svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ฝ่ายค้าน-ภาคปชช."ชงปลดอำนาจส.ว.เลือกนายกฯปรับคุณสมบัติใหม่

06 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"รัฐสภา"ถกร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม-เพิ่มสิทธิในกระบวนการยุติธรรม พร้อมตัดอำนาจวุฒิสภา แก้คุณสมบัติและที่มานายกรัฐมนตรี

6 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมร่วมรัฐสภา ซึ่งมีวาระการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายฉบับ โดยทางฝ่ายค้าน รวมถึงพรรคร่วมรัฐบาล ได้มีการเสนอให้แก้ไขเนื้อหาที่มาของนายกรัฐมนตรี นั้น ต้องมาจากการเป็น ส.ส.  ขณะที่เนื้อหาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญของทาง สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ว่าด้วยประเด็นหน้าที่ของ ส.ว. ซึ่งมีการเสนอแก้ไขยกเลิกให้ ส.ว. มีส่วนในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี 

 

โดยเมื่อเริ่มอภิปราย "นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์" ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย เสนอให้แก้ไขเรื่องสิทธิเสรีภาพ ซึ่งรัฐธรรมนูญที่บังคับใช้อยู่ขณะนี้ มีบทบัญญัติหลายมาตราที่เกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนคนไทย มีความไม่ชัดเจนในหลายประเด็นโดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรม ทั้งเรื่องของการปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา รวมถึงเสรีภาพในการชุมนุมที่ชอบอ้างเรื่องของข้อจำกัด

 

ทั้งนี้ ทำให้รัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นมานี้มีกรอบที่จำกัดในการดำเนินการของกลุ่มต่างๆตามสิทธิเสรีภาพ นอกจากนี้ ยังมีสิทธิเรื่องของการประกันสุขภาพโดยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีภาคบังคับในเรื่องของการให้การช่วยเหลือจากภาครัฐว่าด้วยการประกันสุขภาพ และเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ 

จากนั้น "นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว" ส.ส.น่าน และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เนื้อหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นเรื่องที่มานายกฯ ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ ส.ส.ให้ความเห็นชอบบุคคล ในการเป็นนายกฯ แต่ไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติ ว่าต้องเป็น ส.ส. ถือว่าไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านๆมา นายกฯ ต้องเป็น ส.ส. จึงจำเป็นต้องเพิ่มรายละเอียดดังกล่าวขึ้นมา

 

อย่างไรก็ตาม ซึ่งการแก้ไขนี้ยังคงสาระเดิม คือ ให้พรรคการเมืองเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกฯ ได้ไม่เกิน 3 ชื่อ และต้องได้รับความยินยอมจากคนที่ถูกเสนอชื่อ แต่คนที่ได้รับการเสนอชื่อนี้ ต้องได้รับความมั่นใจว่าจะเป็นผู้แทนราษฎร ซึ่งไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็น ส.ส.เขตหรือบัญชีรายชื่อ ต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อนที่จะต้องมาจากลำดับที่ 1 ของบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง

ขณะที่ "นายสมชัย ศรีสุทธิยากร" ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน ซึ่งเสนอแก้ไขเนื้อหาว่าด้วย การเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ ส.ว.เลือก นายกรัฐมนตรี โดยเปลี่ยนแปลงบางข้อความ เพื่อยกเลิกอำนาจ ส.ว.ในการร่วมลงมติเรื่องนายกฯ ในบทเฉพาะกาล และคงกระบวนการเลือกนายกฯ จากคนนอกเหมือนเดิม แต่ขั้นสุดท้ายให้มาเลือกในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น 

 

อย่างไรก็ตาม เพราะเมื่อใด หาก ส.ว. สนับสนุนนายกฯ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าหากนายกฯ มาจากพรรคการเมือง ก็ถือได้ว่า ส.ว.ไม่มีความเป็นกลาง และอาจเกิดข้อครหาต่อประชาชนได้ ส่วนประเด็นที่ว่าหากจะแก้ตรงนี้ ต้องกลับไปทำประชามติอีกหรือไม่นั้น เห็นว่า การทำประชามติมีประเด็นเพียงแค่ หมวดที่ 1 และ 2 เท่านั้น หรือต้องทำในเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ ศาล หรือ องค์กรอิสระ และยังเห็นว่าการแก้ไขบทบาทหน้าที่ของ ส.ว.ในการเลือกนายกฯนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องแก้ไขหลังครบรายละเอียดบทเฉพาะกาล ในการเลือกนายกรัฐมนตรีเพราะทุกปีมีความหมาย

logoline