svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ทรูย้ำดีล 'ควบรวม' ดีแทคโปร่งใส ตาม พรบ.ปี 61

25 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

TRUE ย้ำดีลควบ DTAC โปร่งใส-ตาม พรบ.ปี 61 กสทช.มีอำนาจสร้างเงี่อนไข ลดผลกระทบทางลบ เพิ่มผลกระทบทางบวก ย้ำดีลนี้ไม่ผูกขาด-ค่าบริการไม่พุ่ง เหตุ กสทช.มีอำนาจกำหนดราคา-ถอนไลเซ่น

ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น หรือ TRUE ศุภชัย เจียรวนนท์ ระบุ การควบรวมระหว่างทาง TRUE กับ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซสคอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC ปัจจุบันเหลือเพียงขั้นตอนรอคณะกรรมการกิจการและโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พิจารณาและตั้งเงื่อนไขการควบรวมตามอำนาจของหน่วยงานดังกล่าวเพิ่มเติม หลังช่วงที่ผ่านมาทางผู้ถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัทประกอบกับทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้อนุมัติเรียบร้อยแล้ว

ทรูย้ำดีล \'ควบรวม\' ดีแทคโปร่งใส ตาม พรบ.ปี 61

ทั้งนี้ บริษัทขอยืนยันว่าการทำดีลควบรวมครั้งนี้ดำเนินการทุกอย่างตามกฎหมายพระราชบัญญัติ (พรบ.) การควบรวมกิจการปี 2561 การควบรวมสามารถทำได้เลยไม่ต้องขออนุมัติ และไม่ขัดต่อกฎหมาย แต่กสทช.มีอำนาจในการสร้างเงี่อนไขที่จะลดผลกระทบทางลบ และเพิ่มผลกระทบทางบวก ซึ่งบริษัทพร้อมทำงานกับกสทช. เพื่อผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งหวังว่าได้เห็นความชัดเจนเกี่ยวกับเงื่อนไขของการควบรวมข้างต้นก่อนการตั้งโต๊ะรับซื้อคืนหุ้น (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ที่จะเกิดขึ้นในเดือนสิงหาคม 2565 เบื้องต้นได้ส่ง กสทช.ไปแล้วตั้งแต่มกราคม 2565 ซึ่งดีลครั้งนี้มีลักษณะเดียวกับดีลของ NT (การควบรวมระหว่าง TOT-CAT) รวมทั้งขอยืนยันว่าดีลครั้งนี้จะไม่ทำให้ค่าบริการสูงขึ้น เพราะเพราะคนกำหนดราคาค่าบริการคือ กสทช. หากไม่ทำตามจะถูกยึดไลเซ่นคืนได้

สำหรับการร่วมมือครั้งนี้จะมีการจัดตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาใหม่ โดยมีผู้ถือหุ้นของทรูและ DTAC ถือหุ้นเฉลี่ยประมาณ 30% และไม่มีใครมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไป รวมทั้งจะช่วยเพิ่มศักยภาพด้านการให้บริการจากโครงข่ายทั้ง 2 บริษัทที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น ประกอบการช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถการลงทุนโครงข่าย 5G  และ 6G ในอนาคตต่อไป

 

นอกจากนี้ หากดีลควบรวมสำเร็จจะมีการตั้งกองเวนเจอร์แค็ปปิตอล (VC) มูลค่ากองราว 200 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 7.3 พันล้านบาท เพื่อเข้ามารองกสรลงทุนธุรกิจสตาร์อัพของไทย เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจเหล่านี้ และเพิ่มโอกาสในการเติบโตในระยะยาวอีกทางหนึ่ง ส่วนประเด็นเกี่ยวกับการผูกขาดนั้นแม้จะมีการควบรวมเกิดขึ้น แต่จำนวนเลขหมายหลังจากควบรวมคงปรับลดเหลือราว 46-47 ล้านเลขหมายใกล้เคียงโอเปอเรเตอร์อื่นๆ เพราะหมายเลขทับซ้อนกัน  และโอเปอรเรเตอร์ยังเหลือมากกว่า 2 รายจึงไม่น่าจะเป็นการผูกขาดแต่อย่างใด

