svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“หมอยง” ชี้ “หน้ากากอนามัย” ยังมีความสำคัญในการใช้ต่อสู้กับโควิด-19  

18 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ดัง ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา แนะนำประชาชนให้ติดตามอ่านประกาศจากทาง “WHO” เกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัย ที่มีการระบุว่า การสวมใส่ยังคงสำคัญต่อการต่อสู้กับโควิด-19

18 มกราคม 2566 อีกบทความที่น่าอ่าน น่าสนใจ โดยล่าสุดทางด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว "Yong Poovorawan" ในประเด็น การใส่หน้ากากอนามัย โดยได้ระบุข้อความว่า

โควิด 19 การใส่หน้ากากอนามัย

ยง ภู่วรวรรณ

ราชบัณฑิต

18 มกราคม 2566

ปัจจุบันต้องยอมรับว่า โรคโควิด 19 กำลังเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล ความรุนแรงของโรคลดลงมาโดยตลอด

ระยะเวลาผ่านมาแล้วถึง 3 ปี ประชากรส่วนใหญ่ติดเชื้อไปแล้ว หรือฉีดวัคซีนไปเป็นจำนวนมากพอสมควรแล้ว

ปัญหาขณะนี้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะต้องปกป้อง ไม่ให้เกิดความรุนแรง และเสียชีวิตได้

เมื่อกาลเวลาผ่านไป แนวทางการปฏิบัติก็ย่อมมีการผ่อนปรนแบบสมดุล

การใส่หน้ากากอนามัย องค์การอนามัยโลก (13 มกราคม 2566) ให้คำแนะนำในการใส่หน้ากากอนามัยในผู้ที่สัมผัสโควิด-19

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคโควิด-19 แล้วจะมีความรุนแรง อย่างเช่นในผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือที่รู้จักกันในนาม 608

ในคนปกติทั่วไป ที่อยู่ในพื้นที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก

ในแต่ละพื้นที่ จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยง และสถานการณ์ของการระบาดของโรค

การฉีดวัคซีนให้ครบ 3 เข็ม เป็นอย่างน้อย จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

ชวนคอข่าว ย้อนอ่านโพสต์หมอยง ก่อนหน้านี้ น่าสนใจมากๆ ใจความระบุว่า

โควิด 19 ผู้ป่วยโควิด 19 ตรวจ ATK เดี๋ยวบวก เดี๋ยวลบ หรือ 10 วันแล้วยังเป็นบวกอยู่ ทำอย่างไรดี?

ยง ภู่วรวรรณ

ราชบัณฑิต

17 มกราคม 2566

ผู้ป่วยโควิด 19 ส่วนใหญ่มีอาการน้อย ได้รับการวินิจฉัยจาก ATK ขึ้น 2 ขีด จะได้รับการรักษาตามอาการหรือให้ยาต้านไวรัส

ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ATK ซ้ำ ระหว่างการรักษาหรือหายจากโรค

เราจะไม่ยึดถือ ให้ผล ATK หรือขีดเดียวแล้วจึงบอกว่าพ้นระยะติดต่อ ในทางปฏิบัติให้แยกตัว เคร่งครัด เป็นเวลา 5 วัน และอีก 5 วัน ไปทำธุรกิจที่จำเป็นได้ แต่ต้องเคร่งครัดในการป้องกันการแพร่กระจายของโรคด้วยการใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือ

เราถือจำนวนวันเป็นหลัก จะไม่เอาผล ATK มาตัดสินใจ ว่าต้องให้ ATK เหลือขีดเดียวจึงจะพ้นระยะติดต่อ

การดูแลรักษา เราจะดูแลรักษา คนไข้ ตามอาการของคนไข้ ไม่ได้รักษากระดาษหรือผล ATK

เด็กนักเรียนที่ปกติ แข็งแรงดีก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องตรวจ ATK ก่อนไปโรงเรียน จะดูอาการของเด็กเป็นหลัก ถ้ามีอาการป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ ไม่ควรไปโรงเรียน

