svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

“ผู้ช่วยฯ สุรเชษฐ์” สั่งสืบสวนเอาผิดเรือประมง ลักลอบเติมน้ำมันเขียว

30 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ สั่งการชุดสืบสวนสอบสวนแจ้งข้อกล่าวหา 4 กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบเติมน้ำมันเขียวโดยผิดกฎหมาย พบเรือไม่มีคุณสมบัติเติมน้ำมันเขียว 1,390 ลำ ส่งผลกระทบต่อการเก็บภาษีของรัฐ ที่ควรจะได้รับปีละ 4,270 ล้านบาท

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผช.ผบ.ตร.) ระบุ จากนโยบายของรัฐบาลโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นประธานคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวังการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพื่อขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้แต่งตั้งชุดปฏิบัติการตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการประมง เพื่อการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวและประสานการปฏิบัติร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามที่ทราบแล้ว นั้น

“ผู้ช่วยฯ สุรเชษฐ์” สั่งสืบสวนเอาผิดเรือประมง ลักลอบเติมน้ำมันเขียว

โครงการน้ำมันเขียว เป็นโครงการที่ภาครัฐจัดน้ำมันดีเซลที่เติมสารสีเขียวเพื่อให้แยกแยะจากน้ำมันบนฝั่งได้ และได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิต ทำให้มีราคาถูกกว่าน้ำมันดีเซลบนบกประมาณลิตรละ 7 บาท เพื่อลดภาระต้นทุนการทำประมงให้กับชาวประมงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2555 เป็นต้นมา รวมระยะเวลา 10 ปี ถึงปัจจุบัน ต่อมารัฐบาลได้มีการปฏิรูปการทำประมงของประเทศไทยทั้งระบบ ทำให้จำนวนเรือประมงพาณิชย์ที่ได้รับสิทธิเติมน้ำมันเขียวลดลงจาก 10,459 ลำ ในปี 2559 เหลือ 8,445 ลำ ในปี 2564 แต่ทว่าขณะที่เรือประมงพาณิชย์ที่เติมน้ำมันเขียวมีจำนวนลดลง แต่ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเขียวกลับมิได้ลดลงตามสัดส่วนจำนวนเรือ กลับคงที่อยู่ประมาณปีละ 610 ล้านลิตร คิดเป็นภาษีที่รัฐบาลยกเว้นถึงปีละ 4,270 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนต้นทุนการประกอบอาชีพให้เรือประมงพาณิชย์ จนถึงปัจจุบัน

“ผู้ช่วยฯ สุรเชษฐ์” สั่งสืบสวนเอาผิดเรือประมง ลักลอบเติมน้ำมันเขียว

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ผู้ช่วย ผบ.ตร. จึงได้สั่งการให้ตำรวจน้ำร่วมกับ กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร เข้าตรวจสอบปริมาณการรับน้ำมันทั้งระบบตั้งแต่ต้นทางจากโรงกลั่น ไปยังเรือขนส่งน้ำมัน  และเรือสถานีบริการ (Tanker) ซึ่งในปี พ.ศ.2564 พบว่ามียอดปริมาณการรับน้ำมันจากต้นทางโรงกลั่น จำนวน 620 ล้านลิตรเช่นเดิม  ซึ่งจากการตรวจสอบทั้งสามหน่วยงาน จึงทราบว่าปริมาณน้ำมันจากโรงกลั่น ไปยังเรือขนส่งน้ำมัน และส่งต่อไปที่เรือสถานีบริการ (Tanker) ครบถ้วนสมบูรณ์ แต่ตรวจสอบพบความผิดปกติจากเรือสถานีบริการ (Tanker) ไปยังเรือประมง ซึ่งพบว่ามีการลักลอบเติมน้ำมันเขียวนี้ไปยังเรือทุกประเภทรวมถึงเรือที่ไม่มีสิทธิเติมน้ำมันเขียว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง 

“ผู้ช่วยฯ สุรเชษฐ์” สั่งสืบสวนเอาผิดเรือประมง ลักลอบเติมน้ำมันเขียว

จากการตรวจสอบข้อมูลเรือประมงที่มีสิทธิเติมน้ำมันเขียว พบข้อมูลว่า มีเรือที่ไม่มีคุณสมบัติตามประกาศกรมศุลกากร แต่สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ออกรหัสและรับรองให้เติมน้ำมันเขียว ถึง 791 ลำ ประกอบด้วย เรือประมงพาณิชย์ไม่มีทะเบียนเรือ เรือประมงพาณิชย์ไม่มีใบอนุญาตประมงพาณิชย์จากกรมประมง เรือประมงพาณิชย์ที่แจ้งจมหรือทำลายไปแล้ว เรือประมงพาณิชย์ที่เปลี่ยนประเภทไปเป็นเรือบรรทุกสินค้า เรือลากจูง และเรือประมงพื้นบ้านที่มีขนาดถังน้ำมันตั้งแต่ 1,500-10,000 ลิตร ซึ่งเกินกว่าขนาดตัวเรือที่สามารถบรรทุกได้ เมื่อนำรายชื่อเรือพร้อมรหัสเติมน้ำมันเขียวจากสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ไปสอบยืนยันกับข้อมูลการเติมน้ำมันเขียวที่ตำรวจน้ำได้รับจากเรือสถานีบริการ (Tanker) พบว่า มีเรือประมงที่ใช้รหัสของเรือประมงที่ขาดคุณสมบัติข้างต้น “ไปเติมน้ำมันเขียว” จำนวนหลายลำ

