“คนที่โดดเดี่ยวมาก ๆ จะมีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต มากกว่าคนทั่วไป” Bruce Rabin ผู้อำนวยการโครงการ Healthy Lifestyle Program จาก University of Pittsburgh Medical Center ได้กล่าวเอาไว้
ความเหงา สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในระดับยีน และสารเคมีในสมอง ทำให้หลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมาง่ายขึ้น และเมื่อเราเครียด ร่างกายก็จะหลั่งอะดรีนาลีน และฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์หดหู่อย่าง คอร์ติซอล ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆ อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายของเรา จนก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้
อีกความเคลื่อนไหวทางวิชาการ ล่าสุด นพ.วิเวก เมอร์ธี แพทย์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา กล่าวในการแถลงเกี่ยวกับ “การแพร่ระบาดใหญ่ของ ความเหงา ความอ้างว้างโดดเดี่ยว” (the epidemic of loneliness and isolation) ครั้งล่าสุดเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่า ความอ้างว้างโดดเดี่ยวที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา สามารถส่งผลกระทบและก่อให้เกิด ความเสี่ยงต่อสุขภาพ ได้พอ ๆ กับการสูบบุหรี่วันละ 12 มวน และยังเป็นสาเหตุทำให้เกิด ความเสียหายด้านสุขภาพ ในสหรัฐปีละหลายพันล้านดอลลาร์อีกด้วย
โดยนายแพทย์เมอร์ธี กล่าวว่า ราวครึ่งหนึ่งของประชากรวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ ยอมรับว่าตนเคยรู้สึก อ้างว้าง เหงา เดียวดาย
เราทราบกันดีว่าความอ้างว้างโดดเดี่ยวเป็นความรู้สึกที่ใครหลาย ๆ คนต้องเคยประสบมาก่อน เหมือน ๆ กับความหิวหรือความกระหาย มันเป็นความรู้สึกที่ร่างกายส่งถึงเราเมื่อสิ่งที่จำเป็นต่อความอยู่รอดได้ขาดหายไป
นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงด้านสุขภาพจิตของสหรัฐฯท่านนี้ กล่าวว่า
ผู้คนหลายล้านคนในสหรัฐกำลังดิ้นรนอยู่ในเงามืด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และนั่นก็เป็นเหตุผลที่เขาต้องเผยแพร่ข้อแนะนำนี้เพื่อให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่หลาย ๆ คนกำลังประสบอยู่
นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันชี้ ความโดดเดี่ยวเปลี่ยวเหงา เป็นผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เสี่ยงเสียชีวิตได้พอๆ กับการสูบบุหรี่
นพ.วิเวก เมอร์ธี แพทย์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา กล่าวในการแถลงเกี่ยวกับ “การแพร่ระบาดใหญ่ของ ความเหงา ความอ้างว้างโดดเดี่ยว” (the epidemic of loneliness and isolation) ครั้งล่าสุดเมื่อต้นสัปดาห์นี้ว่า ความอ้างว้างโดดเดี่ยวที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสหรัฐอเมริกา สามารถส่งผลกระทบและก่อให้เกิด ความเสี่ยงต่อสุขภาพ ได้พอ ๆ กับการสูบบุหรี่วันละ 12 มวน และยังเป็นสาเหตุทำให้เกิด ความเสียหายด้านสุขภาพ ในสหรัฐฯ ปีละหลายพันล้านดอลลาร์อีกด้วย
นายแพทย์เมอร์ธี กล่าวว่า
ราวครึ่งหนึ่งของประชากรวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐ ยอมรับว่าตนเคยรู้สึก อ้างว้าง เหงา เดียวดาย เราทราบกันดีว่าความอ้างว้างโดดเดี่ยวเป็นความรู้สึกที่ใครหลาย ๆ คนต้องเคยประสบมาก่อน เหมือน ๆ กับความหิวหรือความกระหาย มันเป็นความรู้สึกที่ร่างกายส่งถึงเราเมื่อสิ่งที่จำเป็นต่อความอยู่รอดได้ขาดหายไป
นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงด้านสุขภาพจิตของสหรัฐผู้นี้ กล่าวอีกว่า
ผู้คนหลายล้านคนในสหรัฐกำลังดิ้นรนอยู่ในเงามืด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และนั่นก็เป็นเหตุผลที่เขาต้องเผยแพร่ข้อแนะนำนี้เพื่อให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่หลาย ๆ คนกำลังประสบอยู่
นายแพทย์วิเวก เมอร์ธี ได้เรียกร้องให้บรรดาสถานที่ทำงาน สถานประกอบการ รวมไปถึง สถานศึกษา โรงเรียน บริษัทเทคโนโลยี องค์กรชุมชน ผู้ปกครอง และบุคคลอื่น ๆ ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ของผู้คนในประเทศ
เขาแนะให้ผู้คนเข้าร่วมกลุ่มชุมชนและวางโทรศัพท์มือถือลงเวลาที่พูดคุยกับเพื่อน ๆ บรรดานายจ้างต้องคิดอย่างรอบคอบเกี่ยวกับนโยบายการทำงานจากระยะไกล และระบบสาธารณสุขควรมีการฝึกอบรมแพทย์ให้ตระหนักถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพจากความเหงาด้วย
เทคโนโลยีกับความเหงา
ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีสามารถเป็นตัวเร่งทำให้ปัญหาความเหงารุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วได้ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่อ้างถึงรายงานที่พบว่า ผู้ที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นเวลา 2 ชั่วโมงขึ้นไปทุก ๆ วันมีแนวโน้มที่จะรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคมมากกว่าผู้ที่ใช้แอปฯ เหล่านั้นน้อยกว่า 30 นาทีต่อวันถึงสองเท่า
นายแพทย์เมอร์ธีอธิบายว่า โซเชียลมีเดียคือสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความเหงามากขึ้น รายงานของเขาชี้ให้เห็นด้วยว่า บริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ เริ่มใช้มาตรการป้องกันสำหรับเด็ก โดยเฉพาะในเรื่องพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดีย และว่า “ไม่มีอะไรมาแทนที่การมีปฏิสัมพันธ์แบบเจอตัวได้จริงๆ ”
“การที่เราเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารกันมากขึ้น ทำให้สูญเสียการมีปฏิสัมพันธ์แบบเจอตัวกันจริงๆไปได้ ดังนั้น เราควรออกแบบเทคโนโลยีที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ของเราให้แน่นแฟ้นแทนที่จะทำให้ความสัมพันธ์อ่อนแอลง”นายแพทย์เมอร์ธีให้แง่คิด
Mintel เผยผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 8 ใน 10 กำลังประสบปัญหาสุขภาพจิต โดย Gen Z คือกลุ่มวัย ที่รู้สึกโดดเดี่ยวที่สุด
งานวิจัยฉบับใหม่ของ บริษัทวิจัยด้านการตลาดระดับโลก Mintel (มินเทล) ชี้ ผู้บริโภคชาวไทยประมาณ 8 ใน 10 ราย ต่างประสบปัญหาสุขภาพจิตในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา สามอันดับแรก คือ ความเครียด (46%) นอนไม่หลับ (32%) และวิตกกังวล (28%)
สภาพจิตใจของคนไทยถดถอยลงจากผลกระทบที่ยืดเยื้อของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ซึ่งส่งผลให้พวกเขาเกิดความหงุดหงิดและความรู้สึกท้อแท้ นอกจากนี้ ผลการวิจัยยังพบว่า ผู้บริโภคแต่ละเพศ และ แต่ละช่วงวัยต่างเผชิญกับความท้าทายด้านสุขภาพจิตที่แตกต่างกัน
Gen Z คือกลุ่มวัยที่รู้สึกโดดเดี่ยวที่สุด