ด้านประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์ กรุ๊ป หรือ DTAC ซิคเว่ เบรคเก้ ระบุ  การควบรวมนี้จะทำให้ภาพรวมอีโคซิสเต็มของประเทศไทยมีความแข็งแรงมากขึ้น และสามารถปิดจุดอ่อนในส่วนนี้ได้ โดยเบื้องต้นงานที่จะทำร่วมกันคือ การสนับสนุนสตาร์ทอัพอีโคซิสเต็มไทย บริษัทเตรียมลงทุนกว่า 7.3 พันล้านบาทเพื่อสร้างธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ที่จะเน้นด้านศูนย์กลางนวัตกรรมที่จะสร้างโอกาสสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพที่แข็งแกร่งและสนับสนุนผู้ประกอบการผ่านการเดินทางสู่การสร้างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จระดับภูมิภาค ด้วยศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทางเทคโนโลยีในอนาคต โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การผลักดันให้ธุรกิจไทยเติบโตได้ในระดับโลก โดย 4 แกนที่จะโฟกัสคือ เทคโนโลยี 5จี เอจคลาวด์ ไอโอที และไซเบอร์ซิเคียวริตี้

 

ประเทศไทยมีศักยภาพในการเติบโตที่สูงมาก ขณะนี้นับว่าอยู่ในต่ำแหน่งผู้นำด้านดิจิทัลของตลาด จากตัวเลขผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสัดส่วนกว่า 9 ใน 10 ที่ซื้อสินค้าบนออนไลน์ ปีที่ผ่านมามีตัวเลขการเติบโตของผู้ใช้ดิจิทัลที่สูงมาก ทั้งผู้ค้าต่างปรับตัวสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์

 

เทเลนอร์ มีมุมมองว่าไทยตลาดเชิงกลยุทธ์ที่สามารถก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำด้านดิจิทัลอีโคโนมีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ แต่ทั้งนี้ขณะนี้ยังไม่สามารถไปถึงจุดนั้นได้ จากสตาร์ทอัพอีโคซิสเต็มที่รั้งอันดับ 11 ตามหลังหลายๆ ประเทศ หรือจากเม็ดเงินลงทุนทั้งหมดที่เข้ามาในภูมิภาคำทยได้รับเพียง 3% และยังมียูนิคอร์นเพียง 3 รายเท่านั้น (Bitkub, Ascend และ Flash Express)

 

ปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ในจุดที่เหมาะสมที่จะสามารถได้ประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางเทคโนโลยี (The perfect tech storm) โดยรัฐบาลไทยและอุตสาหกรรมต่างๆ กำลังร่วมมือกันเพื่อสร้างประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางด้านดิจิทัล ส่งเสริมธุรกิจดิจิทัลและสร้างงานใหม่ๆ ในระบบนิเวศโทรคมนาคม-เทคโนโลยี ธุรกิจสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโตจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศไทย และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมระดับภูมิภาค เราไม่อาจมองภาพรวมการแข่งขันแบบเดิมได้อีกต่อไปแล้ว ทุกคนต้องเติบโตด้วยพาร์ทเนอร์ชิพ มีทั้งคู่แข่งและคู่ค้าซึ่งทั้งคู่แข่งและคู่ค้าอาจเป็นรายเดียวกันก็ได้

 

สำหรับเทเลนอร์ มุ่งส่งมอบบริการที่น่าสนใจในหลากหลายรูปแบบ ราคาเหมาะสม ตอบโจทย์ทั้งผู้บริโภคชาวไทย เอสเอ็มอี รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่ ภายใต้การให้บริการในประเทศไทยผ่านเครือข่ายที่ครอบคลุม มีคุณภาพ และความเร็วสูง รวมถึงการให้บริการลูกค้าอย่างเต็มความสามารถ วางตำแหน่งเป็นผู้นำในการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล และสร้างอุตสาหกรรมโทรคมนาคม-เทคโนโลยี พันธมิตรที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ผู้นำในอุตสาหกรรม และช่วยขับเคลื่อนการสร้างสังคมของธุรกิจสตาร์ทอัพต่อไป

logoline