svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

วันนี้ในอดีต 12 มีนาคม 2547 "ทนายสมชาย นีละไพจิตร" ผู้ถูกบังคับสูญหาย

11 มีนาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันนี้ในอดีต 12 มีนาคม พ.ศ. 2547 อุ้มหาย "ทนายสมชาย นีละไพจิตร" อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน

12 มีนาคม 2547 เป็นวันสุดท้ายที่มีคนพบเห็น "สมชาย นีละไพจิตร" ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน แบบมีลมหายใจ!

"ทนายสมชาย" คือ บุคคลผู้ถูกอุ้มหาย แม้จะอยู่ในกระบวนการยุติธรรมมาโดยตลอด แต่กลับโดนกฎหมายพรากชีวิตไปอย่างไร้ร่องรอย ในช่วงของรัฐบาล "ทักษิณ" ที่มาจากการเลือกตั้ง จวบจนครบ 20 ปีในวันนี้
ทนายสมชาย นีละไพจิตร ก่อนถูกบังคับให้สูญหาย   ทำความรู้จัก "ทนายสมชาย"  
นายสมชาย นีละไพจิตร หรือ "ทนายสมชาย" เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2594 นับถือศาสนาอิสลาม จบการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหงเมื่อ พ.ศ. 2522 แต่งงานกับ นางอังคณา นีลไพจิตร มีบุตร 5 คน ซึ่งก่อนหน้าทนายสมชายสูญหาย นางอังคณา มีอาชีพพยาบาล ก่อนมาเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน หลักการถูกอุ้มหายของทนายสมชาย

หลังจากจบการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต ทนายสมชาย ได้ประกอบอาชีพทนายความ ตั้งสำนักงานของตนเองมุ่งเน้นคดีที่ลูกความเป็นผู้ด้อยโอกาส หรือถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรม ทำคุณประโยชน์ให้ผู้ด้อยโอกาสในฐานะทนายความอย่างมากมาย กระทั่งเป็นถึง ประธานชมรมนักฎหมายมุสลิม ที่เน้นการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นสำคัญ
ครอบครัวของ "ทนายสมชาย"

  "ทนายสมชาย" กับคดีความไม่สงบชายแดนใต้  
ท่ามกลางสถานการณ์ไฟใต้ ช่วงรัฐบาล ทักษิณ" เกิดความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้มากมาย โดนฉพาะเมื่อ 4 ม.ค. 2547 เกิดเหตุการเผาโรงเรียน และการปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ทำให้ทหารเสียชีวิต 4 นาย อาวุธปืนถูกปล้นไปไม่ต่ำกว่า 400 กระบอก ทำให้รัฐบาลขณะนั้นเสียหน้าอย่างมาก

รัฐบาล ระดมใช้มาตรการที่แข็งกร้าว ใช้กำลังทหารและตำรวจทั้งจากในพื้นที่และจากส่วนกลางไปสอบสวนอย่างเต็มที่ ท่ามกลางข้อกล่าวหาว่าผู้บริสุทธิ์ถูกซ้อมทรมานให้รับสารภาพ ซึ่งความร้อนแรงในสถาการณ์ "ทักษิณ ชินวัตร" ถึงเคยกล่าวถึงกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบว่า "โจรกระจอก" ถือเป็นเชื้อไฟที่ลุกโชนและยังดับไม่สนิทจวบจนวันนี้

"ทนายสมชาย" ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ โดยเฉพาะคดีที่ประชาชนถูกกล่าวหา พัวพันกับการก่อการร้ายจนจำเลยพ้นจากข้อหาได้เกือบทุกคดี เช่น คดี โต๊ะกูเฮง หรือ กูมะนาเส กอตอนีลอ จากคดีเผาโรงเรียนเมื่อปี 2537 คดีหมอแว นายแพทย์ แวมาหะดี แวดาโอ๊ะ ซึ่งถูกกล่าวหาว่าพัวพันกับกลุ่มก่อการร้ายเจไอ และยังเข้าไปเป็นทนายให้กับผู้ต้องหาที่ตำรวจจับกุมได้ในภายหลังจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดโรงเรียนเมื่อ 4 ม.ค. 2547 
วันนี้ในอดีต 12 มีนาคม 2547 \"ทนายสมชาย นีละไพจิตร\" ผู้ถูกบังคับสูญหาย

  อุ้มหาย "ทนายสมชาย" กลางกรุงเทพฯ  
วันที่ 12 มีนาคม 2547 คือ วันสุดท้ายที่มีคนได้ยินเสียงและเห็นตัวเป็นๆของ "ทนายสมชาย" ก่อนที่จะขาดการติดต่อหลังจาก 3 ทุ่มวันนั้น กระทั่งครบ 20 ปีแล้ว ในวันนี้ (12 มี.ค.2567)

