็นห่วง \"ทะเลเดือด\" สะเทือนถึงสิ่งมีชีวิตทางทะเล นายศิริวัฒน์ สืบสาย หัวหน้าอุทยานฯ ธารโบกขรณี เปิดเผยว่า เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติฝ่ายศึกษาและวิจัย ลงพื้นที่ดำน้ำเก็บขยะในแนวปะการัง โดยขยะที่จัดเก็บได้ คือ เศษอวน และพลาสติก น้ำหนักรวมกันประมาณ 15 กก. นอกจากจะลงเก็บขยะแล้ว ยังมีการสำรวจ และติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาว บริเวณเกาะเมย และเกาะเหลากา ในหมู่เกาะห้อง 
สถานการณ์น่าเป็นห่วง \"ทะเลเดือด\" สะเทือนถึงสิ่งมีชีวิตทางทะเล จากการสำรวจพบว่า ในระดับความลึก 2-3 เมตร อุณหภูมิของน้ำทะเลอยู่ที่ 32 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ปะการังเริ่มมีการฟอกขาว ชนิดที่มีการฟอกขาวทั้งโคโลนี ประมาณ 10% ในพื้นที่ คือ ปะการังโขด (Porites sp.) และ ปะการังเห็ด (Fungia sp.) และมีปะการังอีกจำนวนหนึ่งที่สีเริ่มซีดลงแต่ยังไม่เกิดการฟอกขาว ถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เพราะสภาพอากาศในปัจจุบัน ยังคงมีอุณหภูมิสูงต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อน้ำทะเล และปะการังในทะเล โดยหลังจากนี้ เจ้าหน้าที่จะติดตามความเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด เพื่อเก็บข้อมูลไว้ศึกษาต่อไป

ทะเลไทยร้อนที่สุดทำลายสถิติในรอบ 40 ปี 

ขณะที่ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า น้ำทะเลไทยร้อนที่สุดตั้งแต่เคยตรวจวัดมา หายนะปะการังฟอกขาวเพิ่งเริ่มต้น เราอาจเจอระดับรุนแรงสุดๆ เป็นข้อมูลของ NOAA สถาบันหลักของโลกในด้านนี้ 
ภาพจากเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat

พร้อมกันนี้ "อ.ธรณ์" ได้เผยภาพกราฟอุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเล โดยอธิบายว่า ภาพบนคือกราฟอุณหภูมิผิวหน้าน้ำทะเล เราตรวจวัดโดยใช้ดาวเทียม ย้อนไปได้ตั้งแต่ปี 1985 อันเป็นจุดเริ่มที่เราใช้ดาวเทียมวัดอุณหภูมิน้ำเป็นครั้งแรก

เส้นสีดำคือกราฟของปีนี้ 2024 จะเห็นว่าอุณหภูมิน้ำในช่วงนี้อยู่เหนือทุกเส้น ทำลายสถิติในรอบ 40 ปี (และอาจเป็นตลอดกาลแต่ก่อนหน้านั้นเราวัดไม่ได้) สอดคล้องกับข้อมูลน้ำจากสถานีโทรมาตรของคณะประมงที่เพิ่งนำมาให้เพื่อนธรณ์ดู ยังสอดคล้องกับข้อมูลจากหลายหน่วยที่รายงานกันเข้ามา น้ำทะเลช่วงนี้ร้อนสุดๆ

เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยน้ำทะเล 40 ปี (ดูดีๆ จะเห็น + สีม่วง) จะเห็นว่าน้ำร้อนจัดต่อเนื่อง 2 เดือน คือเมษายนและพฤษภาคม ก่อนจะเย็นลงนิดเมื่อถึงเดือนมิถุนายน เพราะเข้าหน้าฝนแล้ว หมายความว่าน้ำทะเลที่ร้อนจัดจนทำลายสถิติ อาจอยู่กับเราไปอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ แน่นอนว่าส่งผลกับปะการัง 

คราวนี้มาดูภาพล่าง เป็นแผนที่มีสีต่างๆ นั่นคือระดับการฟอกขาวของปะการัง เริ่มจากมุมซ้ายบน เป็นสถานการณ์ปัจจุบัน สีส้มคือ warning (เฝ้าระวัง) สีแดงคือ Alert L1 (ฟอกขาว)

ข้อมูลค่อนข้างตรงกับรายงานจากฝ่ายต่างๆ ปะการังตามชายฝั่งเริ่มฟอกแล้ว ปะการังเกาะห่างฝั่งยังอยู่ระดับสีซีด
สังเกตภาพเกจวัด หากดูสถานการณ์รวม ตอนนี้เราอยู่ในระดับ Alert 1 หรือฟอกขาว

