svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ทำความรู้จัก “บัญชีม้า” บัญชี(สุด)อันตราย กับบทลงโทษที่ไม่ธรรมดา

29 กันยายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รู้จัก “บัญชีม้า” เครื่องมือประกอบการก่อเหตุที่สำคัญของเหล่ามิจฉาชีพ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถใช้เป็นทริคเอาตัวรอดจากการตกเป็นเหยื่อได้ พร้อมเปิดโทษหนักทั้งปรับและจำคุก ใครที่คิดจะอาสารับงานนี้ คงต้องระวังให้มากๆ เรื่องนี้ต้องเตือนดังๆ ด้วยความหวังดี

“บัญชีม้า”

คำนี้ ประโยคนี้ กลับมาสร้างกระแสความฮือฮาอีกครั้ง ด้วยสาเหตุสืบเนื่องจากวันที่ 25 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา  ตำรวจไซเบอร์ นำหมายศาลไปบุกค้นบ้าน “บิ๊กโจ๊ก” หรือ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) เพื่อขอตรวจค้นและจับกุมลูกน้องคนใกล้ชิดซึ่งถูกกล่าวหาเกี่ยวข้องกับ “บัญชีม้า” เนื่องจากพบว่ามีเส้นทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์พนันออนไลน์

ทำความรู้จัก “บัญชีม้า” บัญชี(สุด)อันตราย กับบทลงโทษที่ไม่ธรรมดา

ชวนคอข่าวทำความรู้จัก “บัญชีม้า”

บัญชีม้า คือ บัญชีที่ถูกเปิดเพื่อผลประโยชน์บางอย่าง เช่น นำไปใช้ทำเรื่องผิดกฎหมาย หรือเอาไว้ใช้สำหรับถ่าย เท หรือใช้ในการฟอกเงิน โดยบัญชีม้าคนที่ถือครองบัญชีมักจะไม่ใช้เจ้าของตัวจริง แต่จะเป็นของมิจฉาชีพนำไปใช้ ซึ่งส่วนใหญ่มิจฉาชีพจะใช้วิธีการจ้างวานคนทั่ว ๆ ไปให้ทำการเปิดบัญชีธนาคาร โดยให้เงินค่าจ้างแล้วแต่ตกลงกัน ซึ่งส่วนใหญ่มิจฉาชีพมักมองหาเหยื่อที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น หรือคนสูงอายุ เพราะใช้เงินเป็นตัวหลอกล่อให้ตกหลุมพราง หรืออีกวิธีก็คือการสวมรอยเป็นเจ้าของบัญชี โดยการขโมยข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ และหมายเลขบัตรประชาชนจำนวน 13 หลัก แล้วนำไปเปิดบัญชีออนไลน์ กว่าจะเจ้าของข้อมูลจะรู้ตัว ก็สายไปเสียแล้ว

ทำความรู้จัก “บัญชีม้า” บัญชี(สุด)อันตราย กับบทลงโทษที่ไม่ธรรมดา

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

บัญชีม้าคืออะไร  

บัญชีม้า คือ บัญชีที่ตัวแทนในการใช้ทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการโอน รับโอน หรือชำระเงิน เป็นต้น ซึ่งการมีบัญชีม้าจะสามารถช่วยปิดบังตัวตนที่แท้จริงของผู้ดำเนินธุรกรรมได้

อย่างไรก็ตาม ตามปกติแล้วคนธรรมดาส่วนใหญ่มักจะไม่ได้มีการเปิดบัญชีม้าดังกล่าวกัน แต่ผู้ที่ใช้ส่วนใหญ่คือกลุ่ม “มิจฉาชีพ” เพื่อใช้ปกปิดตัวตนที่แท้จริงสำหรับก่อเหตุหรือกระทำความผิด ด้วยเหตุนี้ กลลวงมิจฉาชีพแทบจะทุกรูปแบบจึงมักมีการใช้บัญชีม้าประกอบด้วยเสมอ 