ในวันดังกล่าว "ทนายชาย" ทำงานตามปรกติที่สำนักงาน เดินทางไปที่ต่างๆ ทั้งศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลล้มละลายกลาง ศาลอาญากรุงเทพฯใต้ มูลนิธิสันติชนในซอยลาดพร้าว 112 และโรงแรมชาลีน่า รามคำแหง ก่อนที่จะไม่สามารถติดต่อได้ในช่วงหลัง 3 ทุ่ม 
วันนี้ในอดีต 12 มีนาคม 2547 \"ทนายสมชาย นีละไพจิตร\" ผู้ถูกบังคับสูญหาย
ช่วงสองทุ่มเศษวันนั้น ผู้พบเห็น "ทนายสมชาย" ครั้งสุดท้ายเวลาประมาณ 2 ทุ่มเศษ บนถนนรามคำแหงใกล้ปากซอย 65 ในขณะที่มีผู้คนและรถยนต์พลุกพล่าน ขณะทนายสมชายไปหาเพื่อนที่โรงแรมแห่งหนึ่งในซอยมหาดไทย รามคำแหง 65 

เมื่อขับรถออกมาจากซอยรามคำแหง 65 ก่อนถึง สน.หัวหมาก เพียงเล็กน้อย รถยนต์ของทนายสมชายถูกรถเก๋งชนท้าย จึงได้หยุดพูดคุย ก่อนที่กลุ่มชายฉกรรจ์ที่อยู่ในเก๋งลงมือทำร้ายและผลักตัวทนายสมชาย เข้าไปในรถแล้วขับออกไป เหตุการณ์ครั้งนี้มีผู้คนริมทางและผู้ใช้รถถนนขณะนั้นเห็นเหตุการณ์จำนวนมาก เกิดขึ้นกลางกรุงเทพ
จุดที่มีคนเห็น "ทนายสมชาย" ครั้งสุดท้าย
  ชนวนเหตุอุ้มหาย"ทนายสมชาย"  
ในช่วงก่อนที่จะถูกอุ้มหาย "ทนายสมชาย" เข้าไปช่วยเหลือ 5 ผู้ต้องหาในคดีปล้นปืนที่กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องจากเห็นว่าคนเหล่านี้ไม่น่าจะทำเรื่องปล้นปืนได้ จนทนายสมชายถูกเรียกว่า "ทนายโจร"

แน่นอนว่า การรับว่าความในคดีนี้ ทนายสมชาย ถูกมองว่าเป็นภัยกับความมั่นคงของผู้มีอำนาจในขณะนั้น!!

ก่อนหน้าที่ ทนายสมชาย จะหายตัว ช่วงวันที่ 11 มีนาคม 47 นายสมชายได้ร่างหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมไปยังองค์กรต่างๆ ในกรณีผู้ต้องหาคดีเจไอ ถูกสอบสวนอย่างไม่เป็นธรรมโดยมีใจความว่า

“1.ผู้ต้องหาที่ 1ถูกใช้ผ้าผูกตาทั้งสองข้าง และถูกเตะบริเวณปากและใบหน้า ผลักให้ผู้ต้องหาที่ 1 ล้มลงและใช้เท้าเหยียบหน้า และมีคนปัสสาวะใส่หน้าและปาก ใช้ไฟฟ้าช็อตบริเวณลำตัวและบริเวณอวัยวะเพศถึง 3 ครั้ง
2. ผู้ต้องหาที่ 2 ถูกใช้ผ้าปิดตาทั้งสองข้าง และเตะบริเวณลำตัว ใช้รองเท้าตบหน้าและบังคับให้นอน แล้วคนปัสสาวะรดหน้า
3. ผู้ต้องหาที่ 3 ถูกใช้ผ้าปิดตาทั้งสองข้าง ถูกเตะบริเวณลำตัวหลายแห่ง ใช้มือตบบริเวณกกหูทั้งสองข้าง ใส่กุญแจมือไพล่หลัง ใช้เชือกมัดข้อเท้าทั้งสองข้าง และใช้ไฟฟ้าช็อตตามลำตัวและหลัง
4. ผู้ต้องหาที่ 4 ถูกใช้ผ้าปิดตาทั้งสองข้าง บีบคอ ใส่กุญแจมือไพล่หลัง และใช้ไม้ตีด้านหลังจนศีรษะแตก ได้ใช้เชือกแขวนคอกับประตูห้องขัง ใช้มือทุบบริเวณลำตัวและได้ใช้ไฟฟ้าช็อตด้านหลัง
5. ผู้ต้องหาที่ 5 ถูกใช้ผ้าปิดตาทั้งสองข้าง และถูกตบด้วยเท้าบริเวณหน้าและปาก ตบบริเวณกกหู ต่อยท้อง และใช้ไฟฟ้าช็อตหลายครั้ง

