svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

อุตสาหกรรมอาวุธในเมียนมารุ่งเรืองหลังรัฐประหาร

18 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อุตสาหกรรมอาวุธในประเทศของเมียนมาเฟื่องฟูสุดขีดหลังกองทัพก่อรัฐประหาร โดยเป็นผลจากการคว่ำบาตรทำให้หันมาผลิตเอง และได้รับการสนับสนุนจากบริษัทต่างชาติอย่างน้อย 13 ประเทศ อาวุธที่ผลิตได้ส่วนใหญ่นำมาใช้ประหัตประหารพลเมืองในชาติของตัวเอง

สภาที่ปรึกษาพิเศษต่อกรณีเมียนมา (Special Advisory Council for Myanmar - SAC-M) ที่เป็นองค์กรอิสระ ออกรายงานระบุว่า กองทัพเมียนมาหรือ "ทัดมาดอว์" ได้ผลิตอาวุธหลายประเภทเพื่อใช้กับพลเมืองของตนเอง โดยได้รับความช่วยเหลือจากบรรดาบริษัทจากอย่างน้อย 13 ประเทศ ส่งผลให้เมียนมาเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตอาวุธ นับตั้งแต่กองทัพยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 2564 จุดชนวนการประท้วงของมวลชนให้ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านทั่วประเทศ 

อุตสาหกรรมอาวุธในเมียนมารุ่งเรืองหลังรัฐประหาร

สหรัฐฯ, ฝรั่งเศส, อินเดียและญี่ปุ่น ต่างก็อยู่ในรายชื่อ แม้ชาติตะวันตกจะเป็นผู้นำการคว่ำบาตรโดยมีเจตนาเพื่อโดดเดี่ยวเมียนมา ซึ่งรายงานระบุว่า อาวุธที่เมียนมาผลิตเองถูกนำไปใช้เข่นฆ่าคนที่ต่อต้านกองทัพ และสถานการณ์เต็มไปด้วยความรุนแรงนับตั้งแต่เกิดรัฐประหาร เมื่อมวลชนที่ต่อต้านได้ไปเข้าร่วมกับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ ต่อต้านการปกครองของกองทัพ 

อุตสาหกรรมอาวุธในเมียนมารุ่งเรืองหลังรัฐประหาร

SAC-M ระบุว่า หลายประเทศที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติยังคงขายอาวุธให้กองทัพเมียนมา...  "ปัจจัยที่สำคัญพอ ๆ กัน คือข้อเท็จจริงที่ว่ากองทัพของเมียนมาสามารถผลิตอาวุธได้หลากหลาย ที่ถูกใช้โจมตีพลเรือน" บริษัทที่ถูกระบุในรายงานได้จัดหาวัตถุดิบ เครื่องจักร และฝึกให้กองทัพเมียนมา ส่วนอาวุธที่ผลิตไม่ได้ถูกใช้เพื่อป้องกันชายแดน ขณะที่โรงงานในท้องถิ่นยังสามารถใช้เทคโนโลยีที่ได้รับอนุญาตและห่วงโซ่อุปทานต่างประเทศ การสนับสนุนทางเทคนิคและการสนับสนุนอื่น ๆ บางครั้งมีการส่งอุปกรณ์ไปยังสิงคโปร์และไต้หวันเพื่ออัปเกรดและบำรุงรักษาด้วย 

อุตสาหกรรมอาวุธในเมียนมารุ่งเรืองหลังรัฐประหาร

ยางฮี ลี อดีตผู้เสนอรายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในเมียนมาของสหประชาชาติ (Special Rapporteur on Human Rights in Myanmar) และหนึ่งในผู้เขียนรายงานให้ความเห็นว่า เมียนมาไม่เคยถูกโจมตีโดยต่างชาติ และไม่ได้ส่งออกอาวุธใด ๆ เลย ตั้งแต่ปี 2493 เป็นต้นมา โดยผลิตอาวุธของตนเองเพื่อใช้ต่อสู้กับประชาชนของตนเอง ตัวเลขอย่างเป็นทางการมีประชาชนมากกว่า 2,600 คน ถูกกองทัพสังหารนับตั้งแต่เกิดรัฐประหาร แต่ตัวเลขที่แท้จริงน่าจะสูงกว่านี้ 10 เท่า 

อุตสาหกรรมอาวุธในเมียนมารุ่งเรืองหลังรัฐประหาร

รายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (OHCHR) ได้ระบุชื่อบริษัทในรัสเซีย จีน ยูเครน อิสราเอล สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ ในความเชื่อมโยงนี้ ส่วนปัจจัยหลักที่ผลักดันให้อุตสาหกรรมการผลิตอาวุธในเมียนมาขยายตัว คือความเสี่ยงที่การนำเข้าอาวุธ เครื่องบินทหาร และอาวุธอื่น ๆ จะถูกปิดกั้นจากการคว่ำบาตร ส่วนศักยภาพในการผลิตอาวุธของเมียนมานั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ปืนไรเฟิลจู่โจม, ปืนกล, ปืนครก, อาวุธต่อต้านรถถังและต่อต้านอากาศยาน ขีปนาวุธกับเครื่องยิงขีปนาวุธ และปืนใหญ่ ตลอดจนระบบป้องกันภัยทางอากาศ นอกจากนี้ยังมีทุ่นระเบิดและทุ่นระเบิดใต้น้ำที่เคยนำมาจัดแสดงในงานจัดแสดงอาวุธที่กรุงเทพฯ ด้วย 

ภาพ : MizzimaTV

ยังมีการเปิดเผยชื่อโรงงานผลิตอาวุธ KaPaSa (ตัวย่อของชื่อกรมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเมียนมา) ที่นำเข้าส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น ฟิวส์ ศูนย์เล็งปืน และแก๊ปหัวชนวนระเบิดจากอินเดียและจีน โรงงานยังมีเครื่องจักร CNC สำหรับกัด ตัด เจาะ หรือขึ้นรูปชิ้นงานในแบบต่าง ๆ ที่ผลิตในออสเตรีย เยอรมนี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสหรัฐฯ ด้วย แม้จำนวนที่แน่นอนของโรงงานดังกล่าวยังไม่ชัดเจน แต่จากการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมและข้อมูลอื่น ๆ ระบุว่ามีโรงงานลักษณะนี้อยู่หลายสิบแห่ง

อุตสาหกรรมอาวุธในเมียนมารุ่งเรืองหลังรัฐประหาร

logoline