เขยิบไปภาพมุมขวาบน (week 1-4 ต่อจากนี้) สีส้มหายไปเกือบหมด กลายเป็นสีแดง (ฟอกขาว) และสีแดงเข้ม (ฟอกขาวรุนแรง) หมายความว่าเราจะเจอปะการังฟอกขาวหนักขึ้นตลอดเดือนพฤษภาคม ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน 

ฝนอาจบรรเทาได้บ้าง แต่ก็ต้องลุ้นว่าได้แค่ไหน เพราะหากน้ำยังร้อนต่อเนื่อง ฝนก็แค่ช่วยนิดหน่อย เกจวัดเด้งไปอยู่ Alert 2 แล้วครับ 

คราวนี้มาดูภาพมุมซ้ายล่าง 4-8 อาทิตย์ต่อจากนี้ คิดง่ายๆ ประมาณเดือนมิถุนายน 

แม้อุณหภูมิน้ำเริ่มลดลงนิดหน่อย แต่ปะการังที่แช่น้ำร้อนมาตลอดเมษา-พฤษภา อ่อนแอมากจนยังเกิดการฟอกขาวต่อเนื่อง 

เดือนมิถุนายนอาจเป็นเดือนที่เราเห็นปะการังขาวโพลนทั่วทะเลไทย แม้เข้าหน้าฝน แต่ก็อาจสายไปแล้ว

เกจวัดยังคงอยู่สเกลสูงสุด Alert 2 ภาพสุดท้าย มุมขวาล่าง 9-12 อาทิตย์ต่อจากนี้ ประมาณกรกฎาคม การฟอกขาวเริ่มสิ้นสุด เราจะรู้ได้ว่าปะการังตายหรือรอดแค่ไหน

ถ้าดูจากสถานการณ์ทั้งหมด หนนี้คงเป็นการฟอกขาวครั้งใหญ่ และอาจมากกว่าปี 2553 ซึ่งเป็นการฟอกขาวครั้งใหญ่สุดของไทย (ฟอกทั้งอ่าวไทยและอันดามัน)

จึงอยากบอกเพื่อนธรณ์ว่า ที่ผ่านมาเป็นแค่เผาหลอก ทะเลเดือดระดับเผาจริงจะเริ่มนับจากนี้เป็นต้นไป 

ปะการังจะฟอกขาวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงปลายมิถุนายน เป็นเรื่องที่น่าหดหู่อย่างยิ่ง แต่ก็ต้องพยายามต่อไป 

ช่วงนี้ผมออกทะเลทุกอาทิตย์ครับ

ทะเลเดือดกำลังคร่าชีวิต "ปลาการ์ตูน"

ภาพจากเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat
ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ "อ.ธรณ์" ได้โพสต์ข้อความว่า ทะเลเดือดกำลังฆ่าปลาการ์ตูน ภาพที่เห็นอยู่นี้ เพื่อนธรณ์ส่งมาจากทะเลตรัง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนนี้น้ำร้อนจัด ปะการังน้ำตื้นฟอกขาว ดอกไม้ทะเลก็เช่นกัน

พร้อมระบุว่า นักวิทยาศาสตร์พบว่า ในช่วงน้ำร้อนจัด ปลาการ์ตูนที่อยู่กับดอกไม้ทะเลฟอกขาว จะอ่อนแอมากกว่าปรกติ คล้ายมีความเครียด กลายเป็นเหยื่อปลาอื่นง่าย ที่สำคัญ อัตราฟักออกจากไข่ของลูกปลาการ์ตูนจะลดลงเกินครึ่งหรือกว่านั้น

ปลาการ์ตูนวางไข่ติดพื้นข้างฐานดอกไม้ทะเล เราสามารถนับได้ว่ารอดแค่ไหน เมื่อนำทุกอย่างมารวมกัน ตาย ตัวเล็กลง ปลาอ่อนแอ ลูกปลาเกิดน้อยลงมาก 

เมื่อดูในภาพ มีดอกไม้ทะเลฟอกขาวหลายกอ เริ่มน่าเป็นห่วงครับ ทางช่วยคือดูอยู่ห่างๆ อย่าไปรบกวนปลาในช่วงอ่อนแอ เพราะอาจส่งผลต่อปลาที่ไม่ค่อยปรกติ ยังอาจส่งผลต่ออัตราฟักไข่ที่ต่ำมากอยู่แล้วเพราะน้ำร้อน

