svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"พลายศักดิ์สุรินทร์" เอ็นข้อศอกซ้ายอักเสบเรื้อรัง สาเหตุทำให้งอขาไม่ได้

07 กันยายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผลตรวจวินิจฉัยความผิดปกติ ขาหน้าซ้าย "พลายศักดิ์สุรินทร์" พบมีจังหวะก้าวย่างสั้นกว่าขาข้างอื่น ใช้ขาขวาชดเชยการทำงานขาซ้าย เสี่ยงโครงสร้างผิดรูปในอนาคต มีสัญญาณข้อเสื่อม และเอ็นข้อศอกซ้ายอักเสบเรื้อรัง สาเหตุทำให้งอขาไม่ได้

7 กันยายน 2566 โรงพยาบาลช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย Elephant Hospital, TECC อัปเดตการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของขาหน้าซ้าย "พลายศักดิ์สุรินทร์" ดังนี้

การวัดและวิเคราะห์การก้าวย่าง ใช้ระบบวิเคราะห์การเดินของช้างเอเชียโดยวิธีการใช้หน่วยวัดแรงเฉื่อย (Inertial Measurement Unit ; IMU) ซึ่งจะมีการติดเซนเซอร์ที่ตำแหน่งต่าง ๆ บนร่างกายช้าง ให้ช้างเดินโชว์ตัวหล่อ ๆ บนทางราบเป็นระยะทางประมาณ 25 เมตร แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ไปประมวลผล

พบว่าขาหน้าซ้ายมีจังหวะการก้าวย่าง สั้นกว่าขาข้างอื่น และพบการเหยียดของขาหน้าซ้ายท่อนบนมากกว่าส่วนอื่น นอกจากนี้ยังพบว่ามีการใช้ขาหน้าขวาเพื่อชดเชยการทำงานของขาหน้าซ้าย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโครงสร้างผิดรูปได้ในอนาคต

\"พลายศักดิ์สุรินทร์\" เอ็นข้อศอกซ้ายอักเสบเรื้อรัง สาเหตุทำให้งอขาไม่ได้  

การถ่ายภาพรังสี (x-ray) ขาหน้าซ้าย เพื่อดูความผิดปกติของกระดูกโดยเฉพาะในส่วนของข้อต่อ พบว่าบริเวณข้อศอกผิวกระดูกมีความขรุขระและมีช่องว่างระหว่างข้อแคบกว่าปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณของข้อเสื่อม (Osteoarthritis ; OA)

การตรวจกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonography) พบว่าเอ็นบริเวณข้อศอกด้านซ้ายมีการอักเสบเรื้อรัง เกิดเป็นพังผืด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ช้างไม่สามารถงอขาได้ และพบว่ากล้ามเนื้อหัวไหล่ด้านซ้ายมีการฝ่อลีบเนื่องมาจากไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน

\"พลายศักดิ์สุรินทร์\" เอ็นข้อศอกซ้ายอักเสบเรื้อรัง สาเหตุทำให้งอขาไม่ได้

เมื่อทำการวินิจฉัยจนพบสาเหตุของความเจ็บป่วยแล้ว ทีมงานจึงได้วางแผนการรักษา ดังนี้

  • กำหนดให้ช้างเดินออกกำลังกายในทางราบโดยให้เดินข้ามสิ่งกีดขวางเพื่อกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อขาหน้าซ้าย วันละ 30 นาที
  • ทำการนวดบริเวณข้อศอกซ้ายด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound therapy) เพื่อรักษาพังผืดในบริเวณดังกล่าว
  • กระตุ้น/เสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ด้านซ้ายด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Peripheral Magnetic Stimulation ; PMS)

โดยจะมีการติดตามและประเมินผลการรักษาทุก ๆ 30 วัน

logoline