ยกตัวอย่างเช่น แก๊งหลอกลวงคอลเซ็นเตอร์ ที่กำลังระบาดหนักในปัจจุบัน บัญชีม้า ก็เข้ามามีบทบาทสำคัญในการก่อเหตุ โดยเมื่อมีการหลอกลวงให้คนโอนเงินได้สำเร็จ ส่วนใหญ่แล้วบัญชีที่เหยื่อโอนเงินไปนั้น มักไม่ใช่ของเจ้าตัว แต่เป็นบัญชีของบุคคลที่สามหรือบัญชีม้านั่นเอง 

ทำความรู้จัก “บัญชีม้า” บัญชี(สุด)อันตราย กับบทลงโทษที่ไม่ธรรมดา

ทำความรู้จัก “บัญชีม้า” บัญชี(สุด)อันตราย กับบทลงโทษที่ไม่ธรรมดา

อีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจ โดยธนาคารแห่งประเทศไทย นิยามความหมายคำว่า บัญชีม้าไว้ว่า 

บัญชีม้า คือ บัญชีเงินฝากธนาคารของบุคคลอื่น ที่นำมาใช้เป็นช่องทางการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การถ่ายโอนเงิน การรับเงินการโอนเงิน ซึ่งเงินที่ได้มาจากการกระทำผิด จุดประสงค์การเปิดบัญชีม้าคือ เพื่อป้องกันไม่ให้มีพยานหลักฐานเชื่อมโยงมาถึงตัวผู้กระทำผิดได้

ทำความรู้จัก “บัญชีม้า” บัญชี(สุด)อันตราย กับบทลงโทษที่ไม่ธรรมดา

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

การเปิดบัญชีม้าในปัจจุบันเป็นการจ้างให้บุคคลอื่นมาเปิดบัญชีแทน หรือรับซื้อบัญชีเงินฝากธนาคารของบุคคลทั่วไป มีการขายบัญชีเงินฝากธนาคารอย่างเปิดเผย ตั้งแต่ราคา 800 บาท จนถึง 20,000 บาท โดยผู้ที่จะขายบัญชีม้าจะต้องมีการส่งมอบเอกสาร เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ซิมการ์ดโทรศัพท์ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของบัญชีไปผูกกับ mobile banking และทำธุรกรรมออนไลน์ได้ทันที

ปัจจุบัน "บัญชีม้า" ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในการกระทำความผิดที่เกี่ยวกับการฉ้อโกง การพนัน ยาเสพติด และความผิดอื่นๆ กรณีที่พบเห็นมากที่สุด คือ การหลอกให้กู้ยืมเงินผ่านแอปพลิเคชันเงินกู้ต่าง ๆ และผ่านช่องทางแอปพลิเคชันไลน์ รวมไปถึงแก๊งคอลเซนเตอร์ที่โทรศัพท์มาหลอกลวง หว่านล้อม ให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ และทำการโอนเงินไปยังบัญชีม้าของมิจฉาชีพ

ทำความรู้จัก “บัญชีม้า” บัญชี(สุด)อันตราย กับบทลงโทษที่ไม่ธรรมดา

ทำความรู้จัก “บัญชีม้า” บัญชี(สุด)อันตราย กับบทลงโทษที่ไม่ธรรมดา

บัญชีม้า อันตรายยังไง ขนาดไหน?

ทำความรู้จัก “บัญชีม้า” บัญชี(สุด)อันตราย กับบทลงโทษที่ไม่ธรรมดา

มิจฉาชีพส่วนใหญ่มักมีกลอุบายในการโกงและทำงานกันเป็นขบวนการ ส่วนใหญ่มิจฉาชีพมักมีบัญชีม้าหลายบัญชี เพื่อใช้การโอนเงินส่งต่อกันเป็นทอดๆ จากอีกหนึ่งบัญชีสู่อีกหนึ่งบัญชี อาจมีการส่งต่อมากกว่า 4-5 บัญชี เพื่อป้องกันตัวเองจากการตรวจสอบของตำรวจหรือการถูกอายัดเงิน

