svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

"หมอนพระร่วง" ทุเรียนดีที่ศรีสัชนาลัย  เจาะประเด็นเด่น  โดย "ขุนเกษตร"

01 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ทุเรียนสุโขทัย"ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เพราะเวลาส่งขายต้องไปแพ็กรวมกับ"ทุเรียนอุตรดิตถ์"ที่เขามีชื่อเสียงอยู่แล้ว นี่คือที่มาของการผลักดัน "หมอนพระร่วง" ทุเรียนสุโขทัยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ติดตามเจาะประเด็น โดย"ขุนเกษตร"

เห็นข่าว"ท่านนราพัฒน์ แก้วทอง" ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ภาคเหนือ) ไปเป็นสักขีพยายาน การลงนาม MOU ส่งออก ทุเรียน “หมอนพระร่วง” ทุเรียนจากศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
 

"ขุนเกษตร" รู้จัก "หมอนพระร่วง" จากคนสองคน คนแรกคือ "เกษตรตำบล" ของสำนักงานเกษตรอำเภอศรีสัชนาลัย ที่ส่งเรื่องทุเรียนสุโขทัยมาให้อ่าน อีกคนคือ "พี่เข้ม" "เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง" อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ที่เล่าเรื่องทุเรียนแปลงใหญ่สุโขทัยที่กรมเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่ ให้ "ขุนเกษตร" ฟัง
 

วันนี้…มีคนที่สามที่ถ่ายทอดเรื่องราวของ "หมอนพระร่วง" ออกมาอย่างจริงจัง คือ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นราพัฒน์ แก้วทอง


\"หมอนพระร่วง\" ทุเรียนดีที่ศรีสัชนาลัย  เจาะประเด็นเด่น  โดย \"ขุนเกษตร\"

 

"ทุเรียนหมอนพระร่วง" มีประวัติการปลูกมานานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2340 มีอัตลักษณ์เฉพาะ เนื่องจากปลูกในพื้นที่เขาสภาพดินผุ มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ ปริมาณน้ำฝนไม่มาก จึงทำให้ทุเรียนมีเนื้อแห้ง กรอบ ไม่แฉะ รสชาติเข้มข้น เนื้อทุเรียนมีสีเหลืองนวล เนื้อหนา ละเอียด เมล็ดลีบ ไม่หวานจัด เกษตรกรปลูกแบบธรรมชาติ ใช้สารเคมีค่อนข้างน้อย ทำให้มีความปลอดภัย เกษตรกรปลูกมากในพื้นที่ ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย 

 

ผู้ช่วยนราพัฒน์ บอก "ขุนเกษตร" ว่า  ทุเรียนของจังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ปลูกประมาณ 20,000 ไร่ แต่ทุเรียนสุโขทัยยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เพราะเวลาส่งขายต้องไปแพ็กรวมกับทุเรียนอุตรดิตถ์ที่เขามีชื่อเสียงอยู่แล้ว นี่คือที่มาของการผลักดัน “หมอนพระร่วง” ทุเรียนสุโขทัยให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

\"หมอนพระร่วง\" ทุเรียนดีที่ศรีสัชนาลัย  เจาะประเด็นเด่น  โดย \"ขุนเกษตร\"

การลงนาม MOU ระหว่างบริษัท กสิรุ่งเรือง จำกัด และกลุ่มแปลงใหญ่ 4 กลุ่มประกอบไปด้วย

1.กลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนบ้านตึก

2.กลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนบ้านนาต้นจั่น

3.กลุ่มแปลงใหญ่บ้านปากทรวง

4.กลุ่มแปลงใหญ่บ้านห้วยตม

 

\"หมอนพระร่วง\" ทุเรียนดีที่ศรีสัชนาลัย  เจาะประเด็นเด่น  โดย \"ขุนเกษตร\"

รวมสมาชิก 300 คน พื้นที่ปลูกเกือบ 2,000ไร่ ผลผลิตประมาณ 3,000 ตัน มูลค่าราวๆ 300 ล้านบาท จึงเป็นเรื่องดี ที่รัฐเข้ามาส่งเสริมอย่างเต็มกำลัง

การลงนามในครั้งนี้ เกิดขึ้นภายใต้นโยบายตลาดนำการผลิต ที่กระทรวงพาณิชย์ จับ มือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่รู้จักกันดีในโครงการ "อมก๋อย โมเดล"


\"หมอนพระร่วง\" ทุเรียนดีที่ศรีสัชนาลัย  เจาะประเด็นเด่น  โดย \"ขุนเกษตร\"

 

"ผู้ช่วยนราพัฒน์" บอกว่า การผลักดันอมก๋อยโมเดลให้ได้มากเท่าไหร่ก็จะสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตรมากขึ้นเท่านั้น เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรและมีตลาดรองรับ ได้ราคาที่เป็นธรรม การปลูกทุเรียนในภาคเหนือ กำลังเป็นที่นิยมในหลายพื้นที่ ในฐานะที่เป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ดูแลภาคเหนือ และเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรฯ ก็พยายามดูแลเกษตรกรให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และที่สำคัญ ไม่ใช่แค่เรื่องทุเรียนเท่านั้น แต่จะลงไปดูทุกๆส่วนให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง

 

ฟังผู้ช่วยนราพัฒน์ ขุนเกษตรได้แต่ส่งยิ้ม และหวังว่าจะให้เป็นเช่นนั้น

logoline