svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เปิดผลวิจัย ติดโควิด-19 ซ้ำ เทียบกับป่วยครั้งแรก

30 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

โควิด-19 เป็นแล้วเป็นอีกได้ เหมือนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนที่ฉีดไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนแต่ละชนิด ไม่ว่าจะสูงต่ำ จึงไม่แตกต่างกัน ไม่มีวัคซีนเทพ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

โควิด 19 การติดเชื้อซ้ำความรุนแรงของโรคลดลง

เรารู้กันแล้วว่าโรคโควิด 19 เป็นแล้วเป็นอีกได้ เหมือนไข้หวัดใหญ่

วัคซีนที่ฉีดไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนแต่ละชนิด ไม่ว่าจะสูงต่ำ จึงไม่แตกต่างกัน ไม่มีวัคซีนเทพ

จากการศึกษาของศูนย์ฯ ในผู้ที่ติดเชื้อครั้งแรกและติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ในจำนวนมากกว่า 200 คน พบว่าการติดเชื้อซ้ำครั้งที่ 2 ส่วนใหญ่อาการน้อยกว่าการติดเชื้อครั้งแรก ในเกือบทุกลักษณะอาการ ยกเว้นน้ำมูกไหล ที่มีการพบในอัตราส่วนที่เท่ากัน ดังแสดงในรูปทั้งสอง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เปิดผลวิจัย ติดโควิด-19 ซ้ำ เทียบกับป่วยครั้งแรก

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เปิดผลวิจัย ติดโควิด-19 ซ้ำ เทียบกับป่วยครั้งแรก

อาการที่ลดลง เกิดจากผลที่มีภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น จากการติดเชื้อครั้งแรก รวมทั้งจำนวนหนึ่งได้รับวัคซีน และการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ไวรัส ที่อาจจะทำให้ความรุนแรงลดลง


ย้อนไปอ่านโพสต์ หมอยง ก่อนหน้านี้ 

โดย "หมอยง" ระบุข้อความว่า

โควิด 19 ความรุนแรงของโรคลดลงมาโดยตลอด

ยง ภู่วรวรรณ

ราชบัณฑิต

28 มกราคม 2566

โรคโควิด 19 มีแนวโน้มความรุนแรงของโรคลดลงมาโดยตลอด ด้วยปัจจัยหลายอย่างคือ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เปิดผลวิจัย ติดโควิด-19 ซ้ำ เทียบกับป่วยครั้งแรก

1. การพัฒนาของไวรัสเพื่อความอยู่รอด ไวรัสพัฒนาตัวเองให้มีความรุนแรงลดลง เพื่อจะได้อยู่กับมนุษย์ เพราะถ้าทำให้เกิดความรุนแรงหรือเสียชีวิตตัวไวรัสเองก็อยู่ไม่ได้ การพัฒนาวัคซีนสมัยก่อนเช่น โปลิโอวัคซีน การทำให้เชื้ออ่อนฤทธิ์ลง จะเอาไวรัสมาเพราะเชื้อไปเรื่อยๆ ผ่านหลายๆครั้ง

เมื่อนานเข้าไวรัสจะเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมให้อ่อนฤทธิ์ลง แล้วจึงเอามาทำเป็นวัคซีน เช่นเดียวกันกับเชื้อโควิด 19 เมื่อติดในมนุษย์ผ่านไปเป็นจำนวนรอบมากๆ นานเข้า ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมลดความรุนแรงมาโดยตลอด อัตราการเสียชีวิตของทั่วโลกลดลงจาก 3-5% มาเหลืออยู่ที่ประมาณ 1%หรือน้อยกว่า ตัวเลขที่รายงานโดยองค์การอนามัยโลก

แต่ยอดการเสียชีวิตกับการติดเชื้อขององค์การอนามัยโลก จะพบว่ายอดการติดเชื้อต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ดังนั้นอัตราการเสียชีวิตจริงๆก็จะยิ่งน้อยลงไปมากๆ สำหรับประเทศไทยอัตราการเสียชีวิต ลดลงจาก 1% ในตอนแรก เหลือขณะนี้น้อยกว่า 0.1% และยิ่งในคนปกติด้วยแล้วไม่น่าจะแตกต่างกับไข้หวัดใหญ่


2. การติดเชื้อในมนุษย์ มีเป็นจำนวนมากคาดว่าน่าจะเกินกว่า 70% ขึ้นไปของประชากร เช่นเดียวกับในประเทศไทยเราทำการศึกษาของเรา ก็พบว่ามีการติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 70% ของประชากร หรือประมาณมากกว่า 50 ล้านคน และประชากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็ม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ทำให้เกิดภูมิต้านทานแบบลูกผสม ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดียิ่งขึ้น กว่าวัคซีนอย่างเดียวหรือติดเชื้ออย่างเดียว และพิสูจน์แล้วว่าลดความรุนแรงของโรคลงได้ไม่ว่าเชื้อนั้นจะกลายพันธุ์มาถึง XBB.1.5

3. ลำพังวัคซีนอย่างเดียวไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ในขณะเดียวกันวัคซีนกระตุ้นให้เกิดภูมิต้านทานที่สูงมากกว่าการติดเชื้อ เช่น mRNA วัคซีน ยิ่งมีผลไปกดดันไวรัสให้หลีกหนีภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นเพื่อความอยู่รอดของตัวไวรัส จึงทำให้เกิดการกลายพันธุ์มาโดยตลอด