การทำงาน/การเรียน (48%) ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค Gen-Z โดยเฉพาะอายุระหว่าง 18-24 ปี โดยพบว่า ผู้บริโภคในกลุ่มวัยนี้จะรู้สึกโดดเดี่ยวที่สุด (38%) เมื่อเทียบกับคนรุ่นอื่นๆ** อาทิ กลุ่ม Millennials (26%) และ Gen X (15%) ที่มีอายุมากกว่า ทั้งนี้ แรงกดดันจากเพื่อน (33%) และโซเชียลมีเดีย (25%) ต่างเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความท้าทายด้านสุขภาพจิตของพวกเขา
“ตามข้อมูลจากงานวิจัยของเรา มากกว่าหนึ่งในสามของผู้บริโภคชาวไทยที่มีอายุน้อยกล่าวว่า พวกเขาขาดความมั่นใจในตนเอง และมีสภาวะทางจิตใจบางอย่าง เช่น การนับถือตนเองต่ำ อาการซึมเศร้า และความวิตกกังวล สภาวะเหล่านี้เกิดจากการสร้างภาพชีวิตที่ “สมบูรณ์แบบ” บนโซเชียลมีเดีย จากการได้เห็นบุคคลที่พวกเขาชื่นชอบ อินฟลูเอนเซอร์ หรือคนที่พวกเขารู้จักมีในสิ่งที่พวกเขาไม่มี ก่อให้เกิดความกดดันที่จะต้องใช้ชีวิตให้ได้ตามมาตรฐานที่ผู้อื่นวางไว้ แบรนด์ต่าง ๆ สามารถช่วยเหลือประชากรกลุ่มที่มีอายุน้อยนี้ได้ ด้วยแคมเปญที่ผลักดันและส่งเสริมให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกพึงพอใจในตนเอง” วิลาสิณี (ไข่มุก) ศิริบูรณ์พิพัฒนา นักวิเคราะห์อาวุโสด้านการวิจัยไลฟ์สไตล์ ประจำ Mintel Reports Thailand กล่าว
งานวิจัยเผยผู้หญิงเครียดกว่าผู้ชาย
เกือบหนึ่งในสาม (31%) ของหญิงไทยที่มีอายุ 18-34 ปี กล่าวว่า พวกเขารู้สึกหมดไฟ เมื่อเทียบกับชายในวัยเดียวกัน (17%) ผู้หญิงให้ความสำคัญกับงาน/การศึกษาความไม่แน่นอนในการวางแผนอนาคต และสถานการณ์/ความรับผิดชอบทางการเงิน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้บริโภคกลุ่มนี้
“ผู้หญิงอายุ 18-34 ปี มีแนวโน้มที่จะต้องรับมือและรับผิดชอบกับงานบ้าน สร้างความมั่นคงในหน้าที่การงาน และคำนึงถึงการแต่งงานใช้ชีวิตคู่ ตามที่ระบุไว้ในงานวิจัยฉบับใหม่ของเราเกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ของผู้หญิง พวกเธอต้องการที่จะรักษาสมดุลในชีวิตและมีสุขภาพที่ดี ทั้งทางกายและทางใจ แบรนด์ต่าง ๆ สามารถวางผู้บริโภคกลุ่มนี้เป็นเป้าหมายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงที่มีไลฟ์สไตล์ที่ยุ่งหรือวุ่นวายตลอดเวลา ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และการบริการที่จะช่วยบรรเทาความเครียดทางด้านจิตใจ และช่วยให้พวกเธอสามารถทำกิจกรรมเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีได้” วิลาสิณี กล่าวต่อ
การอดนอนส่งผลกระทบต่อคนทุกรุ่น
การวิจัยของ Mintel (มินเทล) เผยให้เห็นว่า การนอนหลับล้วนส่งผลต่อคนไทยไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใด ซึ่งอาจเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในชีวิตที่มีความตึงเครียดได้ โดยสำหรับในช่วงวัยต่าง ๆ แล้ว ประมาณ 35% ของ Gen Z และ Millennial จะมีอาการนอนไม่หลับ ในขณะที่ Gen X อยู่ที่ 28%
ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ผู้คนมักเชื่อกันการนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อคนทุกวัย ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้น ปัจจัยเหล่านี้อาจเกิดจากมาตรการการอยู่บ้านทำให้ผู้คนไม่สามารถแยกชีวิตส่วนตัวกับชีวิตการทำงานหรือการเรียนออกจากกันได้อย่างชัดเจน จนทำให้เกิดความเครียดและนอนไม่หลับมากขึ้น เนื่องจากคนไทยมีปัญหาด้านการนอนหลับ แบรนด์ต่าง ๆ จึงสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สามารถตรวจจับรูปแบบการนอนและให้ประโยชน์ด้านสุขภาพอื่น ๆ ได้
