svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ไม่อยากโดนลูกหลงต้องรู้ เปิดคาถาเอาตัวรอดเหตุกราดยิง "หนี ซ่อน สู้"

04 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไม่อยากโดนลูกหลงต้องรู้ ตกอยู่ในสถานการณ์เหตุกราดยิงต้องทำอย่างไร พร้อมเปิดคาถาเอาตัวรอดจากการตกเป็นเหยื่อคมกระสุนที่ปลิวว่อน "หนี ซ่อน สู้"

เป็นข่าวใหญ่และน่าตกใจ กรณีเหตุอุกอาจที่มีกลุ่มวัยรุ่น จ.อุบลราชธานี ก่อเหตุดวลอาวุธปืนกว่า 70 นัด ที่บริเวณลานจอดรถตลาดนิกรธานี บริเวณลานร้านบันเทิง ถ.ชยางกูร ต.ในเมือง อ.เมืองอุบลราชธานี มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บจำนวนมาก รถยนต์เสียหายหลายคัน ถึงขนาดผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผบ.ตร. บินด่วนลงพื้นที่ เพื่อติดตามด้วยตนเอง (อ่านข่าว)  

 

สำหรับเหตุการณ์กราดยิงกันครั้งนี้ เชื่อว่าหากใครที่ก็ตามที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง และต้องตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ คงมีอาการ "เหวอ" อยากจะรู้หนทางเอาตัวรอด จากการตกเป็นเหยื่อคมกระสุนที่ปลิวว่อนไปทั่ว ที่หากเป็นภาษาวัยรุ่นพูดกันคงต้องท่องคำว่า "ฟัน แทง ไม่เข้า" แต่ในทางวิชาการจริง ๆ ก็มี ดังนั้นเนชั่นออนไลน์มีความรู้ดีมาฝาก

 

 

ไม่อยากโดนลูกหลงต้องรู้ เปิดคาถาเอาตัวรอดเหตุกราดยิง "หนี ซ่อน สู้"  
 

เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict  ได้นำเสนอวิธีการเอาตัวรอด จากสถานการณ์ดังกล่าว โดยระบุว่า 

 

กฏสามข้อ ในการเอาตัวรอดจากเหตุกราดยิง

 

หนี ซ่อน สู้

 

หลัก ๆ เลย คือ วิ่งหนี ออกจากจุดเกิดเหตุให้ไวที่สุด หาทางออกห่างจากคนก่อเหตุกราดยิงให้มากที่สุด
 

ถ้าหนีไม่ทัน ก็ซ่อนตัว ปิดไฟปิดมือถือ หาที่กำบัง หลบอยู่เงียบ ๆ 

 

ถ้าไม่มีทางเลือกจริง ๆ ถึงสู้กับคนก่อเหตุ

 

ก็จำกันไว้ครับ อย่างที่อุบลที่เพิ่งเกิดเหตุไปหมาด ๆ  อาจเกิดเหตุแบบนั้นอีกเมื่อไหร่ก็ได้

 

 

ไม่อยากโดนลูกหลงต้องรู้ เปิดคาถาเอาตัวรอดเหตุกราดยิง "หนี ซ่อน สู้"
 

ทั้งนี้เมื่อขยายความคือ วิธีการเอาตัวรอด หนี ซ่อน สู้ ดังกล่าวก็จะมีดังนี้ 
 

 

การหลบหนี (RUN)
 

หนีจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด รวมถึงสังเกตและจดจำทางเข้าออกให้แม่นยำ
วางแผน และเตรียมพร้อมในการหลบหนีออกจากสถานที่นั้นอย่างรวดเร็วที่สุด โดยหลีกเลี่ยงเส้นทางหนีที่คับแคบ

 

มีสติอยู่เสมอขณะหลบหนี ที่สำคัญควรสละสิ่งของหรือสัมภาระทั้งหมดเพื่อการหลบหนีที่คล่องตัว และหากเป็นไปได้ควรช่วยเหลือคนรอบตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
 

การหลบซ่อน (HIDE)
 

ในกรณีที่ไม่สามารถหลบหนีได้ แนะนำให้หาที่หลบซ่อน เพื่อให้พ้นสายตาของผู้ก่อเหตุ โดยสิ่งที่ควรทำ มีดังนี้

ปิดไฟมืด ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องมือติดต่อที่ทำให้เกิดเสียง เช่นทีวี วิทยุ เปลี่ยนเสียงโทรศัพท์ให้เป็นระบบสั่น

