svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์" โชว์ตัวต่อหน้าสื่อ หลังอาการป่วยดีขึ้นตามลำดับ

24 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ข่าวดีคนไทย! โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยฯ เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนสังเกตสุขภาพ "ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์" หลังมีอาการดีขึ้นตามลำดับ

24 สิงหาคม 2566 ยังคงต้องติดตาม เกี่ยวกับการดูแลรักษา "พลายศักดิ์สุรินทร์" ช้างไทยที่ถูกส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรี ที่ศรีลังกา ก่อนรับกลับมารักษาอาการป่วยต่าง ๆ ที่บ้านเกิด เมื่อวันที่ 2 ก.ค. ที่ผ่านมา

ซึ่งก่อนหน้านี้ พลายศักดิ์สุรินทร์ ได้กักโรคครบกำหนดแล้ว และได้รับการดูแลเป็นอย่างดี พร้อมย้ายมารักษาตัวที่ โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จ.ลำปาง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 
สัตวแพทย์เผย ตัดเล็บให้พลายศักดิ์สุรินทร์ครั้งแรก พบบางเล็บแตก-บิดเบี้ยว
อัปเดตชีวิต "พลายศักดิ์สุรินทร์" ครบกำหนดกักโรควันสุดท้าย
ข่าวดี! ผลเลือด "พลายศักดิ์สุรินทร์" ไม่พบเชื้อ 6 โรคเฝ้าระวังในช้าง ลำปาง 
"พลายศักดิ์สุรินทร์"

ล่าสุด ที่โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จ.ลำปาง โดยนายสุรัตน์ชัย อินทร์วิเศษ ผู้อำนวยการสำนักสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จ.ลำปาง ได้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนทั้งท้องถิ่น และสังกัดส่วนกลาง ได้เข้าเยี่ยมชม ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์

หลังย้ายเข้ามาที่ศูนย์วิจัยและควบคุมเฝ้าระวังโรคสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดลำปาง (ส.คช.) ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. ที่ผ่านมา และครบกำหนดการกักตัว แล้วขนย้ายมาที่โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จ.ลำปาง เมื่อวันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมา 
\"ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์\" โชว์ตัวต่อหน้าสื่อ หลังอาการป่วยดีขึ้นตามลำดับ

เบื้องต้น นายสัตวแพทย์ ที่ให้การดูแลรักษา ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างเลือด เพื่อตรวจเบื้องต้น ในกระบวนการกักกันและเฝ้าระวังโรค ซึ่งผลจากห้องปฏิบัติการ ให้ผลลบต่อการตรวจโรค ดังนี้ 

  1. ไม่พบไข่พยาธิในอุจจาระ (sedimentation and floatation test) 
  2. ไม่พบพยาธิในเลือดจาก thin blood smear, ELISA and PCR (Trypanosoma evansi) 
  3. ไม่พบโรควัณโรค แท้งติดต่อ และ ฉี่หนู 
  4. ไม่พบโรคปากและเท้าเปื่อย และโรคเฮอร์ปีสไวรัส (EEHV) 
  5. ผลการตรวจค่าโลหิตวิทยาและชีวเคมีในเลือดปกติ 

ประกอบกับ ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ สามารถกินอาหารและน้ำได้ดี ขับถ่ายปกติ สามารถนอนราบบนพื้นทราย ได้เฉลี่ยคืนละ 1 - 3 ชั่วโมง โดยในทุก ๆ วัน สัตวแพทย์จะเข้าทำความสะอาดแผลฝี ที่สะโพกทั้งสองข้าง ซึ่งปัจจุบันพบว่า มีขนาดลดลง

โดยการรักษาสัตวแพทย์ จะต้องคำนึงถึงลักษณะนิสัยช้าง พฤติกรรม สุขภาพทั่วไป ได้แก่ การกิน การดื่ม การขับถ่าย การนอน และ กิจวัตรประจำวัน ร่วมกับความเจ็บป่วยต่าง ๆ (เช่น ตา ขาหน้าเหยียดตึง, แผลฝี ฯลฯ) และสุขภาพจิต ความเครียดของช้าง เป็นต้น 
\"ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์\" โชว์ตัวต่อหน้าสื่อ หลังอาการป่วยดีขึ้นตามลำดับ

สำหรับแนวทางการรักษา “ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์” สัตวแพทย์จากสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ ได้ร่วมหารือ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ผู้แทนคณะเทคนิคการแพทย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้แทนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ผู้แทนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ผู้แทนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ผู้แทนคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผู้แทนกรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และผู้แทนจากองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย พบว่า ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ มีอาการเจ็บป่วยจากภายนอกและภายในร่างกาย 
ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ กับ ควาญช้า  

ได้แก่ ตาด้านขวา มีอาการคล้ายต้อกระจก , ขาหน้าด้านซ้าย มีอาการเหยียดตึงและผิดรูป และมีการทำงานของไตบกพร่อง ซึ่งจะได้ร่วมมือรักษาช้าง ตามอาการต่อไป

ทั้งนี้ ปัจจุบัน พลายศักดิ์สุรินทร์ น้ำหนักชั่งครั้งแรก นับต้องแต่เดินทางมาถึงประเทศไทย เมื่อ 2 วันก่อน น้ำหนักตัวอยู่ที่ 3,900 กิโลกรัม ถือว่า น้ำหนักอยู่ในระดับปกติ และสภาพช้างต่าง ๆ เริ่มดีขึ้นมาก กินอาหาร ขับถ่ายปกติ และเข้ากับควาญช้าง ได้เป็นอย่างดี
ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ กับ ควาญช้า
 

logoline