"อ.ธรณ์" ย้ำด้วยว่า น้ำปีนี้ร้อนจัด ต้องภาวนาให้ฝนตกลงมานานๆ เมฆบังแดดเยอะๆ ที่สำคัญ เราอย่าซื้อดอกไม้ทะเลมาเลี้ยง บอกได้ว่ารอดยาก ที่สำคัญคือผิดกฏหมาย 

ดอกไม้ทะเลเป็นสัตว์คุ้มครอง เพื่อนธรณ์เห็นใครขาย/เลี้ยง/มีไว้ในครอบครอง หากไม่ใช่เพื่อการวิจัยหรือหน่วยงานราชการหรือมีใบอนุญาต สามารถแจ้งกรมทะเลได้โดยตรง

ร่วมช่วยลดโลกร้อนทุกทาง

ผู้เขียนขอยกแนวทางที่เราช่วยลดโลกร้อนทุกทางได้ มาเล่าให้อ่านกัน เช่น ไม่ทิ้งขยะลงทะเล ซึ่งอาจช่วยบรรเทาผลกระทบ นอกจากนี้ เรายังสามารถช่วยกันดูแลรักษา และอนุรักษ์แนวปะการัง เริ่มจากการลดการสร้างมลภาวะที่ทำได้ดังต่อไปนี้

  • ลดการใช้รถโดยไม่จำเป็น
  • ลดการเผาสิ่งปฏิกูล
  • หลีกเลี่ยงการกระทำที่จะเป็นการทำลายแนวปะการัง ด้วยการทำระบบบำบัดน้ำเสีย
  • ระมัดระวังการใช้ปุ๋ยในการเกษตร เพราะเมื่อถูกชะล้างลงสู่ทะเลจะส่งผลกระทบต่อสาหร่ายในแนวปะการัง
  • ไม่ทิ้งขยะตามชายฝั่งทะเล

เปิด 5 ข้อควรปฏิบัติ คุณก็เที่ยวทะเลเชิงอนุรักษ์ได้

1.ลดการใช้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก
ขยะพลาสติกเมื่อลงสู่ทะเล จะกลายเป็นอันตรายต่อเหล่าสิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น เต่าทะเล อาจคิดว่าถุงพลาสติกนั้นเป็นแมงกระพรุน ซึ่งเป็นอาหารของมัน

2.ไม่ทิ้งขยะลงในทะเล เหตุผลที่ไม่ควรทิ้งขยะลงในทะเล เนื่องจากขยะเพียงหนึ่งชิ้นก็สามารถคร่าชีวิตของสัตว์ต่างๆในทะเลได้ 

3.ใช้ครีมกันแดดที่เป็นมิตรกับปะการัง ก่อนลงเล่นน้ำ หรือดำน้ำ ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่สีสารเคมีที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะสารเคมีบางตัวในครีมกันแดด สามารถทำอันตรายต่อปะการัง รวมถึงสิ่งมีชีวิตได้ 

4.ไม่เหยียบ-นั่ง-ยืน บนปะการัง เมื่อไปทำกิจกรรมดำน้ำ ทั้งดำน้ำตื้นหรือน้ำลึก เราไม่ควรเหยียบ ยืนหรือนิ่งบนช่อปะการัง เพราะการทำแบบนั้น สามารถทำให้ปะการังเสียหาย อีกทั้ง เป็นการรบกวนสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในปะการังอีกด้วย

5.ปฏิบัติตามคำเตือนและข้อปฏิบัติของพื้นที่นั้นโดยเคร่งครัด บางพื้นที่ จะมีข้อห้าม รวมถึง ข้อควรปฏิบัติ หากไปท่องเที่ยว ณ สถานที่นั้นๆ เราก็ควรทำตามข้อปฏิบตัเหล่านั้น อาทิ บางเกาะห้ามนำพลาสติกเข้าเกาะ เพราะมีนโยบายมีขยะพลาสติกบนเกาะให้เป็น 0 ลดมลพิษจากขยะพลาสติกที่อาจไหลลงสู่ทะเลได้ เป็นต้น

มาถึงตรงนี้แล้ว จะเห็นว่าวิกฤตโลกร้อน ทะเลเดือด กำลังส่งผลกระทบต่อบรรดาสิ่งมีชีวิตในทะเล อย่างปะการัง ดอกไม้ทะเล และปลาการ์ตูน คงถึงเวลาแล้วที่เราต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้พวกเขายังคงอยู่คู่กับท้องทะเลไปอีกนานแสนนาน


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก :
เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat 
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
Tripderntang.com
https://www.springnews.co.th/spring-life/823163

logoline