โควิด 19 งานวิจัยเกี่ยวกับการติดเชื้อซ้ำ

ยง ภู่วรวรรณ 16 มกราคม 2566

ขณะนี้ ผมต้องการอยากได้ข้อมูลในผู้ที่เคยป่วยเป็นโควิด 19 2 ครั้ง การศึกษานี้ได้ผ่านคณะกรรมการจริยธรรมของคณะแพทย์ศาสตร์เรียบร้อยแล้ว จึงขอประกาศซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะให้ได้จำนวนมากที่สุด นำมาวิเคราะห์

ขอเชิญชวน ผู้ที่ป่วยหรือติดเชื้อโควิด 2 ครั้ง กรุณาช่วยตอบแบบ สอบถามเพื่องานวิจัย โดยขอความร่วมมือตอบตามความเป็นจริง

 

ในปัจจุบัน โรคโควิด-19 ได้เริ่มมีการติดเชื้อซ้ำ หรือมีการติดเชื้อเป็นครั้งที่ 2 มากขึ้น ทางศูนย์ฯ จึงมีความสนใจที่จะศึกษาลักษณะของการติดเชื้อซ้ำของโรคโควิด-19 ครั้งที่ 2​

 

ในการศึกษานี้จะมีการให้ตอบแบบสอบถามออนไลน์ โดยมีการเก็บข้อมูลในรายละเอียดของท่านเพื่อนำไปวิเคราะห์ลักษณะทางประชากร เช่น ประวัติการฉีดวัคซีนก่อน และการติดเชื้อทั้ง 2 ครั้ง รวมทั้งความรุนแรงของโรค ในแต่ละครั้ง และผลที่เกิดขึ้นของการติดเชื้อซ้ำ เพื่อหาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซ้ำ หรือติดครั้งที่ 2

ดังนั้นขอเรียนเชิญท่านที่มีประวัติ เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้วอย่างน้อย 2 ครั้ง มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เข้าร่วมตอบแบบสอบถามในกูเกิลฟอร์ม โดยผลการศึกษาวิจัยจะนำไปเผยแพร่ในภาพรวม แต่จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามนี้

แบบสอบถามอยู่ใน อยู่ใน QR code หรือ web link

ชุดข้อมูล แบบสอบถาม ..ถ้าคุณๆ สนใจร่วมทำ>> คลิกที่นี่ >>

 

“หมอยง” ชี้ “หน้ากากอนามัย” ยังมีความสำคัญในการใช้ต่อสู้กับโควิด-19  

“หมอยง” ชี้ “หน้ากากอนามัย” ยังมีความสำคัญในการใช้ต่อสู้กับโควิด-19  

“หมอยง” ชี้ “หน้ากากอนามัย” ยังมีความสำคัญในการใช้ต่อสู้กับโควิด-19  

อีกหนึ่งประเด็นที่สังคมจับตา !!

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ แนะ19 - 22 ม.ค. เตรียมหน้ากาก N95 หลังอากาศนิ่งตลอดสัปดาห์นี้
อากาศนิ่งตลอดสัปดาห์นี้ ผู้ว่าฯชัชชาติ แนะชาวกรุง เตรียมหน้ากากป้องกันฝุ่น pm2.5 และพร้อมดูแลสวนเบญจกิติให้เป็นปอดของคนกรุงฯต่อไป

“หมอยง” ชี้ “หน้ากากอนามัย” ยังมีความสำคัญในการใช้ต่อสู้กับโควิด-19  

“หมอยง” ชี้ “หน้ากากอนามัย” ยังมีความสำคัญในการใช้ต่อสู้กับโควิด-19  
โดยเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (ฝุ่นละออง PM2.5) ชั้น 2 อาคารสำนักการโยธา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานครดินแดง

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวว่า วันนี้เห็นจากบนยอดตึกพบสภาพอากาศของกรุงเทพฯ มีหมอก จึงมาตรวจเยี่ยมศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร พบว่าในหมอกดังกล่าวก็จะมีฝุ่นสะสมอยู่ ค่าเฉลี่ย PM2.5 เฉลี่ยอยู่ที่ 30 มคก./ลบ.ม. โดยมาตรฐานที่ทั่วโลกใช้เป็นค่าเฉลี่ยของทั้งวัน(24 ชม.) ที่ไม่เกิดอันตรายต่อสุขภาพจะอยู่ที่ 50 มคก./ลบ.ม. โดยกทม.มีสถานีตรวจวัดค่า PM2.5 อยู่ 70 สถานีทั่วกรุงเทพ และขณะนี้ไม่มีจุดฮอตสปอต (จุดที่เผาชีวมวล) แต่เห็นฮอตสปอตแถวกัมพูชาเยอะขึ้น อาจต้องมีการพูดคุยกับกระทรวงต่างประเทศเพื่อประสานความร่วมมือ แต่ในกรุงเทพฯ เรากวดขันหากมีฮอตสปอตเราจะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดู ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันไม่ได้แย่มาก ที่กังวลจะเป็นช่วงวันที่ 16 – 17 ม.ค.นี้ อากาศจะนิ่ง และวันที่ 19 – 22  ม.ค.ควรเตรียมพร้อมใส่หน้ากาก N95 หรือหน้ากากโควิด

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันอาจมีความเข้าใจสับสนระหว่างค่า AQI กับ PM2.5  ที่มีความแตกต่างกัน โดย AQI เป็นค่าดัชนีสภาพอากาศที่เทียบสีเพื่อให้เข้าใจง่าย ซึ่งวัดค่าจาก 6 อย่างมาเฉลี่ยกัน คือ PM2.5, PM10 คาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และโอโซนชั้นผืนดิน โดย AQI ใช้การคำนวณไม่ได้วัดค่าโดยตรง อีกแอปฯ หนึ่งคือ AirVisual จะใช้เซ็นเซอร์ส่งข้อมูลเข้ามาโดยวัดเฉลี่ยต่อ 1 ชั่วโมง  ในขณะที่แอปฯ Airbkk ที่กทม. และการรายงานของกรมควบคุมมลพิษใช้เป็นค่าเทียบอิงกับมาตรฐานโลกจะอ้างอิงที่ 24 ชั่วโมง ซึ่งค่าอาจจะต่างกัน ดังนั้นเราควรแยกให้ออกและทำความเข้าใจข้อมูลระหว่าง  AQI กับ PM2.5

“หมอยง” ชี้ “หน้ากากอนามัย” ยังมีความสำคัญในการใช้ต่อสู้กับโควิด-19  

“หมอยง” ชี้ “หน้ากากอนามัย” ยังมีความสำคัญในการใช้ต่อสู้กับโควิด-19  

ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร ให้คำปรึกษา แนะนำ วางแผน หรือแก้ไขปัญหาแก่หน่วยงานปฏิบัติ รวมถึงการติดตาม รวบรวมข้อมูลสถานการณ์คุณภาพอากาศ และผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจำทุกวัน พร้อมช่องทางการแจ้งเตือนการคาดการณ์และสถานการณ์ฝุ่นละอองให้ประชาชนรับทราบแบบเรียลไทม์

ผู้ว่าฯ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของ สวนเบญจกิติ กทม.ไม่ได้ละเลย เรามี Outsource บริษัทเอกชน ซึ่งมีการออกแบบอย่างละเอียดมากเหมือนศูนย์การเรียนรู้ที่ไม่เหมือนสนามกอล์ฟซึ่งเขียวตลอดเวลา โดยสวนดังกล่าวทางกรมการทหารช่างราชบุรีเป็นผู้ก่อสร้างซึ่งมีความรวดเร็วและคุณภาพดี ทางกทม.ได้มีการหารือกันอยู่ตลอดเกี่ยวกับการหาแหล่งน้ำถาวร โดยเฉพาะหน้าแล้งที่กำลังมาถึงนี้ได้มีการวางแผนระยะยาว ซึ่งสวนนี้กทม.ดูแลไม่ต่างจากสวนอื่น เป็นสวนที่รับมาใหม่ เป็นแนวคิดใหม่ บางอย่างก็ต้องเรียนรู้ร่วมกันไป ทั้งผู้ออกแบบ ผู้ก่อสร้าง คนดูแลที่เรารับคนสวนมา และมีการวางแผนระยะยาวหลายหน่วยงาน อาทิ สำนักการระบายน้ำ สำนักสิ่งแวดล้อม กรมธนารักษ์ที่เป็นเจ้าของสวนฯและบริษัทเอกชน รวมถึงการตรวจคุณภาพน้ำและอุปกรณ์จัดการสวน ขอบคุณทุกท่านที่เป็นกังวล ส่วนเรื่องโครงการอื่น ๆ เรายังมีการดำเนินการต่อไม่ได้ยกเลิก กทม.ลุยตลอดและพยายามทำอย่างเต็มที่