ผู้บริโภคกำลังเสาะหาแบรนด์ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาด้านสุขภาพจิต
แม้คนไทยจำนวนมากขึ้นจะประสบปัญหาสุขภาพจิต แต่ผู้บริโภคยังคงไม่สามารถเข้าถึงบริการและข้อมูลด้านสุขภาพจิตได้ ซึ่งคนไทยกว่า 3 ใน 4 (76%) รู้สึกเห็นด้วยว่าควรจะมีการพูดคุยเรื่องสุขภาพจิตในพื้นที่สาธารณะให้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน
“เนื่องจากข้อจำกัดทางสังคมและความรู้สึกเชิงลบเกี่ยวกับสุขภาพจิต เราจึงเห็นได้ว่า ผู้บริโภคต่างมีความคาดหวังสูงจากแบรนด์ในแง่ของการที่แบรนด์เหล่านั้นจะเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของสุขภาพจิต เมื่อพิจารณาถึงความละเอียดอ่อนของภาวะสุขภาพจิต แบรนด์ต่าง ๆ จำเป็นต้องแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจความเป็นไปทางด้านจิตใจของผู้บริโภคอย่างแท้จริง
ทั้งนี้ ด้วยความที่โซเชียลมีเดียมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้บริโภคกว่า 3 ใน 4 เห็นด้วยว่า ช่องทางดังกล่าวเป็นช่องทางที่เหมาะสมในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เล็งเห็นถึงคุณค่าทางด้านจิตใจ ด้วยเหตุนี้ แบรนด์ที่มุ่งเน้นการให้ความรู้ผู้บริโภค แบรนด์ที่เข้ามามีบทบาทในการช่วยขจัดปัญหาสุขภาพจิต และแบรนด์ที่ส่งเสริมให้ผู้คนเข้ารับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ จะสามารถชนะใจผู้บริโภคได้”
ความรู้สึกเหงา และโดดเดี่ยว… อาจเสี่ยงเป็นโรคได้นะ!
ทำไมเหงาแล้วจึงป่วย?
เสี่ยงที่จะละเลยเรื่องการดูแลตัวเอง คนที่กินข้าวคนเดียวบ่อย ๆ มีโอกาสสูงกว่าที่จะเลือกกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ คนโสด หรือผู้สูงอายุที่อยู่ตัวคนเดียว มักกินอาหารที่เป็นประโยชน์ อย่างผักผลไม้น้อยมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคู่แต่งงาน เพราะเมื่อทำอาหารกินเองคนเดียว คนเรามักจะเน้นที่ความง่าย และความสะดวก ในขณะที่เมื่อต้องเผื่อคนอื่นด้วย ก็มีความเป็นไปได้สูง ที่อาหารเหล่านั้นจะเป็นเมนูที่มีประโยชน์มากกว่า
ระบบภูมิคุ้มกันของคุณอาจอ่อนแอลง
ความเหงา ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณได้ คนที่อยู่ในภาวะเหงา ซึมเศร้า จะเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่2 โรคไขข้ออักเสบ และโรคอัลไซเมอร์ มากกว่าคนทั่วไป
เคยมีการเปิดเผยงานวิจัยอ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ในปี 2012 พบว่า ผู้ใหญ่วัยกลางคนที่อาศัยอยู่ตามลำพัง มีความเสี่ยงถึง 24 % ที่จะเกิดอาการ หัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกมากมาย ที่บ่งชี้ไปในทิศทางเดียวกันว่า ผู้ที่อยู่คนเดียว จะมีโอกาสป่วยเป็นโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูงได้มากกว่า ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ไม่มีคนให้คุยด้วย ทำให้เกิดภาวะเครียดสะสม และเชื่อมโยงไปถึง การเพิ่มการสะสมของ คอเลสเตอรอลในหัวใจให้สูงขึ้น
คุณ..จะเอาชนะ ความเหงา ความโดดเดี่ยว ได้อย่างไร?
ขอขอบคุณที่มา :
Loneliness poses risks as deadly as smoking: surgeon general
Surgeon general lays out framework to tackle loneliness and ‘mend the social fabric of our nation’
ฐานเศรษฐกิจ