svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

สาธิต เผย ร่างกม.ลูก ส่งกกต.พรุ่งนี้ ชี้ เพื่อศักดิ์ศรี! ไม่ควรเกิดขึ้นอีก

15 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สาธิต เผย ร่างกม.ลูก ใช้บัตร 2 ใบ หาร 100 ส่งกกต.พรุ่งนี้ วอน พิจารณาตามที่กมธ.เสนอเพื่อความทันสมัย ยอมรับ เสียดายงบประมาณและเวลา 180 วัน ระบุ ฝ่ายนิติบัญญัติ-รัฐสภา อนาคตควรมีเอกภาพ เพื่อให้มี ศักดิ์ศรี!

15 สิงหาคม 2565 ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นประธานกรรมาธิการ ขอขอบคุณท่านประธานรัฐสภา ที่ได้ดำเนินการประชุมจนถึงที่สุด และคณะกรรมาธิการในทุกพรรคการเมือง ในฐานะที่เราทำหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่แล้ว และมีปัญหาอุปสรรคในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลง ในมาตรา 23 สำหรับการประชุมรัฐสภาในวันนี้เป็นที่ยุติสำหรับกฎหมายฉบับนี้ นำไปสู่การมีผลทำให้ร่างกฎหมายฉบับเดิมของรัฐบาลหรือเป็นร่างที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เสนอมายังรัฐบาล ยังยืนหยัดบัตร 2 ใบ หารด้วย 100

ดังนั้นกฎหมายฉบับเดิมเป็นไปตามร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ซึ่งถูกต้องตามหลักการ การดำเนินการขั้นต่อไปประธานรัฐสภาได้แจ้งในที่ประชุมแล้วว่าจะส่งไปที่ กกต. ประมาณ 10 วัน หลังจากนั้นจะส่งไปที่นายกรัฐมนตรี ใช้เวลาประมาณ 5 วัน โดยประธานสภาฯได้แจ้งว่าจะส่งให้ กกต.วันพรุ่งนี้(16 ส.ค.)

 

“ผมเสียดายประเด็นในการแก้ไขระเบียบในชั้นกรรมาธิการ ที่มีความทันสมัยและก้าวหน้าขึ้น ขอฝาก กกต.ไว้ว่า สิ่งไหนที่สามารถทำได้ ปฏิบัติได้ เช่น การรายงานข้อมูลเข้าในระบบออนไลน์ เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ และการให้เจ้าหน้าที่หน่วยเลือกตั้งอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชน ในการถ่ายภาพป้ายคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งตรงนี้ไม่ได้ผ่านไปตามกฎหมายฉบับร่างเดิม แต่เป็นข้อกฎหมายที่แก้โดยคณะกรรมาธิการ” นายสาธิต กล่าว และว่า

โดยประเด็นต่างๆได้หารือกับทางเจ้าหน้าที่ กกต. บ้างแล้ว เพราะฉะนั้นหากเป็นเช่นนี้ จะทำให้สิ่งที่กรรมาธิการได้ทำงานมา 180 วัน จะเป็นหลักเกณฎ์ที่เป็นประโยชน์ในการเลือกตั้งที่ทันสมัยและก้าวหน้าขึ้น จึงวอนคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 9 ท่านพิจารณา

 

ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีการถกกฎหมายลักษณะนี้ จะทำให้ถูกมองว่า ทำให้เสียเวลาและงบประมาณ นายสาธิต กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าเป็นเช่นนั้นจริง เราจะไม่ให้การทำงานของคณะกรรมาธิการที่ทำหน้าที่มา 180 วัน เพื่อให้มีความทันสมัยมากกว่าร่างเดิม แต่ต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่ เพราะทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการในการพิจารณากฎหมายในรัฐสภา ซึ่งการคำนึงถึงเสียงส่วนใหญ่ ส่วนหากจะมองมุมนั้นต้องมองที่ต้นเหตุ สิ่งสำคัญคือมาตรา 23 ที่ถูกแก้ไปในตอนช่วงพิจารณา อย่างไรก็ตาม เมื่อเดินหน้าผ่านไปแล้วไม่อยากให้กลับไปพูดถึงในอดีต หวังว่าในอนาคตฝ่ายสภานิติบัญญัติหรือฝ่ายรัฐสภา ต้องมีเอกภาพที่จะทำกฎหมายให้ถูกต้องและไม่เสี่ยงต่อการผิดกฎหมาย เพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไปในการพิจารณากฎหมายภายภาคหน้า ก็คือให้มีศักดิ์ศรี

logoline