svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ราชกิจจาฯ"เผย "พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา" มีผลประกาศใช้เมื่อพ้น 90 วัน

28 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ราชกิจจาฯ" เผยแพร่ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ "พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา" โดยให้มีผล เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

เมื่อวันที่ 28 ส.ค.65  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา "ราชกิจจาฯ" เผยแพร่  พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕  โดยเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

มีเนื้อหา ระบุว่า  โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้

 

โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้ พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดานของพยาน หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพยาน ซึ่งอยู่ในมาตรการคุ้มครองพยานตามกฎหมายมีความปลอดภัยในชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือได้รับสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด รวมทั้งเพื่อให้การคุ้มครองพยานดำเนินการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอม ของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

"ราชกิจจาฯ"เผย "พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา" มีผลประกาศใช้เมื่อพ้น 90 วัน

"ราชกิจจาฯ"เผย "พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา" มีผลประกาศใช้เมื่อพ้น 90 วัน

 

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕ " มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

 

สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา(ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2565    คือ กำหนดให้มีการคุ้มครองบุคคลที่จะมาเป็นพยานในคดีอาญาให้มีความหมายกว้างขึ้นและให้สอดคล้องกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 

กำหนดให้มีการประเมินพฤติการณ์ความไม่ปลอดภัย ก่อนการอนุมัติขยายระยะเวลาการคุ้มครองและการสิ้นสุดการคุ้มครองพยาน

 

เพิ่มเติมคดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือคดีพรากเด็กและผู้เยาว์


ตามประมวลกฎหมายอาญาให้สามารถใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยานได้ การจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้แก่พยาน สามี ภริยา ผู้บุพการี หรือบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่คุ้มครองจริง กำหนดหลักเกณฑ์และการจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยานที่เดินทางมาเป็นพยาน  เป็นต้น 

 

อนึ่ง กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้มีพยายามปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา มาตั้งแต่ปี 2564  โดยนายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เปิดเผยว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ให้ความสำคัญกับภารกิจการคุ้มครองพยานในคดีอาญา เพราะเป็นกระบวนการที่สนับสนุนงานยุติธรรม โดยพยานบุคคลมีความสำคัญต่อการหาคนผิดมาลงโทษ เพื่อให้ศาลได้ใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาคดีได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรม

 

"ที่ผ่านมา การบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.2546 พบว่า บทบัญญัติบางมาตราไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน สภาพเศรษฐกิจ ภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นกับพยาน รวมทั้งยังไม่มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการกระทำความผิด บทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา กระทรวงยุติธรรมจึงเสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาดังกล่าว"  นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

 

"ราชกิจจาฯ"เผย "พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา" มีผลประกาศใช้เมื่อพ้น 90 วัน

 

"ราชกิจจาฯ"เผย "พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา" มีผลประกาศใช้เมื่อพ้น 90 วัน

 

"ราชกิจจาฯ"เผย "พ.ร.บ.คุ้มครองพยานในคดีอาญา" มีผลประกาศใช้เมื่อพ้น 90 วัน

สำหรับ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน ในคดีอาญา พ.ศ. ๒๕๔๖ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งไม่มีบทบัญญัติ เกี่ยวกับอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

 

สมควรแก้ไขเพิ่มเติม บทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรการทั่วไปและมาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน หน้าที่และอำนาจของสำนักงาน คุ้มครองพยานและอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ และหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายแก่พยาน เพื่อให้พยานเกิดความเชื่อมั่น ได้รับความคุ้มครอง และได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตรา พระราชบัญญัตินี้

คลิกอ่านฉบับเต็ม >>>>

พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕

logoline