svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อวสานนักดื่มสายหัวหมอ จากนี้ใครไม่ยอมเป่าแอลฯ ให้สันนิษฐานได้เลยว่า "เมา"

31 มกราคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สาย Hang Out ต้องรู้ ต่อไปหัวหมอไม่เป่าแอลกอฮอล์ไม่ได้แล้วนะ รู้ยัง ครม. ไฟเขียวหลักเกณ์ใหม่ วิธีการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ ใครไม่เป่าให้ตำรวจสันนิษฐานได้เลยว่า "เมา"

ในที่สุดก็ผ่านพ้นเสียที สำหรับเดือนมกราคมที่ยาวนาน และเชื่อว่า คงมีหลายคนวางแผนที่จะไป Hang Out ฉลองเงินเดือนที่รอคอยกันให้ฉ่ำใจ

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่จะออกไปนั่งดื่มกินปาร์ตี้ชิลชิลจากนี้ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ขับรถไปเอง ไม่เช่นนั้นอาจจะเจอข้อหา "เมาแล้วขับ" ได้ โดยเฉพาะจาก "หลักเกณ์ใหม่ในวิธีการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์"  
อวสานนักดื่มสายหัวหมอ จากนี้ใครไม่ยอมเป่าแอลฯ ให้สันนิษฐานได้เลยว่า \"เมา\"  

ทั้งนี้ เพจเฟซบุ๊ก ไทยคู่ฟ้า ของทำเนียบรัฐบาล ได้โพสต์ประชาสัมพันธ์ ถึงหลักเกณ์ใหม่ดังกล่าว โดยระบุว่า 

ครม.เคาะเกณฑ์ใหม่! เมาแล้วขับ ขัดขืนเป่า “วัดแอลกอฮอล์” สันนิษฐานว่าผิด 

ครม. ได้อนุมติหลักการร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่..) พ.ศ. ... ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ตามที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอ เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ ครอบคลุมถึงการตรวจพิสูจน์ผู้ขับขี่ที่ไม่สามารถทดสอบด้วยวิธีตรวจวัดจากลมหายใจได้

กำหนดวิธีตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ ดังนี้ :

  • ตรวจวัดลมหายใจ 
  • ตรวจจากเลือด (ต้องได้รับความยินยอม)  
  • ตรวจวัดจากของเสียอย่างอื่นจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ (กำหนดให้ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด) 


หน้าที่พนักงานสอบสวนและแพทย์: 

  • กรณีผู้ขับขี่มีพฤติการณ์ที่ทำให้เชื่อว่า ได้ขับรถขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ให้พนักงานสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้กระทำการฝ่าฝืนฯ หรือไม่ "ได้ทุกกรณี" ตามวิธีการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ 


กรณีผู้ขับขี่ยินยอมให้ตรวจพิสูจน์ แต่ไม่สามารถทดสอบด้วย การวัดจากลมหายใจ ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ ดังนี้:    

1. ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และแจ้งเป็นหนังสือขอให้แพทย์ตรวจพิสูจน์ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายบุคคล ภายใน 3 ชม. หรือแจ้งด้วยวาจา วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่น จากนั้นให้พนักงานสอบสวนแจ้งเป็นหนังสือ ภายใน 24 ชม.   

2. ให้แพทย์เก็บตัวอย่างจากเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่น และให้ออกหลักฐานเป็นหนังสือแสดงผลการตรวจพิสูจน์โดยเร็ว 

3. ให้สันนิษฐานว่า ผู้ขับขี่ที่ไม่ยอมให้แพทย์ตรวจพิสูจน์โดยไม่มีเหตุอันควรนั้น มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ให้แพทย์บันทึกการไม่ยินยอมนั้น และแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป (เดิมเจ้าพนักงานฯ ไม่มีอำนาจในการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์บางกรณี)

ที่มาที่ไปหลักเกณฑ์ใหม่การตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์

สำหรับหลักเกณฑ์ใหม่ วิธีการในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ ครอบคลุมถึงการตรวจพิสูจน์ ผู้ขับขี่ที่ไม่สามารถทดสอบ ด้วยวิธีตรวจวัดจากลมหายใจ ที่หากขัดขืนเป่า “วัดแอลกอฮอล์” ให้สันนิษฐานว่า ผิดนั้น
เป็นไปตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 67 ที่ผ่านมา ที่ได้มีอนุมติหลักการ ร่างกฎกระทรวง (ฉบับที่..) พ.ศ. ... ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ตามที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ

เพื่อเป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ ในเลือดของผู้ขับขี่ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับ 13 ) พ.ศ. 2565 รวมทั้งกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ที่ถือว่าเป็นความผิดให้เหมาะสม กับผู้ขับขี่แต่ละประเภท

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงดังกล่าว เป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ขับขี่ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ.2565 และครอบคลุมถึงการตรวจพิสูจน์ บุคคลที่อยู่ในภาวะที่สามารถ ให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์ การมีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายได้ แต่ไม่สามารถทดสอบด้วยวิธีการตรวจวัดจากลมหายใจได้  รวมทั้งกำหนดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ที่ถือว่าเป็นความผิด ให้เหมาะสมกับผู้ขับขี่แต่ละประเภท สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้

1.วิธีตรวจหรือทดสอบ ตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์โดยใช้วิธีการ

