svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

เสนอชายแดนตะวันตกเป็น No Fly Zone หลังเมียนมาทิ้งบอมบ์พื้นที่ ปชช. รัวรัว

09 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เสนอชายแดนตะวันตกเป็น No Fly Zone หลังเมียนมาทำสงครามกะเหรี่ยง ส่งเครื่องบินทิ้งบอมบ์ใส่พื้นที่ ปชช. ต่อเนื่อง “กัณวีร์” แนะเปิดประตูสู่มนุษยธรรม นักวิชาการชี้รัฐบาลทหารพม่าละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศหลายฉบับ

9 สิงหาคม 2566 กรณีการสู้รบระหว่าง กองทัพเมียนมา และ กองกำลังกะเหรี่ยง ตามแนวชายแดนของประเทศไทย ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการใช้อาวุธหนัก โดนเฉพาะการใช้อากาศยานทิ้งระเบิด ส่งผลให้มีประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก รวมถึงยังผู้อพยพภัยสงคราม ทะลักเข้ามายังฝั่งประเทศไทย เพื่อลี้ภัยสงคราม 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

เสนอชายแดนตะวันตกเป็น No Fly Zone หลังเมียนมาทิ้งบอมบ์พื้นที่ ปชช. รัวรัว
 

ล่าสุด ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีที่องค์กรภาคประชาชน ทำหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคการเมือง เพื่อขอให้ฝ่ายนิติบัญญัติช่วยกันหามาตรการคุ้มครองประชาชน ตามแนวชายแดนด้านตะวันตก ซึ่งได้รับผลกระทบจากการสู้รบระหว่างทหารเมียนมา กับฝ่ายต่อต้าน โดยเฉพาะการใช้เครื่องบินทิ้งระเบิด ที่ไม่แยกแยะเป้าหมาย 

ทำให้ชาวบ้านฝั่งไทย ได้รับความเสียหายมาแล้วหลายครั้ง ว่า สถานการณ์สู้รบระหว่างกองทัพเมียนมา และกลุ่มติดอาวุธกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ และมีผลกระทบต่อทั้งราษฎรเมียนมา และราษฎรไทยนั้น นอกจากทางเมียนมา ไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ที่รัฐบาลเมียนมาเป็นภาคีแล้ว ยังมีการกระทำที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ หลายฉบับอีกด้วย
หนังสือถึงถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคการเมือง
หนังสือถึงถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคการเมือง
 

ดร.ศรีประภา กล่าวว่า เมียนมาเป็นภาคีกฎหมายระหว่างประเทศหลายฉบับ ทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 4 ฉบับ และกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Geneva Conventions ทั้ง 4 ฉบับ ที่พม่าให้สัตยาบันเมื่อเดือนสิงหาคม 1992 (2535) ทั้งนี้ในอนุสัญญาเจนีวา ซึ่งว่าด้วยแนวปฏิบัติในการทำสงครามเป็นเสมือน code of conduct ที่รัฐภาคีต้องปฏิบัติตาม

ในขณะที่อนุสัญญาเจนีวา 3 ฉบับแรกกำหนดแนวปฏิบัติ เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อคู่สงครามและผู้มีส่วนร่วมในสงคราม (โดยเฉพาะทหาร) ส่วนอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่ 4 มุ่งเน้นการปฏิบัติต่อและการให้การคุ้มครองพลเรือน และผู้ไม่มีส่วนร่วมในสงคราม ซึ่งมีข้อห้ามการโจมตีเป้าหมายพลเรือน และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพลเรือน เช่น หมู่บ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น

ดังนั้น ปฏิบัติการทางทหารของกองทัพพม่า ที่ผ่านมาที่โจมตีโดยไม่เลือกเป้าหมาย (indiscriminate attacks) ที่ก่อให้เกิดความเสียหาย แก่พลเรือน ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ล้มตาย และก่อความเสียหายต่าง ๆ ให้กับพลเรือน จึงถือเป็นการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างรุนแรง
เสนอชายแดนตะวันตกเป็น No Fly Zone หลังเมียนมาทิ้งบอมบ์พื้นที่ ปชช. รัวรัว

“อาจจะมีข้อโต้แย้งว่า การสู้รบในเมียนมา ที่กำลังดำเนินอยู่ ไม่ถือว่าเป็นสงคราม ตามนิยามความหมายของอนุสัญญาเจนีวา แต่หากพิจารณามาตรา 3 ของอนุสัญญาเจนีวาทั้ง 4 ฉบับ จะเห็นชัดเจนว่า ความขัดแย้งที่ไม่มีลักษณะเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศ อย่างในกรณีของเมียนมา ในฐานะรัฐภาคีไม่อาจหลีกเลี่ยงพันธกรณีได้ โดยเฉพาะการให้ความคุ้มครอง แก่ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในสงคราม/ความขัดแย้ง 

ในขณะที่การสู้รบในเมียนมา ผลกระทบอย่างสูงต่อประชาชน ที่อาศัยอยู่ในเขตสู้รบ แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า การสู้รบที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบไม่น้อยต่อราษฏรไทย ที่อาศัยบริเวรณชายแดน คนเหล่านี้ต้องใด้รับการช่วยเหลือ ดูแลเช่นเดียวกัน

“กัณวีร์” ชงเสนอชายแดนตะวันตกเป็น No Fly Zone 

ด้าน นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.พรรคเป็นธรรม กล่าวว่าในวันที่ 10 ส.ค. นี้ จะขอหารือกับที่ประชุมสภาผู้แทนฯ ถึงข้อเสนอเร่งด่วนของภาคประชาชน ที่ให้หามาตรการคุ้มครอง จากผลกระทบจากส่งครามในประเทศเมียนมา เพื่อให้สภาฯ ได้รับทราบถึงปัญหา ในสถานการณ์พื้นที่ชายแดนด้านตะวันตกของไทย ที่มีผู้หนีภัยอพยพข้ามมา ซึ่งประเทศไทยจำเป็นต้องเตรียมความพร้อม

