svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

จิตแพทย์ แนะ คุยการเมืองด้วยเหตุผล ไม่สร้างความเกลียดชัง-เฟกนิวส์

22 พฤษภาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จิตแพทย์ แนะใช้หลัก 1 เตือน 2 ไม่ สนทนาทางการเมือง ระบุ ไม่ควรสร้างความเกลียดชัง-เฟกนิวส์ หวั่นหากไม่พูดคุยด้วยเหตุผล จนเป็นที่ยอมรับทุกฝ่าย อาจเกิดม็อบลงถนนได้

22 พฤษภาคม 2566 ที่ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ระบุว่า ความตื่นตัวและสนใจทางการเมืองเป็นเรื่องดี ซึ่งแสดงว่าคนไทยเป็นห่วงบ้านเมือง เป็นพลเมือง โดยจะช่วยให้บ้านเรามีโอกาสที่จะเดินไปข้างหน้า จากการที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น

ข้อพึงระวังมี 2 ข้อ คือ 1.อย่าเครียดมากเกินไปจนถึงขั้นเสียสุขภาพจิตของตนเอง และไปเสียต่อสุขภาพจิตคนรอบข้าง ถ้าลงออนไลน์ก็ไปเสียสุขภาพจิตต่อสื่อสังคม 2.บรรยากาศความเป็นห่วงบ้านเมือง ควรจะเป็นบรรยากาศที่ดี ไม่ควรสร้างความเกลียดชัง ไม่สร้างความเฟกนิวส์

จิตแพทย์ แนะ คุยการเมืองด้วยเหตุผล ไม่สร้างความเกลียดชัง-เฟกนิวส์

ตนคิดว่าประเด็นสำคัญต้องมาจากการปรับเปลี่ยนแนวคิดของเราก่อน ว่า เราต้องมองเรื่องความต่างเป็นต้นทุนของสังคมมากกว่าที่เราจะมองว่าเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี  ถูกหรือผิด ถ้ามีใจเปิดกว้างแบบนี้ การรับรู้ข่าวสารที่ใช้เหตุผลมากกว่า ที่จะใช้อารมณ์ เพราะว่าหากเราใช่อารมณ์มากก็จะเครียดมาก และก็จะสร้างความกระทบกันมาก

โดยเฉพาะการสร้างวาทะกรรมสร้างความเกลียดชัง หรือ เฮทสปีช (Hate Speech) ซึ่งจะนำไปสู่ความรุนแรงในอนาคตได้ โดยหัวใจสำคัญ คือการเปิดใจกว้างที่จะยอมรับเหตุผลโดยที่ไม่ใช้อารมณ์ สาเหตุที่ทำให้เกิดการใช้อารมณ์มาก คือ การสร้างเฟกนิวส์ และการสร้างวาทะกรรมสร้างความเกลียดชัง หรือ เฮทสปีช ตอนนี้มีการระบาดในสื่อสังคมเป็นอย่างมาก คือเป็นการส่งต่อกันในโซเชียลมีเดีย

ตามหลักของสุขภาพจิตมีจะหลักที่สำคัญคือ 2 ไม่ 1 เตือน คือ ไม่ผลิตข้อความที่เป็นเฟกนิวส์ และเป็นการสร้างความเกลียดชัง ไม่ส่งต่อข้อความเหล่านี้ ซึ่งการส่งต่อข้อความเหล่านี้ทำให้หลายคนขาดวุฒิภาวะ ในการที่จะยอมรับความเห็นต่างอย่างมีเหตุผล และ ต้องเตือนคนที่ส่งข้อความที่เป็นด้านลบทั้งหลาย โดยเราจะต้องเตือนกลับไปอย่างสุภาพ

แต่สถานการณ์แบบนี้จึงอยากขอสลับเป็น 1 เตือน 2 ไม่ โดยเวลานี้เป็นเวลาที่ต้องเตือนกันด้วยคำสุภาพ ว่า การที่เรามีความเห็นต่างกัน เป็นต้นทุนของสังคม ไม่ใช่เรื่องของดี ไม่ดี ถูกหรือผิด หากเราเปิดเรารับแบบนี้ได้ สังคมก็จะก้าวไปข้างหน้าได้ด้วยความมั่นใจว่า เราทุกคนเป็นเจ้าของบ้านเมืองร่วมกัน มีความเป็นพลเมือง

ผู้สื่อข่าวถามว่า เตือนอย่างไรถึงไม่ทะเลาะกัน นพ.ยงยุทธ ระบุว่า ต้องเตือนด้วยความสุภาพ เช่น ข้อความนี้ต้องระวังอาจจะเป็นข้อความที่สร้างความเกลียดชังหรือเป็นข้อความที่ไม่มีข้อมูลถูกต้องชัดเจน 

ส่วนการใช้ความกดดันว่ามีเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาลให้ทุกคนคิดเหมือนกัน นพ.ยงยุทธ ระบุว่า การมีเสียงข้างมากเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ยอมรับได้ ก็ใช้เหตุผลนี้ได้ แต่ก็ต้องสร้างความเหตุผลของคนอื่นได้ ใช้เหตุผลต่อเหตุผลก็จะกลายเป็น เหตุผลที่ทุกคนยอมรับ

จิตแพทย์ แนะ คุยการเมืองด้วยเหตุผล ไม่สร้างความเกลียดชัง-เฟกนิวส์

ถามว่ากรณีที่มีการระบุว่าหากแก้มาตราบ้างมาตรา จะมีม็อบลงถนน หรือหากอีกฝั่งจัดตั้งรัฐบาลไม่ได้ก็จะมีการลงถนน นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า ความรุนแรงหากจะเกิดขึ้นจะต้องเห็นบรรยากาศก่อนหน้าชุมนุม จึงอยากให้พูดคุยกันด้วยเหตุผลให้สัดส่วนของเหตุผลมากขึ้นเรื่อย ๆ หากมีการชุมนุม ฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็ผ่านมาหลายครั้ง ต้องรู้ว่าจะควบคุมการชุมนุมอย่างไร ที่จะไม่ทำให้เกิดความรุนแรง

และที่สำคัญประเทศไทยต้องไม่ก้าวไปสู่การใช้กติกานอกระบอบประชาธิปไตย เพราะหากไปสู่ขั้นนั้นจริง ๆ จะทำให้กลายเป็นสะสมปัญหามากขึ้นไปอีก ก็ต้องรักษาประชาธิปไตยที่เป็นซึ่งเป็นกติกาสากลให้ได้มากที่สุด

logoline