โดยหลักการตามวิวัฒนาการแล้ว เมื่อมีอะไรไปกดดัน ไวรัสก็พยายามหลีกเลี่ยง ดังนั้นภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนที่สูงมากจึงไม่สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อได้เลย แต่ระบบภูมิต้านทานในบางระบบช่วยในการลดความรุนแรงของโรค

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ เปิดผลวิจัย ติดโควิด-19 ซ้ำ เทียบกับป่วยครั้งแรก

โดยสรุปในบ้านเรา มีการติดเชื้อไปแล้วมากกว่า 70% และ มีการฉีดวัคซีนไปแล้ว 2 เข็ม มากกว่า 80% ประชากรส่วนใหญ่จึงมีภูมิต้านทานแบบลูกผสม ที่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดีถึงแม้ว่าเชื้อกลายพันธุ์ตัวใหม่ XBB.1.5 ที่กำลังจะเข้ามา ( ขณะนี้เป็นสายพันธุ์หลักในอเมริกา)

ข้อมูลใหม่ระบุว่าวัคซีนเข็มกระตุ้นตัวล่าสุดจาก Pfizer/BioNTech และ Moderna สามารถช่วยป้องกันการติดเชื้อจากโควิดสายพันธุ์ย่อย XBB ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วได้

อีกความคืบหน้า โดยทางด้าน Dr. Brendan Jackson หัวหน้าศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 ของสหรัฐฯ กล่าวว่า

 

“ในวันนี้ มีหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่า วัคซีนชนิดล่าสุด สามารถป้องกันผู้คนจากไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ล่าสุดได้ ”

 

วัคซีนเข็มกระตุ้นหรือ booster ตัวล่าสุด ที่เปิดตัวช่วงฤดูใบไม้ร่วง มีความสามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4/BA.5 ที่ในตอนนี้มีอิทธิพลลดลงไปมากจากการที่สายพันธุ์ย่อย XBB แพร่ระบาด

การศึกษาชิ้นล่าสุดระบุว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ก่อนหน้า วัคซีนมึความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์ย่อย XBB ต่ำ ทำให้เกิดการตั้งคำถามว่าประสิทธิภาพของวัคซีนนั้นครอบคลุมมากแค่ไหน!

นักวิจัยได้พิจารณาตรวจสอบผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมถึง 13 มกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่สายพันธุ์ย่อย XBB และ XBB.1.5 ในสหรัฐฯ มีจำนวนเพิ่มขึ้น  ขณะที่ CDC ระบุว่าวัคซีนตัวล่าสุดช่วยป้องกันอาการเจ็บป่วยได้ราวครึ่งหนึ่งของผู้ที่เคยได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิดเดิมที่ 2-4 โดส

 

โดยในกลุ่มผู้มีอายุ 18-49 ปี วัคซีนตัวใหม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ BA.5  52%  และ XBB/XBB.1.5 48% ขณะที่ในกลุ่มผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไปประสิทธิภาพของวัคซีนจะลดลงเหลือ 37% ในการป้องกันการติดเชื้อ BA.5 และ 43% ในการป้องกันการติดเชื้อ XBB/XBB.1.5

 

ดร. Jackson ยังระบุเพิ่มเติมว่า แต่วัคซีนตัวใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงสามารถลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้มากกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับวัคซีนชนิดเดิม และหากผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนโควิดมาก่อนฉีดวัคซีนตัวใหม่นี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตลงกว่า 13 เท่า แม้ยังไม่มีผลในรายงานการศึกษาก็ตาม

ข้อมูลจากรัฐบาลสหรัฐฯ ระบุว่า

เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในสหรัฐฯ เป็นการติดเชื้อจากสายพันธุ์ย่อย XBB.1.5 (ข้อมูลวันที่ 21 ม.ค.) ขณะที่ CDC เตรียมหารือกับองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่าควรเสนอให้ฉีดวัคซีนโควิดปีละครั้งเหมือนวัคซีนไข้หวัดใหญ่หรือไม่

.

 

โควิด 19 การใส่หน้ากากอนามัย

ยง ภู่วรวรรณ

ราชบัณฑิต

18 มกราคม 2566

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า โรคโควิด 19 กำลังเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล ความรุนแรงของโรคลดลงมาโดยตลอด ระยะเวลาผ่านมาแล้วถึง 3 ปี ประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อไปแล้ว หรือฉีดวัคซีนไปเป็นจำนวนมากพอสมควรแล้ว ปัญหาขณะนี้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะต้องปกป้อง ไม่ให้เกิดความรุนแรง และเสียชีวิตได้

เมื่อกาลเวลาผ่านไป แนวทางการปฏิบัติก็ย่อมมีการผ่อนปรนแบบสมดุล

การใส่หน้ากากอนามัย องค์การอนามัยโลก (13 มกราคม 2566) ให้คำแนะนำในการใส่หน้ากากอนามัยใน

ผู้ที่สัมผัสโควิด 19

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคโควิด 19 แล้วจะมีความรุนแรง อย่าง เช่นในผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือที่รู้จักกันในนาม 608

ในคนปกติทั่วไป ที่อยู่ในพื้นที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก

ในแต่ละพื้นที่ จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยง และสถานการณ์ของการระบาดของโรค

การฉีดวัคซีนให้ครบ 3 เข็ม เป็นอย่างน้อย จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

อ่านรายละเอียดได้จาก >>

logoline