“หมอยง” ชี้ “หน้ากากอนามัย” ยังมีความสำคัญในการใช้ต่อสู้กับโควิด-19  
เปิดวิธีดูหน้ากากอนามัยปลอม ดูอย่างไร?
         
ก่อนจะซื้อหน้ากากอนามัยในช่วงนี้ ก็ต้องดูให้ดีก่อน เพราะหน้ากากอนามัยปลอมมีออกมาขายเกลื่อนตลาดไปหมด บางคนเห็นว่าหนามีหลายชั้น ต้องกันไวรัสได้แน่นอน แต่ในทางกลับกันหากหน้ากากหนา มีหลายชั้น แต่ไม่มีแผ่นกรอง ก็ไม่สามารถป้องกันได้ดีเท่าที่ควร โดยวิธีตรวจสอบหน้ากากอนามัยเบื้องต้นทำได้ ดังนี้

1.บรรจุภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน สังเกตได้จากบรรจุภัณฑ์ของตัวสินค้า  มักมีรอยบุบชำรุด ไม่มีการห่อซีลสินค้า บรรจุภัณฑ์ที่ได้ตามมาตรฐาน จะต้องระบุประเภทของหน้ากาก คำแนะนำการใช้งาน แหล่งผลิตและนำเข้า วันเดือนปีที่ผลิต และวันหมดอายุ อย่างชัดเจน และมีการห่อซีลของสินค้า

2.มีกลิ่นสารเคมีหรือกลิ่นพลาสติก ส่วนมาก หน้ากากอนามัยปลอม เมื่อขยี้จะมีละอองฟุ้งออกมา และยังมีกลิ่นของสารเคมีหรือกลิ่นพลาสติก โดยปกติแล้วหน้ากากที่ได้มาตรฐานจะต้องไม่มีกลิ่นสารเคมี

3.มีตำหนิ หน้ากากมีรอยตำหนิ รอยเปื้อน นั่นเกิดจากการนำหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว มาซักรีด และนำมาบรรจุขายใหม่

4.ไม่มีแผ่นกรอง เมื่อลองทดสอบตัดหน้ากากอนามัยออกมาดูแล้ว หากเป็นของแท้จะมีแผ่นกรองแต่หากเป็นของปลอมที่ไม่ได้มาตรฐานจะไม่มีแผ่นกรองอยู่ข้างใน แม้จะทำออกมาหนาหลายชั้นแต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสได้เหมือนหน้ากากอนามัยของแท้ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับการใส่หน้ากากอนามัยผ้าเลย มิหนำซ้ำยังมีราคาที่สูงกว่าด้วย

“หมอยง” ชี้ “หน้ากากอนามัย” ยังมีความสำคัญในการใช้ต่อสู้กับโควิด-19  

“หมอยง” ชี้ “หน้ากากอนามัย” ยังมีความสำคัญในการใช้ต่อสู้กับโควิด-19  

5.ไม่กันน้ำ หยดน้ำแล้วน้ำซึมเข้าหน้ากาก ให้ลองหยดน้ำเปล่า ลงบนหน้ากาก หากพบว่า น้ำซึมเข้าหน้ากากนั่นหมายความว่าหน้ากากไม่มีประสิทธิภาพใช้ป้องกันไวรัสไม่ได้ แต่ก็ยังมีบางยี่ห้อที่สามารถกันน้ำได้ แต่ด้านในไม่มีตัวกรองสำหรับป้องกันไวรัส เพราะฉะนั้นจึงต้องตรวจสอบด้านในด้วยว่ามีแผ่นกรองหรือไม่