ทำความรู้จัก “บัญชีม้า” บัญชี(สุด)อันตราย กับบทลงโทษที่ไม่ธรรมดา

จับกลลวงมิจฉาชีพด้วยบัญชีม้า  

หลายครั้งมิจฉาชีพมักเข้ามาด้วยการแอบอ้างเป็นหน่วยงานรัฐหรือเอกชน ทำให้หลายคนตกหลุมพรางแล้วตามที่มิจฉาชีพบอกด้วยความกลัวว่าจะถูกดำเนินคดีตามที่ถูกข่มขู่ อาทิ การถูกสั่งให้โอนเงินมาเพื่อตรวจสอบต่างๆ มิฉะนั้นจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เป็นต้น

ทั้งนี้ หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วจะพบว่า หน่วยงานราชการและเอกชนส่วนใหญ่มักจะมีการส่งหนังสือหรือเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรมาชี้แจงด้วยเสมอ หากเกิดเหตุการณ์ต้องสงสัยขึ้นกับทรัพย์สินหรือเงินของบุคคลใดก็ตาม และที่สำคัญหากต้องมีการโอนเงินหรือทำธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ  บัญชีที่ใช้ก็มักเป็นบัญชีของหน่วยงาน ไม่ใช่บัญชีบัญชีส่วนบุคคล 

ดังนั้น การจับสังเกตบัญชีม้า จึงสามารถใช้เป็นทริกในการจับกลลวงของมิจฉาชีพได้ เพราะถึงแม้จะมีการแอบอ้างเป็นหน่วยงานใดก็ตาม บัญชีม้าที่เหล่ามิจฉาชีพใช้กันนั้นมักจะเป็นบัญชีส่วนบุคคลเสมอ

ทำความรู้จัก “บัญชีม้า” บัญชี(สุด)อันตราย กับบทลงโทษที่ไม่ธรรมดา

โทษหนัก ทั้งปรับและจำคุก หากรับเปิด “บัญชีม้า-ซิมม้า”

พระราชกำหนด มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ระบุว่า เจ้าของบัญชีม้า หรือเบอร์ม้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงผู้ที่เป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใดๆ เพื่อให้มีการซื้อ ขาย ให้เช่า หรือให้ยืม บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์ บัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเลขหมายโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งลงทะเบียนผู้ใช้บริการในนามของบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว แต่ไม่สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 200,000 - 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากที่กล่าวข้างต้น ทำให้การจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ของตำรวจ จึงต้องมีการระงับการรับจ้างเปิดบัญชีม้า เพื่อให้มิจฉาชีพทำงานได้ยากขึ้น

การระงับการเปิดบัญชีม้านั้น สามารถทำได้ผ่านการเอาผิดทางกฎหมาย เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายสนับสนุนให้เกิดการกระทำผิดฐานฉ้อโกงบุคคลอื่น จึงเป็นความผิดที่เข้าข่าย พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งมีโทษสูงสุดคือจำคุกสิบปีหรือถูกปรับเงินสองแสนบาท และอายัดทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อชดใช้ความผิดที่ได้ร่วมกระทำ


เพื่อป้องกันตัวเองจากการสูญเสียกับมิจฉาชีพเหล่านี้ ล่าสุดทาง พ.ต.ท.วสุเทพ ใจอินทร์ รองผู้กำกับการวิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ กองบังคับการสืบสวนสอบสวน กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้แนะนำว่า หากพลาดโอนเงินให้มิจฉาชีพแล้ว สิ่งที่ควรทำคือ รีบรวบรวมหลักฐานแล้วเข้าแจ้งความกับสถานีตำรวจให้เร็วที่สุด เพื่ออายัดเงินที่ได้โอนไปดังกล่าว

นอกจากนี้ “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” ได้สร้างช่องทางการแจ้งความเสียหายของประชาชนผ่านเว็บไซต์ thaipoliceonline.com เมื่อตำรวจได้รับแจ้งข้อมูลแล้วจะทำการประสานกับธนาคารให้ดำเนินการอายัดเงินดังกล่าวอย่างเร็วที่สุด โดยการอายัดเงินได้ไวเท่าไร นั่นหมายถึงโอกาสการได้เงินคืนและระงับความเสียหายได้มากเท่านั้น!!

ขอขอบคุณที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย / js100.com

ทำความรู้จัก “บัญชีม้า” บัญชี(สุด)อันตราย กับบทลงโทษที่ไม่ธรรมดา

logoline