svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

กรมชลประทานเร่งแผนระยะที่ 1 แก้ท่วม-แล้งพื้นที่ชัยภูมิ

15 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"กรมชลประทาน"เดินหน้าโครงการบรรเทาอุทกภัย เมืองชัยภูมิ ระยะที่ 1 แก้ปัญหาน้ำท่วม-แล้ง คืบหน้า 25% คาดแล้วเสร็จปี 2568 ลดพื้นที่เกษตรกรรมเสียหายปีละ 2 หมื่นไร่

15 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมชลประทาน ได้จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร ติดตามโครงการบรรเทา อุทกภัย เมืองชัยภูมิ (ระยะที่ 1) จ.ชัยภูมิ ซึ่งอำเภอเมือง จ.ชัยภูมิ ตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชีตอนบน มีลักษณะเป็นที่ราบเชิงเขา ทำให้ฤดูฝนมักมีน้ำหลากจากภูเขาลงพื้นราบ โดยไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่ จึงเกิดอุทกภัยเป็นประจำ

 

กรมชลประทานเร่งแผนระยะที่ 1 แก้ท่วม-แล้งพื้นที่ชัยภูมิ

 

ทั้งนี้ โดยเฉพาะเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ที่มีลักษณะเป็นแอ่งรับน้ำ จึงมักถูกน้ำท่วมขังในพื้นที่ประมาณ 30,000 ไร่ หรือร้อยละ 90 ของพื้นที่อำเภอเมืองชัยภูมิ ซึ่งกรมชลประทานจึงได้เดินหน้าแก้ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง เมืองชัยภูมิ ด้วยโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ ระยะที่ 1 ทั้งเพิ่มศักยภาพคลองผันน้ำลำปะทาว -สระเทวดา รวมถึงเพิ่มประตูระบายน้ำ เพื่อยกระดับการแก้ปัญหาน้ำท่วมตัวเมือง ช่วยลดพื้นที่เกษตรกรรมเสียหายจากน้ำท่วมได้ถึงปีละ 2 หมื่นไร่ 

โดย "นายพงศ์กร กำแหง" ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างขนาดกลางที่ 6 เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้ศึกษาความเหมาะสมการพัฒนาแหล่งน้ำ และการบริหารจัดการน้ำลำปะทาวและห้วยยางบ่า เพื่อใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ซึ่งจากการศึกษาพบว่า น้ำที่ไหลผ่านเข้าตัวเมือง จ.ชัยภูมิ รวมประมาณ 325 ลบ.ม.ต่อวินาที แต่มีศักยภาพการระบายน้ำเพียง 145 ลบ.ม.ต่อวินาที จึงมีแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แบ่งออกเป็น 4 ระยะ

 

กรมชลประทานเร่งแผนระยะที่ 1 แก้ท่วม-แล้งพื้นที่ชัยภูมิ

 

สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ จ.ชัยภูมิ ระยะที่ 1 นั้น มีแผนปฎิบัติงานประกอบด้วย การขุดขยายคลองผันน้ำลำปะทาว ถึงแก้มลิงสระเทวดา ยาว 8.45 กิโลเมตร สามารถระบายน้ำได้ 150 ลบ.ม.ต่อวินาที พร้อมด้วยประตูระบายน้ำ 3 แห่ง การขุดขยายคลองเชื่อมลำปะทาว –ห้วยดินแดง ยาว 1.33 กิโลเมตร และปรับปรุงคลองเดิมให้ระบายน้ำได้ 50  ลบ.ม./วินาที พร้อมประตูระบายน้ำ 1 แห่ง และสร้างประตูระบายน้ำและอาคารประกอบ ในลำน้ำเดิมอีก 6  แห่ง ส่วนโครงการอีก 3 ระยะที่เหลือ อยู่ในขั้นตอนศึกษาความเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ในการที่จะป้องกันบรรเทาอุทกภัยในตัวเมืองชัยภูมิ ต้องมีการเพิ่มประสิทธิภาพในทั้ง 4 แผน ซึ่งโครงการผันน้ำระยะที่ 1 ดำเนินการไปแล้ว 25% คาดว่าจะแล้วเสร็จปี 2568 ส่วน 3 ระยะ ต้องดำเนินการต่อจากนั้นประมาณ 4 ปี ซึ่งโครงการไหน ที่สามารถดำเนินการได้ก็จะเร่งรีบดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว

 

กรมชลประทานเร่งแผนระยะที่ 1 แก้ท่วม-แล้งพื้นที่ชัยภูมิ

 

จากนั้น ได้ลงพื้นที่ไปพบปะพูดคุยกับผู้ได้รับผลกระทบ จุดที่น้ำท่วมสูงที่สุด บริเวณอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล และโรงพยาบาลชัยภูมิ และรับฟังปัญหาเกษตรกรในพื้น 

 

กรมชลประทานเร่งแผนระยะที่ 1 แก้ท่วม-แล้งพื้นที่ชัยภูมิ


 

logoline