สิ่งที่ตนอยากเสนอคือ เรื่องการเปิดประตูสู่มนุษยธรรม (Humanitarian Corridor ) โดยไม่ได้เป็นการเปิดให้ผู้หนีภัย เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร แต่เป็นการลดภาระให้ชุมชน โดยเฉพาะชุมชนที่มีคนลี้ภัยเข้ามา และได้มีแนวปฎิบัติของรัฐบาลก่อน ๆ ในการให้ความช่วยเหลือคนเหล่านี้

แต่ไม่มีมิติการเพิ่มศักยภาพให้ชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และรัฐไทยจำเป็นต้องมีการหารือ กับรัฐบาลทหารเมียนมา เพื่อเปิดพื้นที่ปลอดภัยในฝั่งเมียนมา เพื่อให้ผู้ที่หนีภัยการสู้รบ หลบเข้าไปอยู่อย่างปลอดภัย โดยพื้นที่เหล่านี้ จะต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัยจริง ๆ และไม่มีการนำเครื่องบินมาทิ้งระเบิด
นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.พรรคเป็นธรรม  

“พื้นที่ชายแดนต้องเป็น No Fly Zone หรือ No Fighting Zone แล้วทำให้ผู้ลี้ภัยอยู่บนฝั่งเมียนมาได้  ขณะที่ฝั่งไทยก็สามารถส่งต่อความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรม ผ่านพื้นที่ปลอดภัยจากฝั่งไทย เข้าไปฝั่งเมียนมา โดยให้องค์กรต่าง ๆ เข้าไปให้ความช่วยเหลือด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฝ่ายเดียว"
เสนอชายแดนตะวันตกเป็น No Fly Zone หลังเมียนมาทิ้งบอมบ์พื้นที่ ปชช. รัวรัว  

นายกัณวีร์ กล่าวว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องแสวงหา ความเป็นผู้นำในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งเราเคยทำมาแล้วสมัยสงครามอินโดจีน ที่ได้รับการยอมรับในเวทีระหว่างประเทศ เพราะดูแลเรื่องนี้ได้ดีมาก โดยต้องมีการหารือกับ 2 ส่วน คือผู้นำทหารเมียนมา ในความจำเป็นที่ต้องเกิด No Fly Zone โดยเร็ว เพราะประชาชนในพื้นที่ชายแดน จำเป็นต้องได้รับความคุ้มครองเร่งด่วน

และรัฐบาลไทย จำเป็นต้องแสวงหาแนวร่วมในพหุภาคี โดยใช้กรอบอาเซียน ซึ่งจะสอดคล้องกับฉันทามติ 5 ข้อของอาเซียน ซึ่งอาเซียนจะเข้าไปคุยกับผู้นำทหารเมียนมา และเรื่องประตูสู่มนุษยธรรม เป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้นำอาเซียนหยิบยกเข้าไปหารือ

ผู้สื่อข่าวถามว่า กองทัพเมียนมา มักให้เหตุผลว่า การใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดนั้น เป็นพื้นที่ของเมียนมา ที่โจมตีฝ่ายต่อต้าน ไม่ใช่เขตพลเรือน นายกัณวีร์ กล่าวว่า การที่เมียนมาอ้างว่า เป็นอธิปไตยเหนือดินแดนของตน เป็นเหตุผลที่ใช้อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นไทยต้องยึดมั่นในเรื่อง No Fly Zone ไว้

โดยต้องหารือกับทหารเมียนมาให้ได้ รวมทั้งใช้กรอบของอาเซียน ร่วมกดดันให้ได้ ที่สำคัญคือเมียนมา จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องการยิงแบบไม่หวังผล หรือการยิงมั่ว ต้องยุติให้ได้

ดังนั้น No Fly Zone จึงควรเกิดขึ้น แม้จะเป็นเรื่องยากสำหรับทหารเมียนมา แต่ทหารไทยมีความร่วมมือที่ดีกับฝั่งเมียนมา ทั้งระดับระดับพื้นที่และระดับภูมิภาค ดังนั้นไทยจึงต้องใช้ทุกกลไกที่มีอยู่ เพื่อแสวงหาความร่วมมือตรงนี้ให้ได้
เสนอชายแดนตะวันตกเป็น No Fly Zone หลังเมียนมาทิ้งบอมบ์พื้นที่ ปชช. รัวรัว

เมื่อถามว่า ตอนนี้ประเทศไทยยังไม่มีรัฐบาล ที่มีอำนาจบริหารเต็มที่ ทำให้ภาคประชาชนมีความคาดหวังกับฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งไม่รู้ว่าฝ่ายนิติบัญญัติ จะมีวิธีการกดดันให้กลไกรัฐดำเนินการอย่างไร ส.ส.พรรคเป็นธรรม กล่าวว่า  การหารือในสภาฯ วันที่ 10 ส.ค. นี้ เราจะพยายามใช้ทุกกลไกของสภาฯ ทั้งการยื่นญัติ การตั้งกระทู้เฉพาะเรื่อง กระทู้นอกห้อง เพื่อผลักดันเรื่องนี้ ทั้งการส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี และในการหารือในสภาฯ ก็มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ก็ต้องเข้าร่วมด้วย
เสนอชายแดนตะวันตกเป็น No Fly Zone หลังเมียนมาทิ้งบอมบ์พื้นที่ ปชช. รัวรัว
 

logoline