ไขข้อสงสัยหน้ากากอนามัยแบบไหนได้มาตรฐาน ป้องกันไวรัสได้         

  • หน้ากากที่ป้องกันไวรัสได้จะต้องมีสามชั้น หรือหน้ากากทางการแพทย์นั่นเอง
  • ชั้นนอกวัสดุทำจาก Poly Propylene Spun bond มีความหนาตั้งแต่ 14-20 grams มีข้อดีคืออากาศผ่านเข้าออกได้ ไม่ดูดซึมน้ำ
  • ชั้นกลางทำจาก Melt Blown Filter หนา 20-25 grams
  • ชั้นในทำมาจากวัสดุเช่นเดียวกันกับชั้นนอก มีความหนาตั้งแต่ 20-25 grams

โดยรวมแล้วมีคุณสมบัติในการกรองฝุ่น ป้องกันของเหลวซึมผ่าน และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากการไอ จาม


ทบทวนวิธีใส่และถอดหน้ากากอนามัยที่ถูกต้อง

  • ล้างมือด้วยเจลล้างมือแอลกอฮอล์ หรือสบู่ให้สะอาด ก่อนใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง
  • ใส่หน้ากากอนามัยให้ปิดปากและจมูก โดยไม่มีช่องว่างระหว่างใบหน้าและหน้ากากอนามัย
  • ไม่สัมผัสหน้ากากอนามัยระหว่างใช้งาน หากเผลอไปสัมผัสให้ล้างมือให้สะอาด ด้วยเจลล้างมือแอลกอฮอล์หรือสบู่
  • เวลาถอดหน้ากากอนามัยห้ามสัมผัสหน้ากากโดยตรง ให้ถอดจากด้านหลังโดยจับสายเกี่ยวหูทั้งสองด้าน และทิ้งในถังขยะแบบปิด
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยเจลล้างมือแอลกอฮอล์หรือสบู่นาน 20 วินาทีเพื่อฆ่าเชื้อไวรัส
  • หน้ากากอนามัยใช้ซ้ำได้ไหม? วิธีเก็บรักษาหน้ากากอนามัย

         
หน้ากากอนามัยแบบมาตรฐาน หรือหน้ากากทางการแพทย์ใส่ซ้ำได้หรือไม่ 
จริงๆ แล้วหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ถูกออกแบบไว้สำหรับการใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเท่านั้น แต่หากจำเป็นจริงๆ อาจใส่ซ้ำอีกวันได้ โดยที่หน้ากากอนามัยนั้นจะต้องอยู่ในสภาพดี ไม่เปียกชื้น ไม่เปรอะเปื้อน ไม่ชำรุด และสายคล้องหูต้องไม่ยืด เพราะจะทำให้หน้ากากอนามัยไม่แนบชิดกับใบหน้า 

ไม่ควรนำหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ไปซัก 
เพราะตัวหน้ากากมีเส้นใยสังเคราะห์ที่มีสารเคลือบกันน้ำ หากนำไปซักล้าง จะทำให้หน้ากากอนามัยเสียคุณสมบัติในการป้องกันไวรัสไป และยังอาจทำให้เส้นใยหน้ากากเป็นขุย เวลาที่เราหายใจเข้าไปอาจสูดเอาขุยจากหน้ากากอนามัยเข้าไปได้ นอกจากจะส่งผลเสียต่อร่างกายแล้ว การสวมใส่หน้ากากอนามัยที่ไม่ได้มาตรฐานนั้นไม่สามารถช่วยป้องกันไวรัสได้

ก่อนปิดท้าย ขอแนะนำและหยิบยกสาระดีๆ มาฝากกันตรงนี้ โดยในโลกออนไลน์ มีผู้ใช้ Facebook  Ataya Chinwongs ได้แนะนำวิธีการเก็บหน้ากากอนามัย และการนำออกมาใช้ใหม่ ดังนี้ ใช้ซองหรือถุง หลักๆ คือต้องให้มีอะไรคลุมอย่าเก็บหน้ากากเปล่าๆ ลงกระเป๋า หรือเสื้อ เพราะอาจจะทำสิ่งของอื่นๆ ปนเปื้อน

ขอขอบคุณที่มา : Ataya Chinwongs

พบหน้ากากอนามัยขายเกินราคา แจ้งสายด่วน 1569

logoline