หากมีหน้าต่างหรือประตู ให้ปิดม่าน และล็อคประตูให้แน่นหนา พยายามหาวัตถุที่หนักและมั่นคง เช่น โต๊ะ ตู้ กั้นประตูไว้ การหลบซ่อนที่ดี ควรแอบอยู่หลังหรือใต้โต๊ะ ตู้ที่แข็งแรง

 

พยายามหลีกเลี่ยงที่อับปิดตาย และไม่ควรอยู่ใกล้ที่เสี่ยงอันตราย เช่น ริมหน้าต่างกระจก หากหลบซ่อนอยู่หลายคน พยายามกระจายพื้นที่หลบซ่อนให้มากที่สุด และพยายามขอความช่วยเหลือโดยไม่ต้องใช้เสียง เช่น ขอความช่วยเหลือผ่านช่องทาง SMS หรือ LINE เป็นต้น
 

การต่อสู้ (FIGHT)
 

หากอยู่ที่สถานการณ์คับขัน ไม่สามารถหลบหนีหรือซ่อนตัวได้ วิธีการสุดท้ายในการเอาตัวรอดคือ การต่อสู้ด้วยสติ และกำลังทั้งหมดที่มี และสิ่งที่หลายคนอาจไม่ทราบคือ ในสถานการณ์ซึ่งหน้านั้น ไม่ควรพูดเพื่ออ้อนวอน ขอร้องหรือเพื่อเกลี้ยกล่อมคนร้าย เพราะวิธีการเหล่านี้มักไม่ได้ผล และในทางกลับกันอาจยิ่งกระตุ้นคนร้ายให้ตื่นตัวมากขึ้น

 

การเตรียมพร้อมเพื่อรับมือสถานการณ์การกราดยิงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ รศ.นพ.รัฐพลี กล่าวว่าเมื่ออยู่ในที่สาธารณะควรพึงมีสติเสมอ หากมีเสียงดังผิดปกติ เสียงปืน หรือเสียงระเบิด ขอให้สังเกตทิศทางและแหล่งที่มาของเสียง หากได้ยินเสียงประกาศเตือน หรือเกิดความสับสนของกลุ่มคน ขอให้พึงระวังตนเองและหาที่หลบหนี หรือหลบซ่อนโดยเร็วเปลี่ยนการสื่อสารให้เป็นแบบไม่ต้องใช้เสียง รวมถึงหาช่องทางในการแจ้งเหตุกับเจ้าหน้าที่เพื่อบอกตำแหน่งของมือปืนต้นเหตุ จำนวนผู้ก่อเหตุ  ลักษณะ และการแต่งตัวของผู้ก่อเหตุ จำนวนและประเภทอาวุธ และจำนวนผู้ที่ต้องสงสัยว่าบาดเจ็บ

 

ไม่อยากโดนลูกหลงต้องรู้ เปิดคาถาเอาตัวรอดเหตุกราดยิง "หนี ซ่อน สู้"  

 

นอกจากนี้ การเอาตัวรอดจาก อาชญากรรม  ต้องเตรียมสิ่งนี้ให้พร้อม ควรทราบเบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็นเช่น เบอร์ 191, 1669 หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นช่วยเหลือฉุกเฉิน เช่น จส.100 เพื่อแจ้งเหตุฉุกเฉินในหลายๆ ช่องทาง

 

ควรรับการฝึกอบรมปฐมพยาบาลสำหรับอุบัติเหตุ หรือการอบรมการห้ามเลือดเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ไม่คาดคิด

 

ก่อนออกจากบ้าน ควรชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือให้เต็ม มีแบตเตอรี่สำรองพร้อมสายชาร์จเสมอ
บอกที่มาที่ไปและเวลากลับให้คนที่บ้าน หรือเพื่อนสนิททราบเพื่อสามารถช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
 

และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การตั้ง "สติ" และการควบคุมสติให้สามารถรับมือกับความตึงเครียด ณ เวลานั้น ก่อนปฏิบัติตามวิธีการเอาตัวรอด หนี ซ่อน สู้

 

 

ไม่อยากโดนลูกหลงต้องรู้ เปิดคาถาเอาตัวรอดเหตุกราดยิง "หนี ซ่อน สู้"

 

ขอบคุณข้อมูลจาก chulalongkornhospital.co.th / Drama-addict  

logoline