  • ตรวจวัดลมหายใจ โดยวิธีเป่าลมหายใจ
  • ตรวจจากเลือด (ต้องได้รับความยินยอม) 
  • ตรวจวัดจากของเสียอย่างอื่นจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ โดยกำหนดให้ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดและเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่น ด้วยวิธีการทางการแพทย์ ที่เจ็บปวดน้อยที่สุด และไม่เป็นอันตรายอย่างอื่น


ซึ่งจากเดิมกำหนดให้ “ตรวจจากปัสสาวะ” เป็น “ตรวจจากของเสียอย่างอื่นจากร่างกาย เช่น ปัสสาวะ” เพื่อให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

2.หน้าที่ของพนักงานสอบสวนและแพทย์ กรณีมีอบัติเหตุจากการขับขี่ และมีพฤติการณ์เชื่อว่า ผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่ ได้กระทำการฝ่าฝืนตาม ม.43 (2) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น ให้พนักงานสอบสวนพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริงว่า ผู้ขับขี่หรือบุคคลที่อาจเป็นผู้ขับขี่กระทำการฝ่าฝืนดังกล่าวหรือไม่ทุกกรณี ตามวิธีการตรวจหรือทดสอบวัดปริมาณแอลกอฮอล์

เดิมเจ้าพนักงานฯ ไม่มีอำนาจในการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์บางกรณี เช่น บุคคลที่อยู่ในภาวะหมดสติหรือได้รับอันตรายแก่กายจนไม่อาจให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์

3.กรณีผู้ขับขี่สามารถให้ความยินยอมในการตรวจพิสูจน์ แต่ไม่สามารถทดสอบด้วยการวัดจากลมหายใจ ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการ ดังนี้  

1. ส่งตัวผู้ขับขี่ไปยังโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และแจ้งเป็นหนังสือขอให้แพทย์ตรวจพิสูจน์ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายบุคคล ภายใน 3 ชั่วโมง นับแต่พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งเหตุ หรือด้วยวาจา วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่น จากนั้นให้พนักงานสอบสวนแจ้งเป็นหนังสือ ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่พนักงานสอบสวนได้รับแจ้งเหตุ  

2. ให้แพทย์เก็บตัวอย่างจากเลือด ปัสสาวะ หรือของเสียอย่างอื่น และให้ออกหลักฐานเป็นหนังสือแสดงผลการตรวจพิสูจน์โดยเร็ว โดยให้พนักงานสอบสวนเก็บรวบรวมในสำนวนการสอบสวน

3. ให้สันนิษฐานว่าบุคคลที่เป็นผู้ขับขี่ ซึ่งไม่ยอมให้แพทย์ตรวจพิสูจน์โดยไม่มีเหตุอันควรนั้น มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด เกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดยให้แพทย์บันทึกการไม่ยินยอมนั้น และแจ้งให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนคดีตามที่กำหนด
อวสานนักดื่มสายหัวหมอ จากนี้ใครไม่ยอมเป่าแอลฯ ให้สันนิษฐานได้เลยว่า \"เมา\"  


ปริมาณแอลกอฮอล์แค่ไหนที่เรียกว่า "เมา" 

สำหรับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด  แบ่งออกดังนี้

1) กรณีตรวจวัดจากเลือด (เจาะเลือด) หากผู้ขับขี่ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด เกินกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (หรือมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์) หรือเกินกว่า 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์สำหรับบางกรณี เช่น ผู้ขับขี่ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ผู้ขับขี่ที่ได้รับใบอนุญาตขับรถชั่วคราว เป็นต้น หรือกรณีผู้ขับขี่ซึ่งไม่ยอมให้แพทย์ตรวจพิสูจน์โดยไม่มีเหตุอันควร ให้สันนิษฐานว่า มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด

2) กรณีตรวจวัดจากลมหายใจหรือปัสสาวะ ให้เทียบกับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด เป็นเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้

1. กรณีตรวจวัดจากลมหายใจ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับ 2,000 (กรณีหากตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจได้ค่าเท่าใด ให้คูณด้วย 2,000 โดยให้ผลลัพธ์ที่ได้เทียบเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์ ที่ตรวจโดยการเจาะเลือด เช่น หากวัดปริมาณแอลกอฮอล์จาก ลมหายใจได้ค่า 0.04 ให้คูณด้วย 2,000 จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 80 ซึ่งเทียบได้ว่า มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 80 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (หรือมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)

2. กรณีตรวจวัดจากปัสสาวะ ให้ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าเท่ากับเศษ 1 ส่วน 1.3 (กรณีหากตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากปัสสาวะ ได้ค่าเท่าใดให้คูณด้วยเศษ 1 ส่วน 1.3 โดยให้ผลลัพธ์ที่ได้เทียบเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์ที่ตรวจโดยการเจาะเลือด เช่น วัดปริมาณแอลกอฮอล์จากปัสสาวะ วัดค่าได้ 78 ให้คูณด้วย เศษ 1 ส่วน 1.3 จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 60 ซึ่งเทียบได้ว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 60 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร (หรือมิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์)
อวสานนักดื่มสายหัวหมอ จากนี้ใครไม่ยอมเป่าแอลฯ ให้สันนิษฐานได้เลยว่า \"เมา\"

ขอบคุณข้อมูล : www.thaigov.go.th

logoline