“ผู้ช่วยฯ สุรเชษฐ์” สั่งสืบสวนเอาผิดเรือประมง ลักลอบเติมน้ำมันเขียว

และยิ่งไปกว่านั้นยังพบว่ามีเรือประมงอีกจำนวน 599 ลำ ซึ่งขาดคุณบัติข้างต้น แต่มีรหัสเติมน้ำมันที่สมาคมการประมงแห่งประเทศไทยออกและรับรองให้ ซึ่งยังไม่ได้ใช้บริการ ทำให้จำนวนเรือที่เกี่ยวข้องในการกระทำผิด “เติมน้ำมันเขียว” โดยขาดคุณสมบัติตามประกาศกรมศุลกากร ซึ่งออกตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มีจำนวนถึง 1,390 ลำ

“ผู้ช่วยฯ สุรเชษฐ์” สั่งสืบสวนเอาผิดเรือประมง ลักลอบเติมน้ำมันเขียว

“ผู้ช่วยฯ สุรเชษฐ์” สั่งสืบสวนเอาผิดเรือประมง ลักลอบเติมน้ำมันเขียว

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วย ผบ.ตร. จึงบูรณาการร่วมกันระหว่างกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมประมง กรมเจ้าท่า ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) และเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลักลอบเติมน้ำมันเขียวโดยผิดกฎหมายทั้งหมด ประกอบด้วย 1.สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เนื่องจากให้การรับรองเรือประมงพื้นบ้าน หรือเรือประมงประเภทอื่นๆ ที่ขาดคุณสมบัติตามประกาศของกรมศุลกากร ฉบับที่ 68/2561, 2.เจ้าของเรือประมงที่ขาดคุณสมบัติ แต่ได้รับประโยชน์จากการรับรองของสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย, 3.ผู้ควบคุมเรือประมง และคนประจำเรือ ที่นำเรือไปเติมน้ำมันเขียวในเขตต่อเนื่อง, 4.เรือสถานีบริการน้ำมัน (Tanker) และบริษัทผู้ให้บริการ

โดยจะมีการเรียกกลุ่มผู้ต้องหาเข้ามารับทราบข้อกล่าวหา คดีน้ำมันเขียว มีบริษัท จำนวน 5 ราย ห้างหุ้นส่วนจำกัด 2 ราย บุคคลธรรมดา จำนวน 6 ราย กรรมการของบริษัท จำนวน 7 ราย ผู้ควบคุมเรือหรือไต๋เรือ 32 ราย มาแจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบ ณ สโมสรตำรวจ ระหว่างวันที่ 29- 31.ส.ค.65 โดยจะมีการดำเนินคดีในความผิด ดังนี้ 1.พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2560มาตรา 189 ฐานความผิด ขนถ่ายน้ำมันในเขตต่อเนื่องโดยไม่มีเหตุสมควร หรือไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือปรับเป็นเงินสองเท่าของราคาน้ำมันที่อยู่ในเรือ หรือทั้งจำทั้งปรับ, 2.พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 มาตรา 203 ฐานความผิด ครอบครองน้ำมันที่มิได้เสียภาษี หรือเสียภาษีไม่ครบถ้วน มีโทษปรับสองถึงสิบเท่าของค่าภาษี, 3.พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558 มาตรา 166 ผู้สนับสนุนหรือได้รับผลตอบแทนจากการทำประมง IUU ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดนั้น และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นรายคดี เช่น การแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน เป็นต้น

“ผู้ช่วยฯ สุรเชษฐ์” สั่งสืบสวนเอาผิดเรือประมง ลักลอบเติมน้ำมันเขียว

พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า หลังจากที่ได้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาการลักลอบเติมน้ำมันเขียวโดยผิดกฎหมายนั้น ก็ได้มีการตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียดเพื่อจะรวบรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องในภาพรวมทั้งหมด เนื่องจากเป็นการกระทำผิดที่ส่งผลเสียต่อประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งส่งผลกระทบต่อการเก็บภาษีของรัฐ ที่ควรจะได้รับปีละ 4,270 ล้านบาท หรือ 25,620 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2555-2564 และยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ของการทำประมงของประเทศไทยอีกด้วย นานาประเทศอาจมองว่าประเทศไทยไม่มีความจริงใจในการป้องกันและปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ซึ่งการประเมินโดยสหภาพยุโรปนั้นใกล้เข้ามาแล้ว จึงต้องมีการดำเนินการตามกฎหมายโดยเด็ดขาด ซึ่งจะช่วยให้ชาวประมงที่ประกอบอาชีพโดยสุจริตได้เติมน้ำมันเขียวตามปกติ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับการทำประมงของไทย เป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นที่จะปราบปราบการทำประมงผิดกฎหมายของไทยอย่างต่อเนื่อง

หากพบการทำประมงที่เป็นความผิดตามกฎหมาย หรือพบเห็นการกระทำผิดในลักษณะดังกล่าว  สามารถแจ้งข้อมูลมายัง ศูนย์พิทักษ์เด็ก สตรี ครอบครัว ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ และภาคประมงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศพดส.ตร.) โดยตรง ช่องทางสายด่วน 1599 หรือ www.humantrafficking.police.go.th หรือ ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/TICAC2016 หรือ LineOA: @HUMANTRAFFICKTH หรือ TWITTER: @safe_dek หรือช่องทางใหม่ล่าสุดคือ การสแกน QRCODE  เพื่อกรอกแบบฟอร์มในการแจ้งเหตุและเบาะแสการกระทำผิดดังกล่าวเพื่อแจ้งเบาะแสในการปราบปรามการกระทำผิดต่อไป

logoline