svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ชี้ปัญหาคุกคามไซเบอร์ ต้องเปิดข้อมูลรัฐ ปิดข้อมูลส่วนตัวประชาชน

06 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"สถาบันพระปกเกล้า" ถก ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย "ดร.สติธร" ชี้ปัญหาคุกคามไซเบอร์ ต้องเปิดข้อมูลรัฐ ปิดข้อมูลส่วนตัวประชาชน ด้าน"ชมพูนุท" เผยประเทศเผด็จการความเหลื่อมล้ำน้อยกว่าประชาธิปไตย

 

ที่ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ สถาบันพระปกเกล้า จัดงานประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24 ประจำปี 2565 หัวข้อ "ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย" พร้อมนำเสนอผลการประชุมทั้ง 5 กลุ่ม โดย"ดร.สติธร ธนานิธิโชติ" ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย "นางสาวชมพูนุท ตั้งถาวร" นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า "ดร.เลิศพร อุดมพงษ์" นักวิชาการผู้ชำนาญการ "ดร.ชลัท ประเทืองรัตนา" นักวิชาการผู้ชำนาญการ นางสาวธีรพรรณ ใจมั่น ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา

 

"ดร.สติธร ธนานิธิโชติ" ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย

 

"ดร.สติธร" กล่าวว่า ความมั่นคงทางไซเบอร์ มีความคุกคามเรื่องความไม่เท่าเทียมในดิจิทัล เนื่องจากทักษะในการใช้ประโยชน์ต่างกัน รัฐบาลมองว่าปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ จะเป็นการก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของบุคคล กฎหมายในประเทศไทยในปัจจุบันที่ออกโดยรัฐจึงมุ่งออก "พ.ร.บ.ไซเบอร์" เพื่อปกป้องคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้คนมากขึ้น

 

ชี้ปัญหาคุกคามไซเบอร์ ต้องเปิดข้อมูลรัฐ ปิดข้อมูลส่วนตัวประชาชน

ดังนั้นจึงมีข้อเสนอการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัล ในการตัดสินใจสาธารณะ เช่น การใช้เทคโนโลยีในการเลือกตั้ง เทคโนโลยีเป็นการคุกคามแต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เปิดข้อมูลภาครัฐไปพร้อมปิดข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน

"นางสาวชมพูนุท ตั้งถาวร" นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า

 

ทางด้าน"นางสาวชมพูนุท ตั้งถาวร" นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ผลกระทบทางภูมิศาสตร์ ประเทศจีนมีความเหลื่อมล้ำที่น้อยกว่าประเทศที่เป็นประชาธิปไตย แต่เมื่อมองในระยะยาวระบบประชาธิปไตยจะดีกว่าเผด็จการ เนื่องจากความไม่พอใจของประชาชนในภายหลัง ประชาธิปไตยสามารถรับมือกับความท้าทายได้ คือจะต้องมีความโปร่งใสและภาวะผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ การวางตัวในเวทีระหว่างประเทศ 

 

"ดร.เลิศพร อุดมพงษ์" นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า

 

ณะที่"ดร.เลิศพร อุดมพงษ์" นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า ระบุว่า ประชาธิปไตยกับความมั่นคงทางสังคม การคาดการสังคมไทยมีแนวโน้มผู้สูงอายุเลือกที่จะอยู่คนเดียวสูงขึ้น แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ความมั่นคงของครอบครัวเป็นรากฐานไปสู่ความมั่นคงทางสังคม ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้โลกกลายเป็นสังคมดิจิทัล เศรษฐกิจฟื้นตัวแบบรูปตัว k ความยากจนสูงขึ้น และภาวะการถดถอยการเรียนรู้จากการเรียนออนไลน์ ความท้าทายที่มีผลกระทบทางสังคมในประเทศ เกิดความสามัคคีในสังคมเนื่องจากทรัพยากรมีจำกัด ข้อจำกัดเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้นทุนการผลิต ความอ่อนแอของการบริหารราชการ แผ่นดิน ในส่วนของความท้าทายด้านสุขภาพในอนาคต คือการเข้าถึงประกันที่มีประสิทธิและเป็นธรรม

logoline