ผลจากการกระทำดังกล่าว จำเลยทั้ง 5 คนต้องยอมรับสารภาพตามที่เจ้าพนักงานตำรวจต้องการ เป็นการแสดงคำรับสารภาพและทำแผนประกอบคำรับสารภาพโดยการทำร้ายร่างกาย ข่มขู่บังคับ มิได้รับการเยี่ยมญาติ และไม่มีโอกาสให้ได้พบทนายความในขณะสอบปากคำ ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องหาทั้งสิ้น”

วันนี้ในอดีต 12 มีนาคม 2547 \"ทนายสมชาย นีละไพจิตร\" ผู้ถูกบังคับสูญหาย
นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของ ทนายสมชาย เชื่อว่าฟางเส้นสุดท้ายชนวนเหตุการถูกทำให้หายไป หรือการอุ้ม เกี่ยวข้องกับการร้องเรียนและเปิดเผยถึงการซ้อม การทรมานผู้ต้องหาในคดีที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ทั้งคดีปล้นปืนและคดีเจไอ ซึ่งการอุ้มตัวเกิดขึ้นก่อนที่นายสมชาย จะไปว่าความที่ศาลจังหวัดนราธิวาส เพียง 3 วันเท่านั้น 

ทั้งนี้ ทนายสมชาย มีแผนที่จะยื่นรายชื่อคัดค้านการใช้กฎอัยการศึกต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ ที่มีกำหนดการจะเดินทางไปปัตตานีในวันที่ 16 มี.ค. 47อีกด้วย

แม้ว่าหลายฝ่ายมองถึงสาเหตุการหายตัวของ "ทนายสมชาย" มาจากการเคลื่อนไหวช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำจากเจ้าหน้าที่รัฐ ในเหตุการณ์ความไม่สงบชายแดนภาคใต้ รวมถึงการตีแผ่การใช้อำนาจเกินขอบเขตของเจ้าหน้าที่ต่อสาธารณะ

แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ (ยศในขณะนั้น) ระบุว่า

"จากการสืบสวนเบื้องต้น รับรองว่าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง ต้องให้ความเป็นธรรมกับภาพพจน์ประเทศ อย่าด่วนสรุป เพราะเท่าที่สืบสวนเบื้องต้นยังไม่ปรากฏชัดว่ามีเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้อง"

วันนี้ในอดีต 12 มีนาคม 2547 \"ทนายสมชาย นีละไพจิตร\" ผู้ถูกบังคับสูญหาย
หลังการหายตัวของ ทนายสมชาย คณะทำงานด้านผู้สูญหายคนหายของสหประชาชาติ มีมติรับคดีของทนายสมชายเป็นคดีคนหายของคณะทำงานด้านผู้สูญหายของสหประชาชาติ หมายเลขคดี case no. 1003249 ก่อนที่ในอีก 2 ปีต่อมากรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียได้มอบรางวัลสิทธิมนุษยชนดีเด่นแด่นายสมชาย

ในเวลาต่อมาเมื่อสื่อฯ ถาม พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ว่า สหประชาชาติรับกรณีสูญหายของ ทนายสมชายเป็นคดีคนหายของสหประชาชาติ ซึ่งได้รับการตอบกลับอย่างมีอารมณ์จนเป็นวลีร้อนในขณะนั้น ว่า “UN ไม่ใช่พ่อ” ซึ่งมีการนำเสนอข่าวอย่างครึกโครมในขณะนั้น

  ยกพ้องผู้ต้องหาร คดี "ทนายสมชาย"  
จากการเคลื่อนไหวจากหลายภาคส่วน ได้มีการจับกุมตำรวจ 5 นาย และได้ส่งฟ้องคดีต่อศาลในข้อหา กักขังหน่วงเหนี่ยวและลักทรัพย์ แต่ไม่สามารถตั้งข้อกล่าวหาความผิดฐานบังคับสูญหายได้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายในฐานความผิดดังกล่าว

แต่บทสุดท้าย เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2558 ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ คือ ยกฟ้องผู้ต้องหาที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นาย และตัดสิทธิครอบครัว "นีละไพจิตร" ในการเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดี

ทั้งนี้ นางอังคณา เคยพูดถึงคำตัดสินเอาไว้ว่า..

"ความจริงที่เจ็บปวด คือ ผู้กระทำผิดยังคงลอยนวล ในขณะที่เหยื่อตกอยู่ในภาวะของ “การไม่มีอยู่” และครอบครัวต้องเผชิญกับความยากลำบาก และสภาวะการถูกคุกคามไม่มีที่สิ้นสุด"

วันนี้ในอดีต 12 มีนาคม 2547 \"ทนายสมชาย นีละไพจิตร\" ผู้ถูกบังคับสูญหาย
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ จาก

logoline